ประวัติ ของ เอ็มแรป

ยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบาที่ออกแบบมาเพื่อต้านทานทุ่นระเบิดโดยเฉพาะ ได้รับการแนะนำครั้งแรกในยานพาหนะพิเศษในคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยกองทัพบกโรดีเชีย และได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมโดยผู้ผลิตในประเทศแอฟริกาใต้ โดยเริ่มใน ค.ศ. 1974 ด้วยรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ (APC) ฮิปโป[4][5] ขั้นตอนแรกในกองกำลังป้องกันแอฟริกาใต้เป็นบอสวาร์ก ซึ่งเป็นอูนิมอกที่ติดตั้งถังเบี่ยงเบนทุ่นระเบิดบนแชสซีเพื่อปกป้องลูกเรือ ต่อมาคือยานพาหนะที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะรุ่นแรก ได้แก่ ฮิปโปและประเภทเบาอื่น ๆ พวกมันมีตัวถังรูปตัววีหุ้มเกราะโดยพื้นฐานแล้วติดตั้งบนแชสซีรถบรรทุก ส่วนรุ่นต่อไปเป็นตัวแทนโดยบัฟเฟล ซึ่งเป็นแชสซีอูนิมอกที่มีห้องคนขับที่มีการป้องกันทุ่นระเบิด และห้องลูกเรือที่มีการป้องกันทุ่นระเบิดติดตั้งอยู่ ยานพาหนะรุ่นแรก ๆ เหล่านี้ทำงานได้ดี แต่แชสซีนั้นบรรทุกเกินพิกัดและไม่คล่องตัวเมื่อขับทางขรุขระ ส่วนรถหุ้มเกราะทหารราบแคสเปอร์ได้รับการพัฒนาสำหรักองกำลังป้องกันแอฟริกาใต้หลัง ค.ศ. 1980[6] นี่เป็นแรงบันดาลใจสำหรับโครงการเอ็มแรปอเมริกัน และพื้นฐานสำหรับยานพาหนะบางรายการของโครงการ[7][8][9]

ใน ค.ศ. 2004 ทีเอสจี/เอฟพีไอ คูการ์ได้รับการออกแบบโดยทีมสหรัฐ ที่นำโดยสหราชอาณาจักร ตามข้อกำหนดของเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่เปิดตัวโครงการเอ็มแรป[10][11] เนื่องจากในสหรัฐมีโรงงานเหล็กกล้า "คุณภาพเกราะ" เพียงสองแห่งเท่านั้น ได้แก่ บริษัทออริกอนสตีลมิลส์ และบริษัทอินเตอร์เนชันแนลสตีลกรุป (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทอาร์เซลอร์มิททาลของอินเดีย) ซึ่งมีคุณสมบัติในการผลิตเกราะเหล็กกล้าสำหรับกระทรวงกลาโหมสหรัฐ โดยได้เจรจาเพื่อให้แน่ใจว่ามีเหล็กเพียงพอเพื่อให้ทันต่อการผลิต[12]

โครงการเอ็มแรป

โครงการเอ็มแรปของกองทัพสหรัฐ ได้รับแจ้งจากการบาดเจ็บล้มตายของสหรัฐจากระเบิดแสวงเครื่องในช่วงสงครามอิรัก[2]

เหล่าเฟิสต์แมกซ์โปรที่ออกสนามในประเทศอิรักรถคันสุดท้ายจากประเทศอิรักได้กลับมายังสหรัฐ ซึ่งรถคันนี้ได้มาถึงท่าเรือโบมอนต์ รัฐเท็กซัส เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 และได้รับการขนออกจากเรือเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2012[13]

มีการออกแบบยานพาหนะจำนวนหนึ่งจากผู้จำหน่ายหลายรายในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการเอ็มแรป ยานพาหนะมักจะมีตัวถังรูปตัว "วี" เพื่อเบี่ยงเบนแรงระเบิดจากทุ่นระเบิดหรือระเบิดแสวงเครื่องใต้ตัวรถ ซึ่งจะช่วยปกป้องรถและผู้โดยสาร[14] ทั้งนี้ เอ็มแรปมีน้ำหนัก 14 ถึง 18 ตัน สูง 9 ฟุต (2.7 เมตร) และมีราคาระหว่าง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐถึง 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ[14][15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอ็มแรป http://www.army-technology.com/features/featurehea... http://www.army-technology.com/projects/cougar-mra... http://www.defenseindustrydaily.com/MRAPs-for-Aust... http://www.defenseindustrydaily.com/an-mrap-for-in... http://www.defensenews.com/story/defense/policy-bu... http://blogs.reuters.com/great-debate/2014/08/18/h... http://www.dtic.mil/dtic/tr/fulltext/u2/a502075.pd... http://www.usmc.mil/marinelink/mcn2000.nsf/0/E4885... http://www.globalsecurity.org/military/systems/gro... http://www.defenceweb.co.za/index.php?option=com_c...