เอ็ลเลินส์ดริทเทอร์เกอซัง
เอ็ลเลินส์ดริทเทอร์เกอซัง

เอ็ลเลินส์ดริทเทอร์เกอซัง

เอ็ลเลินส์ดริทเทอร์เกอซัง (เยอรมัน: Ellens dritter Gesang) หรือ เอลเลนส์เทิร์ดซอง (อังกฤษ: Ellen's third song, D839, Op. 52, No. 6) เป็นงานประพันธ์ชิ้นหนึ่งที่เป็นที่นิยมของฟรันทซ์ ชูเบิร์ท แต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1825 มักเรียกกันว่าเป็น "อาเว มารีอา ฉบับชูเบิร์ท" ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นชูเบิร์ทไม่ได้ประพันธ์เพลงนี้เพื่อสดุดีพระแม่มารีชูเบิร์ทประพันธ์งานชิ้นนี้เพื่อประกอบโคลงภาษาเยอรมัน [1] ที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาสกอตชื่อ "The Lady of the Lake" ที่แต่งโดยเซอร์วอลเทอร์ สกอตต์ (1771 - 1832) กวีชาวสกอต ซึ่งเป็นโคลงที่กล่าวถึงตำนานกษัตริย์อาเธอร์โดยบรรยายถึงตัวละครชื่อ เอลเลน ดักลัส "ธิดาแห่งสายน้ำ" ผู้เป็นบุตรสาวของเจมส์ ดักลัสผลงานชิ้นนี้บรรเลงเป็นครั้งแรกที่ปราสาทของเคาน์เทสส์โซฟี ไวส์เซนวอล์ฟ ในออสเตรีย[2] ที่ทำให้เธอเองได้รับฉายาว่า "The Lady of the Lake" บทนำและบทร้องซ้ำของเพลงเอลเลนที่เริ่มด้วยคำว่า "อาเว มารีอา" ซึ่งเป็นคำเดียวกับบทภาวนาอาจจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความคิดในการดัดแปลงท่วงทำนองดนตรีของชูเบิร์ทไปเป็นดนตรีทั้งชิ้นของธรรมเนียมบทสวดมนต์อาเว มารีอา ของโรมันคาทอลิก อาเว มารีอาภาษาละตินในปัจจุบันมักจะใช้กับดนตรีของชูเบิร์ท ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันไปว่าชูเบิร์ทตั้งใจที่จะประพันธ์งานชิ้นนี้เพื่อเป็นการในการที่จะเขียนบทสวดมนต์ขอพรพระแม่มารี จึงทำให้พากันเรียกงานชิ้นนี้ว่า "อาเว มารีอา "ในปี ค.ศ. 1940 วอลต์ ดิสนีย์ได้นำทำนองเพลงนี้มาใช้ในตอนจบของภาพยนตร์ แฟนเทเชีย เรียบเรียงโดยลีโอโปลด์ สโตคอฟสกี โดยนำเพลงนี้มาต่อเนื่องกับ Night on Bald Mountain ผลงานประพันธ์ของโมเดสต์ มูสซอร์กสกี แต่ได้ดัดแปลงคำร้องเป็นภาษาอังกฤษ [3]

ใกล้เคียง

เอ็ลเซ็ท 129 ฮินเดินบวร์ค เอ็ลเซ็ท 127 กราฟ เซ็พเพอลีน เอ็ลเลินส์ดริทเทอร์เกอซัง เอ็ลเคอ อาเบอร์เลอ เอ็ลเลิน ชเวียร์ส เอ็มเคานต์ดาวน์ เอ็สเซ ไฟรบวร์ค เอ็สเฟา แวร์เดอร์เบรเมิน เอ็นเอ็มบีโฟร์ตีเอต เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป