เฮพาริน
เฮพาริน

เฮพาริน

เฮปาริน (อังกฤษ: heparin) เป็นสารไกลโคซามิโนไกลแคน ที่มีหมู่ซัลเฟตอยู่จำนวนมาก ใช้กันแพร่หลายในฐานะเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบฉีด และยังเป็นชีวโมเลกุลที่มีความหนาแน่นของประจุลบมากที่สุดเท่าที่รู้จักอีกด้วย[1] นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นสารต้านการแข็งตัวของเลือดเคลือบบนผิวภายในของวัสดุที่ใช้ในการทดลองและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างหลอดทดลองและเครื่องฟอกเลือดได้อีกด้วย เฮปารินที่มีคุณภาพระดับใช้เป็นยานั้นได้จากเนื้อเยื่อเมือกของสัตว์เช่นลำไส้หมูหรือปอดวัว[2]แม้สารนี้จะมีใช้เป็นสารต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ทั่วไปในการแพทย์แต่บทบาททางสรีรวิทยาที่แท้จริงนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วสมบัติการต้านการแข็งตัวในเลือดนั้นได้จาก heparan sulfate proteoglycans ที่มาจากเซลล์บุผิว endothelium[3] ส่วนใหญ่เฮปารินมักถูกเก็บอยู่ใน secretory granule ของ mast cell และจะถูกปล่อยออกมาก็ต่อเมื่ออยู่ในหลอดเลือดของเนื้อเยื่อที่กำลังมีการบาดเจ็บ มีการเสนอว่าหน้าที่ที่แท้จริงของเฮปารินไม่ใช่การต้านการแข็งตัวของเลือดแต่เป็นเพื่อป้องกันบริเวณเนื้อเยื่อที่กำลังมีการบาดเจ็บอยู่นั้นจากแบคทีเรียและสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ[4] นอกจากนี้ยังพบว่ามีเฮปารินอยู่ในสิ่งมีชีวิตหลายสปีชีส์ รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีระบบการแข็งตัวของเลือดด้วย

เฮพาริน

ECHA InfoCard 100.029.698
ช่องทางการรับยา i.v., s.c.
การเปลี่ยนแปลงยา hepatic
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • C
เลขทะเบียน CAS
มวลต่อโมล 12000–15000 g/mol
สถานะตามกฏหมาย
  • ?
ชีวประสิทธิผล nil
PubChem CID
ChemSpider
การขับออก ?
รหัส ATC
DrugBank
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ 1.5 hrs
สูตร C12H19NO20S3

แหล่งที่มา

WikiPedia: เฮพาริน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.17216... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10412563 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10549711 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3706560 http://www.whocc.no/atc_ddd_index/?code=C05BA03 http://www.whocc.no/atc_ddd_index/?code=S01XA14 http://www.commonchemistry.org/ChemicalDetail.aspx... //doi.org/10.1590%2FS0100-879X1999000500005 https://www.drugbank.ca/drugs/APRD00056 https://echa.europa.eu/substance-information/-/sub...