เฮย์จูด

"เฮย์จูด" (อังกฤษ: Hey Jude) เป็นเพลงของวงเดอะบีเทิลส์ ออกจำหน่ายในรูปแบบซิงเกิลที่ไม่มีในอัลบั้มเมื่อ ค.ศ. 1968 เพลงเขียนโดยพอล แม็กคาร์ตนีย์ และให้เครดิตเป็นเลนนอน–แม็กคาร์ตนีย์ ซิงเกิลนี้เป็นซิงเกิลแรกของบีเทิลส์ที่จำหน่ายโดยค่ายแอปเปิล และเป็นหนึ่งในซิงเกิลของศิลปินในค่ายแอปเปิล "สี่อันแรก" ซึ่งเป็นการเปิดตัวค่ายเพลงต่อสาธารณะ "เฮย์จูด" เป็นเพลงฮิตอันดับหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลก และกลายเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดประจำปีในสหราชอาณาจักร สหรัฐ ออสเตรเลีย และแคนาดา อยู่บนชาร์ตเป็นอันดับหนึ่งของบิลบอร์ดฮอต 100 ถึงเก้าสัปดาห์ ซึ่งเชื่อมโยงกับสถิติตลอดกาลในค.ศ. 1968 สำหรับกาอยู่บนชาร์ตยาวนานที่สุดในอันดับต้น ๆ ของชาร์ตในสหรัฐอเมริกา มียอดขายประมาณแปดล้านชุด และมักรวมอยู่ในรายชื่อเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของนักวิจารณ์เพลงการเขียนและบันทึกเสียงของเพลง "เฮย์จูด" เกิดขึ้นพร้อมกับช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายในเดอะบีเทิลส์ เพลงพัฒนามาจาก "เฮย์จูล" ซึ่งเป็นเพลงที่แม็กคาร์ตนีย์เขียนขึ้นเพื่อปลอบโยนจูเลียน ลูกชายของจอห์น เลนนอน หลังจากเลนนอนทิ้งภรรยาไปอยู่กับโยโกะ โอโนะ ศิลปินชาวญี่ปุ่น เนื้อเพลงนำเสนอมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับสถานการณ์ที่น่าเศร้า ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้ "จูด" แสวงหาโอกาสในการค้นหาความรัก หลังจบท่อนที่สี่ เพลงเปลี่ยนไปเป็นท่อนโคดาที่ร้องว่า "นา-นา-นา นา" ซึ่งกินเวลานานกว่าสี่นาที"เฮย์จูด" เป็นเพลงแรกของบีเทิลส์ที่บันทึกเสียงด้วยเครื่องบันทึกเสียงแปดแทร็ก การบันทึกเสียงเกิดขึ้นที่ไทรเดนต์สตูดิโอส์ ในลอนดอน ซึ่งอยู่ในระหว่างการบันทึกเสียงดับเบิลอัลบั้มที่ใช้ชื่อวงเป็นชื่ออัลบั้ม (รู้จักกันในชื่อว่า "ไวต์อัลบั้ม") และนำไปสู่การโต้เถียงระหว่างแม็กคาร์ตนีย์กับจอร์จ แฮร์ริสัน เรื่องท่อนกีตาร์ของเพลง หลังจากนั้น ริงโก สตาร์ ก็ออกจากวง และกลับมาไม่นานก่อนที่พวกเขาจะถ่ายคลิปโปรโมตซิงเกิล คลิปกำกับโดย ไมเคิล ลินด์เซย์-ฮ็อกก์ และออกอากาศครั้งแรกในรายการโทรทัศน์ของเดวิด ฟรอสต์ ในสหราชอาณาจักร เมื่อเทียบกับปัญหาในวง การแสดงครั้งนี้ได้ถ่ายทอดบทเพลงของการมองโลกในแง่ดีและการอยู่ร่วมกันโดยนำเสนอผู้ชมในสตูดิโอที่มีส่วนร่วมในการร้องเพลงร่วมกับบีเทิลส์ด้วยความยาวเพลงกว่า 7 นาที "เฮย์จูด" เป็นซิงเกิลที่ยาวที่สุดที่ติดอันดับชาร์ตอังกฤษในเวลานั้น[1] การประพันธ์เพลงและท่อนโคดาของเพลงนั้นกระตุ้นให้เกิดงานเลียนแบบจำนวนมากจนถึงต้นทศวรรษ 1970 ใน ค.ศ. 2013 บิลบอร์ด ได้ยกให้เพลงนี้เป็นเพลงที่ "ยิ่งใหญ่ที่สุด" อันดับ 10 ตลอดกาลในแง่ของความสำเร็จในชาร์ต[2] แม็กคาร์ตีย์ยังคงแสดงเพลง "เฮย์จูด" ในคอนเสิร์ตนับตั้งแต่การเสียชีวิตของเลนนอนใน ค.ศ. 1980 ซึ่งเขานำให้ผู้ชมร่วมร้องท่อนโคดาในคอนเสิร์ต จูเลียน เลนอน และแม็กคาร์ตนีย์ประสบความสำเร็จในการประมูลของที่ระลึกที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเพลง

เฮย์จูด

ออกจำหน่าย 26 สิงหาคม ค.ศ. 1968
รูปแบบ 7"
มิวสิกวิดีโอ
มิวสิกวิดีโอ
"Hey Jude" ที่ยูทูบ
ความยาว 7:11
B-side "เรโวลูชัน"
ผู้ประพันธ์ เลนนอน–แม็กคาร์ตนีย์
ค่ายเพลง แอปเปิล
บันทึกเสียง ไทรเดนต์ ลอนดอน
31 กรกฎาคม และ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1968
แนวเพลง ป็อปร็อก
โปรดิวเซอร์ จอร์จ มาร์ติน

แหล่งที่มา

WikiPedia: เฮย์จูด http://www.billboard.com/articles/list/2155531/the... http://repertoire.bmi.com/DetailView.aspx?detail=t... http://www.thebeatles.com/song/hey-jude https://www.allmusic.com/song/hey-jude-mt000204607... https://www.csmonitor.com/Books/2012/0617/Paul-McC... https://books.google.com/books?id=nxihDQAAQBAJ&q=J... https://www.mojo4music.com/articles/6244/david-fro... https://www.rollingstone.com/music/lists/the-500-g... https://www.youtube.com/watch?v=A_MjCqQoLLA https://www.youtube.com/watch?v=bkApuQWCPdM