องค์ประกอบทางดนตรี ของ เฮาส์_(แนวดนตรี)

เฮาส์เป็นแนวดนตรีที่มีอัตราจังหวะความเร็วระดับสูง (uptempo) เพื่อสำหรับการเต้น แม้ว่ามาตรฐานสำหรับเพลงเต้นในยุคสมัยใหม่หรือยุคโมเดิร์นนั้นจะมีอัตราจังหวะความเร็วอยู่ในระดับปานกลาง (mid-tempo) ซึ่งอยู่ในช่วงความเร็วระหว่าง 118 และ 135 บีตต่อนาที อย่างไรก็ตามเฮาส์ในยุคเริ่มแรกจะมีอัตราจังหวะความเร็วที่ช้ากว่า

ลักษณะเด่นขององค์ประกอบทั่วไปของแนวดนตรีเฮาส์คือการมีคิกดรัมในทุกๆบีทหรือโฟร์-ออน-เดอะ-ฟลอร์บีทในอีกชื่อหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะใช้ดรัมแมชชีนหรือแซมเพลอร์ในการสร้างสรรค์เพลง เสียงของคิกดรัมถูกเสริมโดยคิกฟิลล์ที่หลายหลายผนวกเข้ากับดรอปเอ้าท์ที่ถูกยืดออก ร่องเสียงกลองถูกเติมเต็มด้วยฉาบแบบไฮ-แฮท ที่มักจะมีไฮ-แฮทเปิดบนโน้ตแปดนอกบีท (eighth note off-beats) ในแต่ละคิกเสมอๆรวมไปถึงสแนร์ดรัมหรือเสียงตบบนบีทที่สองและสี่ของทุกๆบาร์ด้วย รูปแบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากจังหวะของเสียงกลองในการเต้น 'โฟร์-ออน-เดอะ-ฟลอร์' ของยุค 1960 และมือกลองดิสโก้ในยุค 1970 โปรดิวเซอร์มักจะแบ่งเสียงกลองตัวอย่างเป็นชั้นๆทำให้สามารถสร้างเสียงที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น พวกเขายังปรับการมิกซ์ของระบบเสียงในคลับขนาดใหญ่รวมทั้งเน้นเรื่องการลดความถี่ในช่วงระดับปานกลางซึ่งเป็นความถี่ระดับพื้นฐานของเสียงมนุษย์และไลน์เครื่องดนตรีระหว่างเบสและไฮ-แฮทอีกด้วย

โปรดิวเซอร์ใช้แหล่งเสียงที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปในแนวดนตรีเฮาส์ ตั้งแต่เสียงต่อเนื่องหรือการซ้ำการต่อเนื่องไลน์อิเลคโทรนิคบนเครื่องสังเคราะห์เสียงเช่น โรแลนด์ เอสเอช-101 หรือ ทีบี303 เพื่อบันทึกหรือเก็บตัวอย่างการแสดงสดของมือเบสอิเลคโทรนิคหรือเพียงเพื่อกรองเสียงตัวอย่างจากการบันทึกระบบเสียงสเตอริโอของเพลงคลาสสิกฟังก์หรือเพลงอื่นๆ เบสไลน์ของเฮาส์ค่อนข้างจะชอบใช้โน้ตที่ตกอยู่ในช่วงซิงเกิล-ออคเทฟซึ่งก็คือในช่วงความแตกต่างระหว่างโน้ตตัวแรกกับตัวที่แปดในโน้ตคู่แปด ในขณะที่ดิสโก้เบสไลน์จะสลับระหว่างโน้ตในออคเทฟ-เซพาเรตและมักจะขยายช่วงเสียงให้กว้างขึ้น ผลงานเพลงแนวเฮาส์ในช่วงแรกๆนำเอาส่วนต่างๆของเบสไลน์จากเพลงดิสโก้ในยุคก่อนมาใช้เช่น โปรดิวเซอร์ มาร์ค 'ฮอตรอด' ทรอลแลนที่เลียนแบบส่วนเบสไลน์จากเพลงอิตาเลียนดิสโก้ที่ชื่อ 'ฟีลกู๊ด (แครอทแอนด์บีท) ' โดยอิเลคทราทซึ่งร้องร่วมกับทารา บัทเลอร์ เพื่อสร้างผลงานทางดนตรี 'ยัวร์ เลิฟ' ของเขาเองในปี 1986 ร้องโดยเจมี พริ้นซิเพิล ในขณะที่แฟรงกี นักเคิลส์ได้ใช้โน้ตเดียวกันมาสร้าง 'ยัวร์ เลิฟ' ในเวอร์ชันของเขาที่ซึ่งประสบความสำเร็จมากกว่าในปี 1987 ซึ่งได้พริ้นซิเพิลมาช่วยร้องให้เช่นกัน

เสียงอิเลคโทรนิคและตัวอย่างจากการบันทึกเสียงจากเพลงชนิดต่างๆเช่น แจ๊ส, บลูและซินธ์ป็อป มักจะถูกใส่ลงไปในฐานเสียงของดรัมบีทและซินธ์เบสไลน์ แนวดนตรีเฮาส์อาจรวมเอา ดิสโก้, โซล หรือเพลงสวดวิงวอนพระเจ้าและการเคาะเพอคัสชั่นอย่างแทมเบอรีนมาใช้ การมิกซ์เพลงของเฮาส์ยังรวมถึงการซ้ำ, การตัดทอนเสียง, การลัดจังหวะดนตรีและการขาดตอนของลูปคอร์ทดนตรีซึ่งมักจะประกอบด้วย5-7คอร์ทในจังหวะ4-บีท

เทคโนและแทรนซ์ซึ่งถูกพัฒนามาเรื่อยๆร่วมกับเฮาส์ได้ใช้โครงสร้างพื้นฐานของบีทร่วมกันแต่จะพยายามหลบเลี่ยงอารมณ์แบบอิทธิพลทางดนตรีสดและอิทธิพลทางแนวเพลงละตินหรือเพลงของคนดำซึ่งมักจะนิยมแหล่งเสียงและการเข้าถึงเสียงแบบเสียงสังเคราะห์มากกว่า

ใกล้เคียง

เฮาส์ เฮาส์ (แนวดนตรี) เฮาส์ ออฟ นินจา เฮาส์ออฟเดอะเดด: สการ์เล็ตดอว์น เฮาส์ออฟไฟว์ลีฟส์ เฮาส์ เอ็ม.ดี. เฮาส์ออฟคอมมอนส์ เฮาส์ออฟลอร์ดส เฮาส์ (โรงภาพยนตร์) เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เฮาส์_(แนวดนตรี) http://www.smh.com.au/entertainment/music/the-crat... http://allmusic.com/cg/amg.dll?p=amg&sql=style/d40... http://www.boolumaster.com/mixes-dj-blog/category/... http://articles.chicagotribune.com/1987-03-04/ente... http://articles.chicagotribune.com/2012-07-02/news... http://www.spin.com/articles/burning-down-the-hous... http://thump.vice.com/words/the-punk-rocker-who-ac... http://blogs.spectator.co.uk/culturehousedaily/201...