ประวัติ ของ แกงกุรุหม่า

กุรหม่า (kurma) หรือกอร์มา (Korma) หรือ อาซิด (azid) เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดในเอเชียใต้หรือเอเชียกลาง[1] โดยส่วนประกอบของแกงใส่ได้ทั้งโยเกิร์ต ครีม เมล็ดพืชบดหรือกะทิ คำว่ากุรหม่าหรือกอร์มา มาจากภาษาอูรดู ḳormā (قورمه) หรืออาซิดในภาษาเปอร์เซีย หมายถึงเนื้อต้ม โดยรับผ่านภาษาตุรกี กาวุรมา (kavurma) หมายถึงเนื้อที่ปรุงแล้ว[2] มีที่มาจากอาหารมุฆัล[1]ในอินเดียและปากีสถานทุกวันนี้ อาหารชนิดนี้ในอินเดียสามารถย้อนไปได้ถึงราวพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นช่วงที่พวกมุฆัลรุกรายเข้าสู่ปากีสถาน อินเดียเหนือและบังกลาเทศ โดยดั้งเดิม กุรหม่าเป็นอาหารที่ปรุงโดยนำเนื้อสัตว์และผักไปเคี่ยวในน้ำ เติมโยเกิร์ตหรือครีม รายละเอียดของวิธีการทำกุรหม่ามีหลากหลาย

รสชาติของกุรหม่าขึ้นกับส่วนผสมของเครื่องเทศ รวมทั้งผักชีและยี่หร่า ใส่โยเกิร์ตที่เป็นเคิร์ดที่อุณหภูมิห้อง ผสมให้เข้ากับส่วนผสมอื่น แบบดั้งเดิมจะใส่หม้อเคี่ยวบนเตาถ่านด้วยไฟอ่อนๆ เพื่อให้ระอุโดยทั่วถึงกัน ใส่เนื้อสัตว์ได้หลายชนิด เช่น แกะ ไก่ เนื้อวัว หรือใส่ทั้งเนื้อสัตว์และผัก เช่นผักโขม และหัวผักกาด คำว่าซาฮี (หมายถึงของหลวง) ใช้เรียกกุรหม่าที่มีความพิเศษกว่าที่รับประทานในอาหารประจำวัน

ใกล้เคียง