การประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ ของ แกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรส

มีการใช้ GGT เป็นตัวบ่งชี้การวินิจฉัยทางการแพทย์หลายอย่าง

การเพิ่มขึ้นของระดับ GGT ในเซรั่มสามารถพบได้ในโรคของตับ ระบบทางเดินน้ำดี และตับอ่อน เอนไซม์นี้มีที่ใช้คล้ายคลึงกับ alkaline phosphatase ในการตรวจหาโรคของทางเดินน้ำดี ตัวบ่งชี้ทั้งสองนี้ค่อนข้างมีความสอดคล้องกันดีแม้จะมีแหล่งข้อมูลที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า GGT อาจจะมีความไวสูงกว่าก็ตาม[1][2] โดยทั่วไป ALP ยังคงเป็นการทดสอบที่เป็นตัวเลือกแรกในการตรวจหาโรคของทางเดินน้ำดี คุณค่าที่ GGT มีเหนือกว่า ALP คือการใช้ยืนยันว่าระดับ ALP ที่สูงขึ้นนั้นมาจากโรคของทางเดินน้ำดีจริงหรือไม่ เนื่องจากระดับ ALP อาจสูงขึ้นได้ในโรคกระดูกบางโรค ในขณะที่ GGT ไม่[2]

ระดับ GGT อาจสูงขึ้นได้จากการดื่มสุราเป็นปริมาณมาก[3] การเพิ่มขึ้นของ GGT โดยไม่เป็นสัดส่วนกับเอนไซม์ตับอื่น (เช่น ALP หรือ ALT) อาจบ่งชี้ถึงการติดสุราหรือโรคตับจากสุรา[4] โดยอาจบ่งชี้ว่ามีการกินแอลกอฮอล์เป็นปริมาณมากในช่วง 3-4 สัปดาห์ก่อนการตรวจ กลไกของการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ในกรณีนี้ยังไม่ชัดเจน แอลกอฮอล์อาจเพิ่มการผลิต GGT โดยกระตุ้นให้มีการผลิต microsome ในเซลล์ตับมากขึ้น หรืออาจเป็นสาเหตุทำให้มีการรั่วไหลของ GGT ออกจากเซลล์ตับก็ได้[5]

มียาหลายชนิดที่สามารถเพิ่มระดับ GGT ได้ เช่น barbiturate และ phenytoin[6] ยาอื่นๆ เช่น NSAID, St. John's wort และแอสไพริน หรืออาจเกิดจากภาวะหัวใจวายก็ได้

ใกล้เคียง

แกมมา แกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรส แกมมา ซีฟิอัส เอบี แกมมา ซีฟิอัส แกมมา (อุปราคา) แกมมา1 สิงโต บี แกมมา (ฟังก์ชัน) แกมมาไฮดรอกซีบิวทีเรต แกมมา (แก้ความกำกวม) แทมมารีน ธนสุกาญจน์

แหล่งที่มา

WikiPedia: แกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรส http://bioinfo.genopole-toulouse.prd.fr/priam/cgi-... http://nlm.nih.gov/cgi/mesh/2006/MB_cgi?rn=1&term=... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=p... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=p... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/4105075 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/4148049 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/5012259 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/6132864 //www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?mode=&term=... http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00...