ผลที่ได้จากขยะฝังกลบ ของ แก๊สจากขยะฝังกลบ

อัตราการเกิดแก๊สจากขยะเป็นขบวนการย่อยสลายทางเคมีและชีวภาพขึ้นอยู่กับส่วนผสมทางเคมีของขยะ อุณหภูมิภายในบ่อ ปฏิกิริยาการหมัก สภาพการแตกต่างกัน และความไม่แน่นอนโดยธรรมชาติของส่วนผสม ทำให้เป็นการยากที่จะคาดการณ์ในการผลิตแก๊สเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ และยากกว่าการกำจัดขยะด้วยวิธีอื่น

เมื่อขบวนการย่อยสลายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแก๊สเพิ่มขึนเรื่อยๆ แก๊สเหล่านี้ทำให้เกิดแรงดันขึ้นภายในหลุมกลบ แก๊สบางส่วนจะรั่วออกสู่บรรยากาศ ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นหลายครั้งในประเทศทางยุโรป เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้ต้องมีมาตรการการเฝ้าระวังตลอด การรั่วไหลของแก๊สทำให้น้ำใต้ดินบริเวณโดยรอบหลุมฝังกลบแทบทุกแห่งปนเปื้อน

แก๊สที่เกิดจากขยะนี้ ประมาณ 40-50% เป็นมีเทน ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ นอกจากนี้ก็ยังมี ไนโตรเจนและอ๊อกซิเจน ไอน้ำ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และสิ่งปนเปื้อนอื่นๆที่เรียกว่า"สารประกอบที่ไม่ใช่มีเทน" เช่นปรอท ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1% ของแก๊สทั้งหมด สารประกอบที่ไม่ใช่มีเทน มีทั้งหมด 49 ตัว รวมทั้งสารพิษเช่นเบนซีน โทลูอีน โคลโรฟอร์ม และคาร์บอนเตตระคลอไรด์ วิธีการจัดการกับแก๊สจากขยะก็คือเผาทิ้งทำลาย หรือนำไปต้มทำความร้อน หรือจ่ายให้เครื่องสันดาปภายในเพื่อผลิตไฟฟ้า หรือเปลี่ยนมีเทนให้เป็นเมททิลแอลกอฮอล์ หรือทำให้สะอาดแล้วส่งไปตามท่อไปให้อุตสาหกรรมอื่นหรือส่งเข้าไปในท่อส่งแก๊สธรรมชาติ

ในสหรัฐ คาดว่าจะมีหลุมฝังกลบขยะกว่า 6000 หลุม ทำให้ผลิตเมเทนได้เป็นจำนวนมาก กว่า 600,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อปี หลุมเหล่านี้ปล่อยมีเทนขึ้นอยู่บรรยากาศของโลกด้วยฝีมือมนุษย์มากที่สุด