ดูเพิ่ม ของ แก๊สธรรมชาติ

ผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ            

ก๊าซมีเทน ( C1 )  :  ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม  และเมื่อนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง  จะเรียกว่าก๊าซธรรมชาติอัด  ( CNG )  สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์  รู้จักกันในชื่อว่า  “ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ”  ( NGV)ก๊าซอีเทน ( C2 )  :  ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น  เพื่อนำไปผลิตเม็ดพลาสติก  เส้นใยสังเคราะห์ชนิดต่างๆ  ก่อนนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ  ต่อไปก๊าซโพรเพน ( C3 ) และก๊าซบิวเทน ( C4 )  :  ก๊าซโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นได้เช่นเดียวกัน  และหากนำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกันตามอัตราส่วน  อัดใส่ถังเป็นก๊าซปปิโตรเลียมเหลว  ( LPG )  หรือที่เรียกกว่าก๊าซหุงต้ม  สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์  และใช้ในการเชื่อมโลหะได้  รวมทั้งยังนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางปประเภทได้อีกด้วยไฮโดรคาร์บอนเหลว  :  อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ  ในกระบวนการผลิต  สามารถแยกจากไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซบนแท่นผลิต  เรียกว่า  คอนเดนเสท  สามารถลำเลียงขนส่งโดยทางเรือหรือทางท่อน้ำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไปก๊าซโซลีนธรรมชาติ  :  อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลว  แม้จะมีการแยกคอนเดนเสทออกในกรระบวนการผลิตที่แท่นผลิตแล้ว  แต่ก็ยังมีไฮโดรคาร์บอนเหลวบางส่วนหลุดไปกับไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ  เมื่อผ่านกระบวนการแยกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติแล้ว  ไฮโดรคาร์บอนเหลวนี้ก็จะถูกแยกออก  เรียกว่า ก๊าซโซลีนธรรมชาติ  ( NGL )  และส่งเข้าไปยังโรงกลั่นน้ำมัน  เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเสร็จรูปได้เช่นเดียวกับคอนเดนเสท  และยังเป็นตัวทำละลาย  ซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทได้เช่นกันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  :  เมื่อผ่านกระบวนการแยกแล้วจะถูกนำไปทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง  เรียกว่า  น้ำแข็งแห้ง  นำไปใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหารอุตสาหกรรมน้ำอัดลมและเบียร์  ใช้ในการถนอมอาหารระหว่างการขนส่งนำไปเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำฝนเทียม  และนำไปใช้สร้างควันในอุตสาหกรรมบันเทิง  อาทิ  การแสดงคอนเสิร์ต  หรือการถ่ายทำภาพยนตร์[3]