การเคลื่อนไหว ของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ

พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2553

พ.ศ. 2554

ในวันที่ 9-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 กลุ่มนปช.จัดชุมนุมบริเวณศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก[66]
ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554 วันสตรีสากล ได้มีการชุมนุมของกลุ่มพลังหญิง กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จัดเสาวนา เรื่อง บทบาทของผู้หญิงในสถานการณ์เศรษฐกืจ สังคม การเมือง ในประเทศไทย[67]ในงานได้นำนางสาวจิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงาน ผู้เคยชูป้ายข้อความ 'ดีแต่พูด' ต่อหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะปาฐกถาในวันสตรีสากลปีเดียวกัน โดยก่อนหน้านั้นเธอเป็นประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย แต่ถูกเลิกจ้าง ด้วยข้ออ้างที่เธอสวมเสื้อมีข้อความรณรงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นฯ ขณะไปออกรายการโทรทัศน์ทำให้เสียชื่อเสียงบริษัท ส่งผลให้สมาชิกสหภาพฯ นัดหยุดงานประท้วงเพื่อเรียกร้องให้นายจ้างรับเธอกลับเข้าทำงานตามเดิม พนักงานคิดว่านี่เป็นการคุกคามเสรีภาพและเป็นแผนทำลายสหภาพแรงงานในปี 51 ถึง 45 วัน และหลังจากนั้นในปี 52 บริษัทได้ประกาศเลิกจ้างคนงาน 1,959 คน เพื่อปลดคนงานที่มีอายุมาก ซึ่งมีกรรมการสหภาพรวมอยู่ 13 คน ใน 18 คน เพื่อขุดรากถอนโคนสหภาพแรงงาน[68]มาร่วมในงานเสาวนาและมีการให้รางวัลแก่นางสาวจิตรา คชเดช เนื่องในวันสตรีอีกด้วย

ในวันที่ 12 มีนาคม 2554 ได้มีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมี นายจตุพร เป็นแกนนำปราศัย มีผู้ร่วมฟังการปราศัยกว่าหมื่นคน

ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการเปิดตัวกลุ่มกิจกรรม “มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้” โดยมีการตะโกนคำว่ายกเลิก 112 ไปตลอดเส้นทาง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ถึง อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกาศจุดยืนให้ยกเลิกกฎหมายประมวลอาญามาตรา 112 แกนนำกลุ่มคือกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกลุ่มแนวร่วมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ นางสาวจิตรา คชเดช ผู้ถูกเลิกจ้างอันกระทำการให้บริษัทเสื่อมเสียฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยได้เป็นแกนนำในครั้งนี้[69]การชุมนุมเนื่องในโอกาสครอบรอบห้าปีรัฐประหาร พ.ศ. 2549 การชุมนุมได้เกิดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในครั้งนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่ใช้ชื่อว่าคณะนิติราษฎร์ ได้ออกแถลงการณ์ให้ล้มเลิกการตัดสินคดีความของศาลที่เกิดจากรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ทั้งหมด มีหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยในเรื่องนี้แม้คณะนิติราษฎร์อ้างว่าไม่ได้ทำเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการลบล้างคำพิพากษาหากเกิดขึ้นจริงยังคงเป็นบุคคลสำคัญในพรรคเพื่อไทยพรรคพลังประชาชนและพรรคไทยรักไทยรวมถึงบุคคลสำคัญในพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้น (พ.ศ. 2554) เช่น พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคพลังชล พรรคมหาชน[70]เนื่องจากบุคคลสำคัญในพรรคดังกล่าวถูกศาลตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี อีกทั้งคณะนิติราษฎร์ไม่ได้เสนอให้ล้มล้างผลขอการรัฐประหารในครั้งก่อน ๆ ที่มีการประกาศใช้คณะปฏิวัติที่ส่งผลทางกฎหมายถึงปัจจุบัน[71]เช่น คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 37 พ.ศ. 2525 เป็นต้น[72]

วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554 กลุ่มนปช.จัดการชุมนุมที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยนายจตุพรปราศรัยว่า คุณเอาหน่วยไหนมาฆ่าพวกผม ยังไม่เจ็บปวด ยกเว้นสองหน่วยอย่าเอามาฆ่าผมได้ไหม คือ หนึ่ง ทหารรักษาพระองค์ และสอง ทหารเสือพระราชินี เพราะพวกเรามีความเจ็บปวดว่าเป็นกระสุนพระราชทานใช่ไหม[73] มีประเทศไหนบ้างในโลกนี้ฆ่าลูกเพื่อปกป้องพ่อ ฆ่าลูกเพื่อพ่อ ฆ่าลูกเพื่อแม่ มีไอ้ประเทศบ้าประเทศนี้ประเทศเดียว ซึ่งต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา[74] ผู้บัญชาการทหารบก มอบอำนาจให้นายทหารพระธรรมนญฟ้องร้อง เนื่องจากเป็นการกล่าวในที่สาธารณะ แต่นาย ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ สั่งไม่ฟ้อง

ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554 กลุ่มนปช.จัดการชุมนุมที่บริเวณสนามโรงเรียนบ้านวังจ๊อม อำเภอเชียงดาว จ.เชียงใหม่ โดยมี จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ วิเชียร ขาวขำ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เข้าร่วม

ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 กลุ่มนปช.ร่วมพิธีรำลึกครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุม 19 พฤษภาคม 53 ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ก่อนจะร่วมกันวางพวงมาลัย เพื่อสดุดีบุคคลที่เสียชีวิต ในวัดปทุมวนาราม นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ[75]ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 ในงานเสาวนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อรัฐประหารเปลี่ยนประเทศไทยอย่างไร[76]ได้มีการปะทะกันระหว่างนายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ นายแทนคุณ จิตต์อิสระผู้สมัครส.ส.พรรคประชาธิปัตย์โดยกลุ่มนปช.ประสงค์จะทำร้ายร่างกายและได้มีการขว้างปาขวดน้ำใส่นักศึกษาและผู้ร่วมเสาวนาทั้งสองราย

ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 การชุมนุมของกลุ่มปัญญาชนแดง นปช.ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อรำลึกวันรัฐธรรมนูญ และรำลึกการเสียชีวิตของแนวร่วมกลุ่มคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เริ่มตั้งแต่ 14.00 น. โดยมีการติดตั้งเครื่องขยายเสียง และจอโปรเจกต์เตอร์ขนาดใหญ่ ที่บริเวณลานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย[77]โดยมีผู้มาชุมนุมประมาณ 7000 คนนำโดยนางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของน.ส.กมนเกด อัคฮาด[78]

พ.ศ. 2555

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 จตุพร พรหมพันธุ์ ในฐานะแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. กล่าวถึงการเดินทางมาศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2554 เพื่อจุดมุ่งหมายคือการอ่านจดหมายปรับทุกข์ของแกนนำ นปช.ในเรือนจำ และในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ได้ชุมนุมที่ศาลฎีกา เพื่อร่วมกันอ่านจดหมายปรับทุกข์ ขอความยุติธรรม[79]

วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก เวลา 14.00 น. กลุ่มคนเสื้อแดงเดินทางมารวมตัวกัน เพื่อแสดงความไว้อาลัยให้กับอำพล ตั้งนพกุล โดยได้นำศพของอำพลมาตั้งไว้หน้าป้ายศาล และบนทางเท้ามีการตั้งเต็นท์ นำรถติดตั้งเครื่องขยายเสียง ชูภาพของอำพล[80]ต่อมาวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 กลุ่มนปช.ได้มาชุมนุมเพื่อให้กำลังใจ นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ในคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นหรือไม่พ้นจากการเป็นส.ส.หลังจากมีคำพิพากษาให้นาย จตุพร พ้นจากส.ส.กลุ่มนปช.ได้แสดงความผิดหวังและด่าทอศาลรัฐธรรมนูญ[81]

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 กลุ่มคนเสื้อแดงร่วมการชุมนุมซึ่งจัดโดย นปช.ที่บริเวณแยกราชประสงค์ ในเหตุการณ์ครบรอบ 2 ปี การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[82] โดยศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เกษรพลาซา และอมรินทร์พลาซา ประกาศปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 15.00 น. สำหรับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก) ปรับเปลี่ยนเส้นทางรถประจำทาง 16 สาย เพื่อหลีกเลี่ยงบริเวณแยกราชประสงค์ ส่วนผู้ประกอบการวิสาหกิจย่านราชประสงค์ ออกประกาศให้พนักงานของห้างร้านต่าง ๆ ในบริเวณโดยรอบย่านราชประสงค์ เลิกงานก่อนเวลา 16.00 น. เพื่อให้เดินทางกลับบ้านโดยสะดวก[83]

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลุ่มคนเสื้อแดงราว 5000 คน นำโดยพายัพ ปั้นเกตุ พ.ต.อ.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ และดารุณี กฤตบุญญาลัย ร่วมการชุมนุมซึ่งจัดโดย นปช.ที่บริเวณรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง[84]

พ.ศ. 2556

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) และกลุ่มแนวร่วมคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง ร่วมกันชุมนุมกดดันให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกทั้งคณะ พร้อมทั้งรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอนด้วย เนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน มิได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จึงมีที่มาไม่ชอบธรรม[85] โดยเชื่อกันว่ามีการตั้งค่าหัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย[86]

วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 กลุ่มคนเสื้อแดง นำโดยลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ เดินทางไปที่หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อประท้วงต่อพฤติกรรมของสมชัย กตัญญุตานันท์ หรือ “ชัย ราชวัตร” การ์ตูนิสต์[87] ที่แสดงข้อความในเฟซบุ๊ก ตำหนินายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากการกล่าวปาฐกถาที่ประเทศมองโกเลีย ด้วยถ้อยคำที่ร้ายแรง[88] ต่อมา นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ มอบหมายให้ทนายความ เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อตำรวจ ให้ดำเนินคดีกับสมชัยฐานหมิ่นประมาท[89]

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 กลุ่ม นปช.จัดการชุมนุมรำลึกครบรอบ 3 ปีการสลายการชุมนุมฯ ที่บริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งในเวลา 21:00 น. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ติดต่อเข้าสู่ที่ชุมนุมด้วยโปรแกรมสไกป์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กล่าวโจมตีกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ว่าต้องการเผด็จการ มากกว่าประชาธิปไตย[90] และกล่าวแสดงความอาลัยต่อผู้เสียชีวิต จากการสลายการชุมนุมในวันเดียวกันของปี พ.ศ. 2553 ทั้งนี้ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 13:00 น.

วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556 กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล นำโดย ผศ.ดร.สุดา รังกุพันธุ์ และ ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย จัดการชุมนุมหน้าศาลอาญารัชดาภิเษก [91]โดยจัดทุกวันอาทิตย์ต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ. 2557

วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 นปช.[92]เข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ วัดพระศรีมหาธาตุ รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พ.ศ. 2559

ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2559 ที่ ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกามี การประชุม สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นประธานกลุ่ม โดยสมาชิกในกลุ่มอาทิ ดร.เสน่ห์ ถิ่นแสน (หรือนามแฝง ดร.เพียงดิน รักไทย) ชูพงศ์ ถี่ถ้วน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรัล ดิษฐาอภิชัย ดร.สุนัย จุลพงศธร จาตุรนต์ ฉายแสง ดารุณี กฤตบุญญาลัย มนูญ หรือ เอนก ชัยชนะ จอม เพชรประดับ จรรยา ยิ้มประเสริฐ[93]บางบุคคลเป็นที่ต้องการตัวในฐานะผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเวียดนามใต้ แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร แนวร่วมปิตุภูมิ (ออสเตรีย) แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร แนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชา

แหล่งที่มา

WikiPedia: แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ http://nbtv.biz/ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/642443 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/656601 http://morning-news.bectero.com/%E0%B9%80%E0%B8%A3... http://deangchiangmai.blogspot.com/ http://deangchiangmai.blogspot.com/2011/03/blog-po... http://www.economist.com/world/asia/displaystory.c...