กิจกรรมหลัก ของ แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม

การลอบสังหาร

การลอบสังหารของแนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมที่สำคัญได้แก่การสังหาร สุเรนทรา พอล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ใน พ.ศ. 2534 วิศวกรชาวรัสเซียถูกลักพาตัวและถูกฆ่า ใน พ.ศ. 2540 สัญชัย โฆเส นักกิจกรรมทางสังคมซึ่งสำเร็จการศึกษาจากอินเดียถูกฆ่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูงที่ถูกลอบสังหารคือ นาเคน ศรรมะ ที่ถูกฆ่าเมื่อ พ.ศ. 2543 และยังมีการลอบสังหารที่ไม่สำเร็จอีกมาก

ใน พ.ศ. 2546 แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมถูกกล่าวหาว่าได้ฆ่าแรงงานชาวพิหารเพื่อเป็นการตอบโต้ที่มีการข่มขืนเด็กหญิงชาวอัสสัมบนรถไฟในพิหาร เหตุการณ์นี้กลายเป็นชนวนให้มีการต่อต้านพิหารในอัสสัม

เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2547 มีเหตุระเบิดในอัสสัมและมีผู้เสียชีวิต 10-15 คน รวมทั้งเด็กนักเรียนด้วย ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกระทำของแนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมได้ฆ่าคนงานชาวพิหารที่พูดภาษาฮินดีราว 62 คน และได้วางระเบิดในคุวาหาตีเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีผู้บาดเจ็บ 6 คน

ความเสียหายทางเศรษฐกิจ

แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมเคยกล่าวอ้างความรับผิดชอบต่อการวางระเบิดเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เช่น ท่อส่งน้ำมัน รถไฟ และที่ทำการรัฐบาล รวมทั้งการโจมตีเมื่อ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2548

การรับสมาชิกใหม่

มีรายงานเกี่ยวกับการรับสมาชิกใหม่ของแนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมในเขตชนบท

กิจกรรมทางการเมือง

หลัง พ.ศ. 2527 และก่อนถูกคว่ำบาตรเมื่อ พ.ศ. 2533 แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมมีกิจกรรมทางการเมืองมากมาย ในทันทีหลังจากการรื้อทำลายมัสยิดบาบรีเมื่อ พ.ศ. 2535 แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมได้ออกมาระงับความอลหม่านระหว่างชาวฮินดูและชาวมุสลิมในบริเวณโหชัยของตำบลนาเคาน์ โดยการแสดงอาวุธอย่างเปิดเผย

ยังคงมีการบรรยายผ่านสื่อพื้นบ้านเช่นหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะปัญหาทางการเมืองที่เน้นคำถามเกี่ยวกับความเป็นชาติซึ่งเป็นหัวข้อโต้แย้งในอัสสัม แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมเคนเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรการเลือกตั้งในท้องถิ่นสองครั้ง

การระดมทุน

แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมมีชื่อเสียงเกี่ยวกับการปล้นธนาคารในช่วงแรก ปัจจุบันมีการรายงานอย่างกว้างขวางว่ามีการขู่เข็ญนักธุรกิจ ข้าราชการ และนักการเมืองเพื่อระดมทุน

กิจกรรมอื่นๆ

มีรายงานว่าแนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมยังคงมีค่ายฝึกอยู่ในบังกลาเทศและภูฏานแม้ว่าจะถูกทำลายโดยกองทัพภูฏานเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 นอกจากนี้ แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติโบโดแลนด์ด้วย

ใกล้เคียง

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเวียดนามใต้ แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม แนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แนวร่วมปิตุภูมิ (ออสเตรีย) แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร

แหล่งที่มา

WikiPedia: แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม http://www.flonnet.com/stories/20070126002803200.h... http://www.nytimes.com/2004/08/15/international/as... http://in.news.yahoo.com/060612/139/650c7.html http://in.news.yahoo.com/060612/210/64zu8.html http://in.news.yahoo.com/060614/48/652pv.html http://in.news.yahoo.com/060614/48/652q3.html http://in.news.yahoo.com/060614/48/652q9.html http://youtube.com/watch?v=_ApgM8cbxF8 http://youtube.com/watch?v=zP2JVQATGz0 http://english.aljazeera.net/NR/exeres/1301D023-2F...