ประวัติศาสตร์ ของ แนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชา

แนวร่วมปลดปล่อย (พ.ศ. 2521 – 2524)

ในทางการเมืองแนวร่วมปลดปล่อยเป็นองค์กรของกลุ่มนิยมเวียดนามที่มีชื่อว่าพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา การก่อตั้งแนวร่วมนี้ในกัมพูชาเกิดขึ้นในบริเวณจังหวัดกระแจะ ซึ่งเป็นเขตปลดปล่อยของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาที่ไม่เข้าร่วมกับนโยบายการต่อต้านเวียดนามและเน้นความรุนแรงของพล พต ที่นำไปสู่การนองเลือดในภาคตะวันออกของกัมพูชาใน พ.ศ. 2520[4] วันประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการของแนวร่วมคือ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นวันที่นักสังคมนิยมชาวกัมพูชาเรียกว่าการประชุมเพื่อปรับความร่วมมือใหม่[5] เป้าหมายของแนวร่วมคือต้องการโค่นล้มรัฐบาลของพล พต ต้องการปรับรูปแบบของประเทศโดยใช้โครงสร้างแบบโซเวียตเพื่อคงไว้ซึ่งการปฏิวัติที่เป็นกลาง มีความเป็นไปได้จริง และเห็นคุณค่าของมนุษย์มากกว่าแบบของเขมรแดง แม้ว่าจะมีกลุ่มที่ไม่นิยมคอมมิวนิสต์เข้าร่วมด้วย

การติดต่อประสานงานเพื่อจัดตั้งขบวนการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มหลักๆ 5 กลุ่ม คือกลุ่มของเฮง สำรินและเจีย ซีม ที่มีอิทธิพลทางตะวันออกของกัมพูชา กลุ่มของบู ทอง ผู้นำการปฏิวัติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อ พ.ศ. 2518 กลุ่มของแปน โสวัณณ์ เจีย สต และจัน ซี เป็นกลุ่มปัญญาชนที่ผ่านการฝึกฝนจากเวียดนาม กลุ่มของฮุน เซน และกลุ่มของเตีย บัญกับใส่ ภู่ทอง ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านเขมรแดงของชาวไทยเกาะกงที่ลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย โดยมีเวียดนามทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงาน โดยผู้แทนของเวียดนามที่เกี่ยวข้องคือเล ดึ้ก เถาะ และเล ดึ๊ก อัญ [6]

แนวร่วมแห่งชาติกัมพูชาเพื่อการสร้างชาติและการปกป้อง (พ.ศ. 2524 – 2549)

สองปีหลังจากการปลดปล่อยพนมเปญ แนวร่วมปลดปล่อยได้เปลี่ยนชื่อเป็นแนวร่วมแห่งชาติกัมพูชาเพื่อการสร้างชาติและการปกป้อง (ภาษาอังกฤษ: Kampuchean United Front for National Construction and Defence; ภาษาฝรั่งเศส: Front d'union pour l'édification et la défense de la patrie du Cambodge)[7] แนวร่วมนี้เป็นองค์กรหลักของสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา มีบทบาทสำคัญในรัฐธรรมนูญมาตรา 3

แนวร่วมปลดปล่อยเพื่อการพัฒนามาตุภูมิกัมพูชา (พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน)

ในการประชุมครั้งที่ 5 ของแนวร่วมเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2549 แนวร่วมได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น แนวร่วมปลดปล่อยเพื่อการพัฒนามาตุภูมิกัมพูชา (ภาษาอังกฤษ: Solidarity Front for Development of the Cambodian Motherland; ภาษาฝรั่งเศส: Front de solidarité pour le développement de la Patrie du Cambodge)[8]

ใกล้เคียง

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเวียดนามใต้ แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม แนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แนวร่วมปิตุภูมิ (ออสเตรีย) แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร