พื้นผิวและขอบ ของ แนวสันกระดูกสะบัก

แนวสันกระดูกสะบัก (แสดงด้วยสีแดง) แสดงกล้ามเนื้อที่มายึดเกาะ

แนวสันกระดูกสะบักมี 2 พื้นผิวและ 3 ขอบ

ในบรรดาขอบทั้งสามของแนวสันกระดูกสะบัก ขอบด้านบน (anterior border) ยึดเกาะกับพื้นผิวด้านหลังของกระดูก ขอบด้านหลัง (posterior border) หรือสันของกระดูกสะบัก (crest of the spine) มีลักษณะกว้าง แบ่งออกเป็น 2 แนว (lips) และช่องระหว่างแนว

  • กล้ามเนื้อทราพีเซียส ยึดเกาะกับ แนวด้านบน (superior lip) และเห็นปุ่มกระดูกขรุขระซึ่งเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นของจุดเกาะปลายของส่วนล่างของกล้ามเนื้อนี้
  • กล้ามเนื้อเดลทอยด์ ยึดเกาะกับตลอดความยาวของ แนวด้านล่าง (inferior lip)
  • ช่องระหว่างแนว อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง และบางส่วนคลุมด้วยใยของเอ็นของกล้ามเนื้อเหล่านี้

และ ขอบด้านข้าง (lateral border) หรือฐาน เป็นขอบที่สั้นที่สุด มีลักษณะเว้าเล็กน้อย ขอบของมันหนาและกลม ด้านบนเชื่อมต่อกับพื้นผิวด้านล่างของอโครเมียน และด้านล่างเชื่อมต่อกับคอกระดูกสะบัก (neck of the scapula) เกิดเป็นขอบเขตด้านใกล้กลางของรอยเว้าใหญ่ของกระดูกสะบัก (great scapular notch) ซึ่งเชื่อมระหว่างแอ่งเหนือและใต้แนวสันกระดูกสะบัก

ใกล้เคียง

แนวสันกระดูกสะบัก แนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้าง แนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านกลางลำตัว แนวร่วมสังคมนิยม แนวร่วมสังคมนิยม (สิงคโปร์) แนวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง แนวกันไฟ แนวสเตรซา แนวฟันในหิน แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม