แบไรต์
แบไรต์

แบไรต์

แบไรต์ (อังกฤษ: Barite) เป็นชื่อแร่ที่มาจากภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “หนัก” เนื่องจากเป็นแร่ที่มีความถ่วงจำเพาะสูงรูปผลึกระบบออร์โทรอมบิก ผลึกมักเป็นแผ่นหนา ยาวขนานไปกับฐานของผลึกหรือรูปแท่งเหลี่ยมๆ หรือพบเป็นผลึกเกิดร่วมเป็นกลุ่มเหมือนดอกกุหลาบเรียก “Crested Barite” หรือ “Barite Roses” อาจพบเป็นแผ่นบางซ้อนกันค่อนข้างหนา หรือเป็นมวลเมล็ด หรือแบเนื้อด้านเหมือนดิน มีแนวแตกรียบเด่นสมบูรณ์แข็ง 3-3.5 ถ.พ. 4.5 (จัดเป็นแร่อโลหะที่หนักผิดปกติแร่หนึ่ง) วาวคล้ายแก้วหรือวาวคล้ายมุก อาจไม่มีสี สีขาว หรือมีสีออกน้ำเงิน เหลือง แดงอ่อนๆเนื้อแร่โปรงใสไปจนกระทั่งโปร่งแสงมีสูตรเคมีคือ BaSo4 มี BaO 65.7% SO3 34.3% อาจมีธาตุสตรอนเชียมหรือตะกั่วเข้าแทนที่แบเรียมได้ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ สังเกตเป็นแร่ที่หนักตึงมือรู้สึกได้ทันที ดูรูปลักษณะผลึกเป็นรูปแผ่นหนาและมีแนวแตกเรียบเด่นชัด มีดขีดเข้า

แบไรต์

ค่าความแข็ง 3-3.5
ค่าแสงหักเหสองแนว 0.012
ความวาว วาวแบบแก้ว - ไข่มุก
ประเภท แร่ซัลเฟต
โครงสร้างผลึก ออร์โธรอมบิก (2/m 2/m 2/m)
สี ไม่มีสี, ขาว, ฟ้า, เหลือง, เทา, น้ำตาล
ดรรชนีหักเห nα = 1.634–1.637
nβ = 1.636–1.638
nγ = 1.646–1.648
สูตรเคมี BaSO4
สีผงละเอียด สีขาว
สภาพละลายได้ ต่ำ
ความหนาแน่น 4.48 g/cm3[1]
ความยืดหยุ่น เปราะ
ความโปร่ง โปร่งใส - ทึบแสง
ความถ่วงจำเพาะ 4.3–5