ประวัติ ของ แป็งเกอ

เงินเฟ้อขั้นรุนแรง

ค่าเงินแป็งเกอสูญเสียไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประสบกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ มีความพยายามหลายครั้งที่จะสลายอัตราเงินเฟ้อเช่นการเรียกเก็บเงินทุน 75% ในเดือนธันวาคม 1945 อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ไม่ได้หยุดภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงแต่อย่างใด และราคายังคงไม่สามารถควบคุมได้โดยมีการสร้างหน่วยเงินตรามากขึ้นเรื่อย ๆ หน่วยเงิน milpengő (หนึ่งล้านแป็งเกอ) และ b.-pengő (การออกเสียง: bilpengő, หนึ่งล้านล้าน (1,000,000,000,000) pengő) ถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาสำหรับการคำนวณด้วยการลดจำนวนศูนย์ และทำให้สามารถนำรูปแบบธนบัตรกลับมาใช้ใหม่ได้โดยมีการเผลี่ยนเพียงสีและหน่วยเงินเท่านั้น

ออโดแป็งเกอ

ดูบทความหลักที่: ออโดแป็งเกอ

ออโดแป็งเกอ (ฮังการี: adópengő, แปลตรงตัว: "แป็งเกอภาษี") เริ่มนำมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1946 เป็นหน่วยบัญชีสำหรับการวางแผนงบประมาณ อย่างไรก็ตามตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นเงินจ่ายหนี้ตามกฎหมาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาค่าของมันเมื่อแป็งเกอราคาตกลง อย่างไรก็ตามแม้ว่ามูลค่าของเงินจะเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับแป็งเกอ (จนถึง 2 × 1021 แป็งเกอ) แต่ออโดแป็งเกอก็ยังคงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากภาวะเงินเฟ้อ ภายในเดือนกรกฎาคมปี 1946 adópengő กลายเป็นสกุลเงินหมุนเวียนเพียงสกุลเดียว เนื่องจากมูลค่าของแป็งเกอลดลงถึงขนาดที่แม้แต่ธนบัตร 100 ล้าน b.-pengő ก็ไร้ค่า

จุดจบของแป็งเกอ

เศรษฐกิจฮังการีจะมีเสถียรภาพได้ก็ต่อเมื่อมีการเปิดตัวสกุลเงินใหม่ดังนั้นในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2489 จึงมีการนำโฟรินต์มาใช้อีกครั้งในอัตรา 400,000,000,000,000,000,000,000,000,000 (4 แสนล้านล้านล้านล้าน) = 4x1029 แป็งเกอ ลด 29 ศูนย์ลงจากสกุลเงินเดิม หลังจากมีผลบังคับใช้ จำนวนธนบัตรที่หมุนเวียนทั้งหมดมีค่าน้อยกว่า 0.1 ฟิลเลร์ (1/1000 โฟรินต์) การเปรียบเทียบที่เป็นจริงมากขึ้นคืออัตราแลกเปลี่ยนกับ adópengő ซึ่งกำหนดไว้ที่ 200,000,000 (ดังอัตราส่วน 2×1021 ที่กล่าวข้างต้น)[3] อัตราแลกเปลี่ยนทองคำกำหนดไว้ที่ 13.21 ฟอรินต์ต่อกรัม