แผนการเล่นสมัยใหม่ ของ แผนการเล่น_(ฟุตบอล)

แผนการเล่นสมัยใหม่
  • แผนการเล่น 4–4–2
  • แผนการเล่น 4–3–3
  • แผนการเล่น 4–4–2 ไดมอนด์
  • แผนการเล่น 4–4–1–1
  • แผนการเล่น 4–3–2–1
  • แผนการเล่น 5–3–2
  • แผนการเล่น 5–3–2 สวีปเปอร์
  • แผนการเล่น 3–4–3
  • แผนการเล่น 3–5–2
  • แผนการเล่น 3–6–1
  • แผนการเล่น 4–5–1
  • แผนการเล่น 4–2–3–1
  • แผนการเล่น 5–4–1
  • แผนการเล่น 4–2–2–2

แผนการเล่นดังต่อไปนี้ใช้ในฟุตบอลสมัยใหม่ รูปแบบจะมีความยืดหยุ่นตามความต้องการของทีมตามผู้เล่นที่มีอยู่ และตำแหน่งของผู้เล่นเปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกันกับการแทนกองหลังแบบดั้งเดิมด้วย สวีปเปอร์

4–4–2

แผนการเล่นนี้เป็นแผนการเล่นทั่วไปในฟุตบอลยุค 1990 และต้นยุค 2000 อีกทั้งเป็นที่มาของนิตยสารชื่อดัง โฟร์โฟร์ทู โดยผู้เล่นกองกลางจะต้องช่วยในเกมรับและรุก โดยอาจจะมีกองกลางตัวกลาง 1 คนที่คอยเล่นเกมรุกและช่วยเหลือกองหน้า ส่วนที่เหลือจะคอยคุมเกมและป้องกันกองหลัง ส่วนผู้เล่นกองกลางด้านกว้างทั้ง 2 คนจะวิ่งไปยังด้านกว้างและคอยเปิดบอลเข้าสู่พื้นที่เขตโทษ หรือช่วยเหลือฟุลแบ็ก[9][10] ในการแข่งขันฟุตบอลยุโรป มีการใช้แผนการเล่น 4–4–2 เช่น เอซี มิลาน ที่คุมทีมโดย อาร์รีโก ซัคคี และ ฟาบีโอ กาเปลโล ซึ่งได้แชมป์ ยูโรเปียนคัพ 3 สมัย, อินเตอร์คอนติเนนทัลคัพ 2 สมัย และ ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 3 สมัย ระหว่างปี ค.ศ. 1988 ถึง ค.ศ. 1995 ทำให้เป็นที่นิยมในประเทศอิตาลีตั้งแต่ช่วงปลายยุค 1980 ถึงต้นยุค 1990

ในปัจจุบันแผนการเล่น 4–4–2 ได้ถูกพัฒนามาอยู่ในรูปแบบของแผนการเล่น 4–2–3–1[11] ในปี ค.ศ. 2010 ไม่มีทีมแชมป์ในลีกของประเทศสเปน, ประเทศอังกฤษ และประเทศอิตาลี หรือแม้แต่ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ทีมใด ที่ใช้แผนการเล่นนี้ หลังจากการที่ทีมชาติอังกฤษได้แพ้ให้กับเยอรมนีที่ใช้แผนการเล่น 4–2–3–1 ในฟุตบอลโลก 2010 ฟาบีโอ กาเปลโล ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษที่เคยประสบความสำเร็จกับแผนการเล่น 4–4–2 เมื่อคุมทีมเอซี มิลาน ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่าแผนการเล่น 4–4–2 ได้ล้าสมัยไปแล้ว[12]

อย่างไรก็ดี แผนการเล่น 4–4–2 ยังคงเป็นแผนกานเล่นที่คุมพื้นที่ด้านกว้างของสนามทั้งหมดจากผู้เล่นที่มากกว่าได้ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการนำกลับมาใช้อีกครั้งดังเห็นได้จาก อัตเลติโกเดมาดริด ของ ดิเอโก ซิเมโอเน, เรอัลมาดริด ของ การ์โล อันเชลอตตี และ เลสเตอร์ซิตี ของ เกลาดีโอ รานีเอรี[13][14]

4–4–1–1

เป็นแผนการเล่นในอีกรูปแบบหนึ่งของแผนการเล่น 4–4–2 ที่มีกองหน้า 1 คนเป็นกองหน้าตัวต่ำ โดยยืนอยู่ด้านหลังของกองหน้า.[15] โดยกองหน้าคนที่สองจะคอยสร้างสรรค์เกม และวิ่งไปยังตำแหน่งกองกลางเพื่อเก็บบอล ก่อนที่จะส่งบอลให้เพื่อหรือเลี้ยงบอลไปด้านหน้า[15] การตีความของแผนการเล่น 4–4–1–1 อาจจะสับสนเล็กน้อย โดยกองหน้าคนที่สองจะเล่นในตำแหน่งกองหน้า ไม่ใช่กองกลาง โดยแผนการเล่นนี้เคยเป็นที่ประสบความสำเร็จกับ ฟูลัม โดยใช้ โซลตัน เกรา ยืนอยู่ด้านหลัง บ็อบบี ซาโมรา ซึ่งทำให้พวกเขาเขาถึงรอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีก 2010

4–3–3

แผนการเล่น 4–3–3 ถูกพัฒนามากจากแผนการเล่น 4–4–2 และได้นำมาใช้โดยทีมชาติบราซิลในฟุตบอลโลก 1962 แม้ว่าแผนการเล่นนี้เคยใช้โดยทีมชาติอุรุกวันในฟุตบอลโลก 1950 และ 1954 ผู้เล่นกองกลางที่เพิ่มขึ้นมาจะมีผู้เล่นเกมรับที่แข็งแกร่ง ส่วนผู้เล่นที่เหลือจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป โดยกองกลางทั้ง 3 คน จะเล่นแบบแคบใกล้กันเมื่อต้องป้องกัน และขยายไปทางด้านกว้างเมื่อต้นการส่งบอลและเปิดเกมรุก ส่วนกองหน้าทั้ง 3 คนจะยืนตำแหน่งกระจายอยู่ทุกด้านของสนามเพื่อการโจมตีที่หลากหลาย และยังมีฟุลแบ็กคอยช่วยสนับสนุนการทำเกมรุก เหมือนกันกับแผนการเล่น 4–4–2 เมื่อนำแผนการเล่นนี้มาใช้ในช่วงต้นเกม จะทำให้ทีมสามารถครองบอลได้ทั่วสนาม หรือสามารถเปลี่ยนจากแผนการเล่น 4–4–2 ด้วยการเพิ่มกองหน้าเข้าไป 1 คนแทนกองกลาง ซึ่งแผนนี้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการเล่นต่อบอลสั้นและการเน้นการครองบอล

แผนการเล่น 4–3–3 ได้มีกองกลางตัวรับ 1 คน (ส่วนใหญ่จะสวมเสื้อหมายเลข 4 หรือ 6) และกองกลางตัวรุก 2 คน (ส่วนใหญ่จะสวมเสื้อหมายเลข 8 และ 10) เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศอิตาลี, ประเทศอาร์เจนตินา และประเทศอุรุกวัย ในช่วยยุค 1960 และ 1970 โดยในอิตาลีนั้น รูปแบบของแผนการเล่น 4–3–3 มาจากการปรับใช้แผนการเล่นแบบดับเบิลยูเอ้ม โดยเปลี่ยนจากวิงฮาล์ฟ 1 คนเป็นสวีปเปอร์ ส่วนในอาร์เจนตินาและอุรุกวัย พัฒนามาจาก 2–3–5 ซึ่งคงไว้ในตำแหน่งเซ็นเตอร์ฮาล์ฟตัวรุก ส่วนการแข่งขันระดับทีมชาติที่เป็นชื่อเสียงคือทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1974 และ 1978 แม้ว่าทีมจะไม่ได้แชมป์ก็ตาม

ในฟุตบอลสโมสร แผนการเล่นนี้มีชื่อเสียงจากอายักซ์ ในต้นยุค 1970 ซึ่งได้แชมป์ยูโรเปียนคัพ 3 สมัย กับโยฮัน ไกรฟฟ์ และ เดเน็ก เซมัน และฟอคเคีย ในอิตาลี ช่วงปลายยุค 1980 ที่มีการใช้แผนการเล่นนี้

ปัจจุบันหลายทีมใช้แผนการเล่นนี้และใช้กองกลางตัวรับ ที่แข็งแกร่ง เช่น โปร์ตู และ เชลซี ซึ่งคุมทีมโดย โชเซ มูรีนโย และอย่างยิ่งกับบาร์เซโลนาที่ได้ถึง 6 แชมป์ในฤดูกาลเดียวภายใต้การคุมทีมของ เปป กวาร์ดิโอลา

4–3–1–2

เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ 4–3–3 ซึ่งจะมีกองกลางตัวรุกตัวกลาง แผนการเล่นนี้จะเน้นไปที่การเคลื่อนที่ของกองกลางตัวรุกที่อยู่ด้านหลังกองหน้า ซึ่งแผนการเล่นนี้จะเน้นการเล่นด้านแคบหรือด้านในมากกว่า 4–3–3 และให้กองกลางตัวรุกสร้างโอกาสเพิ่มมากขึ้น แผนนี้เคยประสบความสำเร็จกับโปร์ตู ที่คุมทีมโดยโชเซ มูรีนโย ทำให้ทีมได้แชมป์ยูฟ่าคัพ 2002–03 และ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2003–04 เช่นเดียวกันกับการ์โล อันเชลอตตี สำหรับแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2002–03 และ เซเรียอา 2003–04 กับมิลาน และ พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2009–10 กับเชลซี โดยแผนการเล่นนี้ มัสซีมีเลียโน อัลเลกรี ได้นำมาปรับใช้กับมิลาน และทำให้ได้แชมป์เซเรียอาในฤดูกาล 2010–11

4–1–2–3

เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ 4–3–3 ซึ่งจะมีกองกลางตัวรับตัวกลาง และมีกองกลางตัวกลาง 2 คน[16]

4–4–2 ไดมอนด์ หรือ 4–1–2–1–2

แผนการเล่น 4–4–2 ไดมอนด์ (หรือ 4–1–2–1–2) มีกองกลางที่ยืนคุมพื้นที่ตรงกลางได้ดี ส่วนด้านกว้างนั้นจะใช้ฟุลแบ็กคอยเติมเกมแทน ส่วนกองกลางตัวรับอาจจะใช้กองกลางตัวลึกแทน แต่หน้าที่สำคัญยังคงเป็นการตัดบอลก่อนจะถึงกองหลัง[17] กองกลางตัวรุกตัวกลางเป็นผู้เล่นที่คอยสร้างสรรค์เกม, คอยเก็บบอล และเปิดบอลไปด้านข้างให้ฟุลแบ็กหรือเล่นบอลกับ 2 กองหน้า[18] เมื่อทีมเสียการครองบอล กองกลางทั้ง 4 คนจะถอยลงมาช่วยเกมรับ ส่วนกองหน้าทั้ง 2 คนจะยืนรออยู่ด้านหน้าเพื่อรอเล่นเกมสวนกลับ[18] แผนนี้เป็นแผนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากกับเอซี มิลาน ซึ่งคุมทีมโดยการ์โล อันเชลอตตี โดยได้แชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2002–03 และรองชนะเลิศในฤดูกาล 2004–05 ซึ่งในขณะนั้นมิลานมีกองกลางตัวกลางที่มีความสามารถสูงอย่าง อันเดรอา ปีร์โล และมีผู้เล่นตัวรุกอย่าง รุย กอชตา ซึ่งต่อมาเป็น กาก้า[19] โดยแผนการเล่นนี้มิลานได้เลิกใช้นับตั้งแต่การย้ายออกจากทีมของ อันดรีย์ เชฟเชนโค ในปี ค.ศ. 2006 แผนการเล่นนี้ทำให้เกิดแผนการเล่นแบบต้นคริสต์มาสขึ้น

4–1–3–2

แผนการเล่น 4–1–3–2 เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ 4–1–2–1–2 โดยมีกองกลางตัวรับตัวกลางที่มีความสามารถสูง ช่วยเหลือผู้เล่นกองกลางอีก 3 คนคอยสร้างเกมรุกไปด้านหน้าอย่างเต็มที่ และคอยส่งกลับคืนหลังหากทีมกำลังเสียการครองบอลจากการโต้กลับ โดยแผนการเล่นนี้จะต้องมีกองหน้าที่แข็งแกร่งเพื่อการโจมตีที่มีประสิทธิภาพ หากฝ่ายตรงข้ามมีปีกที่รวดเร็วและส่งบอลได้ดี สามารถใช้แผนนี้ด้วยการให้กองกลางทั้ง 3 คนช่วยวิ่งกลับมาช่วยเกมรับได้ โดย วาเลรี ลอบานอฟสกี เคยใช้แผนการเล่นนี้กับ ดีนาโมคียิว โดยได้แชมป์ยุโรป 3 ฤดูกาลติดต่อกัน อีกทั้งยังเห็นได้จาก ทีมชาติอังกฤษ ในฟุตบอลโลก 1966 โดย อัลฟ์ แรมซีย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: แผนการเล่น_(ฟุตบอล) http://www.acmilan.com/NewsDetail.aspx?idNews=8367... http://sportsillustrated.cnn.com/2010/soccer/world... http://www.empireofsoccer.com/nycfc-comfortable-in... http://www.englandfootballonline.com/TeamUnif/Unif... http://www.nscaa.com/subpages/20060331154402100.ph... http://www.nscaa.com/subpages/20060331160611105.ph... http://www.skysports.com/football/news/11095/10107... http://tomkinstimes.com/2014/01/tactics-for-beginn... http://www.uefa.com/magazine/news/Kind=128/newsId=... http://fifaworldcup.yahoo.com/06/en/p/cc/hun/sebes...