ประวัติ ของ แผนภาพเวนน์

แผนภาพเวนน์นำเสนอครั้งแรกในปี 1880 โดยจอห์น เวนน์ (1834–1923) ในเอกสารเรื่องOn the Diagrammatic and Mechanical Representation of Propositions and Reasonings ใน "นิตยสารเชิงปรัชญาและวิทยาศาสตร์" เกี่ยวกับวิธีต่างๆสำหรับแสดงประพจน์โดยแผนภาพ[1] ประโยชน์ของแผนภาพในวิชาคณิตตรรกศาสตร์ ที่ Ruskey และ M. Weston กล่าวไว้ "ไม่ใช่ว่าจะศึกษาประวัติง่าย แต่แผนภาพที่มักกล่าวถึงเวนน์ ที่จริงแล้ว เกินก่อนหน้าเวนน์นานมากอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามแผนภาพเหล่านี้ควรจะใช้ชื่อเวนน์ เพราะเขาได้สำรวจและนำประโยชน์มาใช้อย่างครอบคลุม และเป็นคนแรกที่ทำแผนภาพเวนน์เป็นกรณีทั่วไป"[2]

เวนน์ไม่ได้ใช้ชื่อ"แผนภาพเวนน์" และเรียกการคิดค้นนี้ว่า "วงกลมออยเลอร์ (Eulerian Circles)"[1] เช่นเขาเขียนเปิดบทความเมื่อปี 1880 ว่า "Schemes of diagrammatic representation have been so familiarly introduced into logical treatises during the last century or so, that many readers, even those who have made no professional study of logic, may be supposed to be acquainted with the general nature and object of such devices. Of these schemes one only, viz. that commonly called 'Eulerian circles,' has met with any general acceptance..."[3] คนแรกที่ใช้ชื่อ"แผนภาพเวนน์" คือ แคลเรนซ์ เออร์วิง ลูวิส เมื่อปี 1918 ในหนังสือ"A Survey of Symbolic Logic"[2]

แผนภาพเวนน์คล้ายกับแผนภาพออยเลอร์ ที่เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ (1708–1783) คิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18[note 1] M. E. Baron ให้ข้อสังเกตว่า กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ (1646–1716) ได้ทำแผนภาพคล้ายๆ กับแผนภาพออยเลอร์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่แผนภาพจำนวนมากไม่ได้เผยแพร่ เธอได้สังเกตแผนภาพคล้ายของออย์เลอร์ของ Ramon Llull ในคริสต์ศตวรรษที่ 13[4]

ใกล้เคียง

แผนภาพของแฮร์ตสปรอง–รัสเซิล แผนภาพเวนน์ แผนภาพสถานะ แผนภาพ แผนภาพโวโรนอย แผนภาพวิวัฒนาการแบบแคลดิสติกส์ของสายพันธุ์มนุษย์ แผนภาพกระแสข้อมูล แผนภาพอ็อยเลอร์ แผนภาพความคิด แผนภาพเส้นเวลาจากบิกแบงถึงฮีทเดธ