รายละเอียดของแผ่นดินไหว ของ แผ่นดินไหวในชูเอ็ตสึ_จังหวัดนีงาตะ_พ.ศ._2547

การไหวครั้งแรกสร้างแรงสั่นสะเทือนในพื้นที่ชูเอ็ตสึในจังหวัดนีงาตะ อ่านค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวในมาตราชินโดะที่เมืองคาวางูจิ จังหวัดนีงาตะ[2] ได้ที่ระดับ 7 และอ่านขนาดของแผ่นดินไหวได้ที่แมกนิจูด 6.6[1] (เพื่อการเปรียบเทียบ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงที่ทำลายพื้นที่หลายส่วนในโคเบะ วัดค่าความรุนแรงตามาตราชินโดะได้ระดับ 7 และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูด 7.3[4]) แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 15.8 กิโลเมตร JMA ได้ให้พิกัดของแผ่นดินไหวที่ 37°18′N 138°48′E / 37.3°N 138.8°E / 37.3; 138.8พิกัดภูมิศาสตร์: 37°18′N 138°48′E / 37.3°N 138.8°E / 37.3; 138.8

การไหวครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:11[5] (16 นาทีหลังจากครั้งแรก) ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ความลึกน้อยกว่าครั้งแรกมาก วัดความรุนแรงได้ชินโดะ 6+ และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูก 5.9 ครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:34 ระดับความรุนแรงวัดได้ที่ชินโดะ 6- เวลา 19:45[6] เกิดแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 6- ขึ้นอีกครั้ง และยังมีแผ่นดินไหวย่อยที่รุนแรงน้อยกว่าเกิดขึ้นเป็นระยะในภูมิภาค ใน 66 ชั่วโมงแรก มีแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 5- หรือสูงกว่าเกิดขึ้น 15 ครั้งในภูมิภาคชูเอ็ตสึ[7]

ตามรายงานของสื่อ Geographical Survey Institute (GSI) ในสังกัดรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประเมินขึ้นต้นว่า รอยเลื่อนที่ยาว 22 กิโลเมตร และกว้าง 17 กิโลเมตร ได้เคลื่อนที่ไป 1.4 เมตร

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในญี่ปุ่นนับตั้งแต่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2538

แผ่นดินไหวตาม

จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ลึก 13 กิโลเมตร แผ่นดินไหวตาม (อาฟเตอร์ช็อก) ที่เกิดขึ้นตามมานั้นก็ลึกประมาณ 20 กิโลเมตรเช่นกัน หลังเกิดแผ่นดินไหวหลักก็ยังมีแผ่นดินไหวตามขนาดใหญ่เกิดขึ้นตามมา ในพื้นที่จังหวัดนีงาตะเกิดแผ่นดินไหวตามรุนแรงระดับ 6 ถึงสามครั้ง (6- หนึ่งครั้ง 6+ สองครั้ง) แผ่นดินไหวตามเหล่านี้เกิดขึ้น 2 ชั่วโมงหลังเกิดแผ่นดินไหวหลัก มีการบันทึกแผ่นดินไหวที่มนุษย์สามารถรู้สึกได้ถึง 600 ครั้งภายในวันที่ 31 ตุลาคม และ 825 ครั้งภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน หลังจากวันที่ 25 ตุลาคม ทีมวิจัยร่วมของ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์โลก ได้ติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหวชั่วคราวจำนวน 149 เครื่อง เครื่องวัดแผ่นดินไหวแบบ GPS 17 เครื่อง และอุปกรณ์สังเกตการณ์แบบแม่เหล็กไฟฟ้า 9 เครื่อง ซึ่งสามารถใช้ในการบันทึกกิจกรรมการเกิดแผ่นดินไหวตาม และวิเคราะห์โครงสร้างใต้ผิวดิน [8] อุปกรณ์เหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง จะเห็นได้ว่าสามารถบันทึกกิจกรรมแผ่นดินไหวตามได้มากกว่าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงเป็นสองเท่า [9] ในปี ค.ศ. 2011 แม้ผ่านไป 7 ปีนับแต่แผ่นดินไหวใหญ่ก็ยังมีอาฟเตอร์ช็อกขนาดเล็กถึงกลางเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว [10]

ใกล้เคียง

แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 แผ่นดินไหว แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2024 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995 แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ ค.ศ. 2022 แผ่นดินไหวใน พ.ศ. 2561 แผ่นดินไหวใน พ.ศ. 2559 แผ่นดินไหวในประเทศตุรกีและประเทศซีเรีย พ.ศ. 2566 แผ่นดินไหวในชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ พ.ศ. 2547

แหล่งที่มา

WikiPedia: แผ่นดินไหวในชูเอ็ตสึ_จังหวัดนีงาตะ_พ.ศ._2547 http://isc-mirror.iris.washington.edu/cgi-bin/Form... http://isc-mirror.iris.washington.edu/cgi-bin/web-... http://uli.nli.org.il/F/?func=find-b&local_base=NL... http://www.ffpri.affrc.go.jp/labs/etj/wstr/pdf/200... http://www.data.jma.go.jp/svd/eqdb/data/shindo/Eve... http://www.data.jma.go.jp/svd/eqdb/data/shindo/Eve... http://www.data.jma.go.jp/svd/eqdb/data/shindo/Eve... http://www.data.jma.go.jp/svd/eqdb/data/shindo/Eve... http://www.data.jma.go.jp/svd/eqev/data/gaikyo/kei... http://www.jma.go.jp/jma/press/0410/24a/name041024...