ธรณีวิทยา ของ แผ่นโอค็อตสค์

ขอบเขตระหว่างแผ่นโอค็อตสต์กับแผ่นอามูร์นั้นอาจมึส่วนรับผิดชอบต่อแผ่นดินไหวรุนแรงหลายครั้งที่เกิดขึ้นในทะเลญี่ปุ่น รวมไปถึงที่เกาะซาฮาลินด้วย เช่น แผ่นดินไหวขนาด 7.1 MW (7.5 MS ตามข้อมูลจากแหล่งอื่น) ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ทางตอนเหนือของเกาะซาฮาลิน[5][6][7] และยังมีแผ่นดินไหวภายในแผ่นเปลือกโลกที่เป็นที่รู้จักอีกหลายครั้ง เช่น แผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น พ.ศ. 2526 และแผ่นดินไหวที่ฮกไกโด พ.ศ. 2536 ซึ่งกระตุ้นให้เกิดสึนามิในทะเลญี่ปุ่น

ขอบเขตระหว่างแผ่นโอค็อตสค์กับแผ่นแปซิฟิกนั้นคือเขตมุดตัว ซึ่งแผ่นแปซิฟิกนั้นมุดตัวลงใต้แผ่นโอค็อตสค์ แผ่นดินไหวเมกะทรัสต์รุนแรงหลายครั้งเกิดขึ้นที่นี่ บางครั้งเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วย แผ่นดินไหวที่คัมชัตคา พ.ศ. 2280 (ประมาณขนาด 9.0-9.3) และ พ.ศ. 2495 (ขนาด 9.0) บางแผ่นดินไหวเมกะทรัสต์ยังเกิดขึ้นใกล้กับหมู่เกาะคูริลด้วย[8][9] ที่ฮกไกโดแผ่นดินไหวขนาด 8.3 ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2546[10][11] และแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 ขนาด 9.0 บริเวณชายฝั่งเกาะฮนชู[12]

การวัดด้วยจีพีเอสและการศึกษาอื่นแสดงให้เห็นว่า แผ่นโอค็อสตค์นั้นหมุนตามเข็มนาฬิกาอย่างช้า ๆ แบบจำลองชี้ว่าการหมุนนั้นมีอัตรา 0.2 องศา/ล้านปี[13]

ใกล้เคียง

แผ่นโอค็อตสค์ แผ่นโกโกส แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 แผ่นดินไหว แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2024 แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ ค.ศ. 2022 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995 แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 แผ่นดินไหวใน พ.ศ. 2561 แผ่นดินไหวใน พ.ศ. 2559