แฟลเจลลัม
แฟลเจลลัม

แฟลเจลลัม

แฟลกเจลลัม (flagellum; /fləˈɛləm/; รูปพหูพจน์: แฟลกเจลลา; flagella) เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตัวเซลล์มีลักษณะคล้ายแส้ พบในแบคทีเรียและเซลล์ยูคารีโอตบางชนิดซึ่งเรียกว่าพวกแฟลกเจลเลต หน้าที่หลักของแฟลกเจลลาคือการเคลื่อนที่ของเซลล์ แต่ก็พบเป็นออร์แกเนลล์รับรู้เช่นกัน ด้วยความไวต่อเคมีบางชนิดหรือต่ออุณหภูมินอกเซลล์[1][2][3][4] โครงสร้างคล้ายกันในพวกอาร์เคีย มีหน้าที่คล้ายกันแต่มีโครงสร้างที่ต่างกัน มีชื่อเรียกว่าอาร์เคียลลัม (archaellum)[5]คำว่า แฟลกเจลลัม มาจากภาษาละติน แปลว่าแส้ตัวอย่างของแบคทีเรียแฟลกเจลเลตคือ แบคทีเรียก่อฝีหนอง (ulcer) ชื่อ Helicobacter pylori ซึ่งใช้แฟลกเจลลาของมันในการผลักตัวเองไปตามเมือกหุ้มผนังจนไปถึงเอพิเธเลียมของกระเพาะ[6] อีกตัวอย่างหนึ่งของเซลล์แฟลกเจลเลตคือเซลล์อสุจิของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งใช้แฟลกเจลล้มเส้นเดียวของมันในการว่ายไปตามท่อระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง[7] แฟลกเจลลาในยูคารีโอตนั้นมีโครงสร้างเหมือนกันกับซิเลีย ถึงแม้จะมีการแยกมันออกจากกันด้วยแง่มุมของความยาวและการใช้งาน[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แฟลเจลลัม http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1142604 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1540183 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1618917 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2112827 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4307647 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11584108 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11743094 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12624192 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15889148