วงจรชีวิต ของ แมงกะพรุน

วงจรชีวิตของแมงกะพรุน

หลังจากผสมพันธุ์แล้ว แมงกะพรุนเมื่อได้ปฏิสนธิแล้ว หลังจากนั้นตัวอ่อนจะพัฒนาขึ้นมา มีลักษณะเหมือนขนหรือหนอนตัวเล็ก ๆ มีขนละเอียดรอบตัว เรียกว่า "ซิเลีย" จากนั้นจะพัฒนาไปเป็น "พลานูลา" จะคืบคลานไปหาที่ ๆ เหมาะสมเพื่อเกาะและเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น "โพลิป" ซึ่งมีสันฐานเหมือนดอกไม้ทะเลขนาดจิ๋ว คือ มีลำตัวที่เหมือนกับแจกันเกาะอยู่กับวัสดุต่าง ๆ ลำตัวหงายขึ้น โดยมีหนวดอยู่รอบปากด้านบน ซึ่งแตกต่างไปจากแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เมื่อโพลิปได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และจำเพาะก็จะเกิดการแตกหน่อซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ซึ่งคือ แมงกะพรุนขนาดเล็กที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ จะหลุดและลอยไปตามกระแสน้ำ ที่เรียกว่า "อีฟีรา" หรือ "เมดูซา" มีลักษณะเหมือนแมงกะพรุนตัวเต็มวัย คือ ลำตัวคว่ำลง หนวดอยู่ด้านล่าง หากแมงกะพรุนในขั้นนี้ได้รับอาหารที่พอเพียง อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะเจริญเติบโตกลายเป็นแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ต่อไปก็จะเข้าสู่วงจรเหล่านี้ใหม่อีกครั้ง[1]

นอกจากนี้แล้ว จากการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียพบว่า แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีการนอนหลับพักผ่อนเช่นเดียวกับสัตว์ชั้นสูงหรือสัตว์ที่มีโคร่งร่างซับซ้อนชนิดอื่น ๆ ด้วย ทั้งที่เป็นสัตว์ที่ไม่มีสมองหรือระบบประสาทส่วนกลาง แต่ทว่ามีการพัฒนาของเซลล์ประสาท[4]

ใกล้เคียง

แมงกะพรุน แมงกะพรุนว่ายน้ำตอนกลางคืนไม่ได้หรอกนะ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส แมงกะพรุนไฟ แมงกะพรุนหนัง แมงกะพรุนอิรุคันจิ แมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนสาหร่าย แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสอินโด-แปซิฟิก แมงกะพรุนโนะมุระ

แหล่งที่มา

WikiPedia: แมงกะพรุน http://www.healthcarethai.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E... http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic... http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/tpbs/2014-06-17/... http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/nature%2... http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=200... http://www.oocities.org/undersea_thailand/A.htm http://www.lib.ru.ac.th/journal/jellyfish.html http://www.fisheries.go.th/marine/KnowladgeCenter/... http://www.glaucus.org.uk/Jelly.htm https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Jellyf...