มุมมองศาสนาและสงคราม ของ แมฮ์มูดแห่งแฆซนี

ในรัชสมัยของแมฮ์มูดแห่งแฆซนี ภูมิภาคนี้แยกออกจากเขตอิทธิพลของซอมอนีด พระองค์ได้รับตำแหน่งสุลต่านเพื่อยอมรับการเป็นเอกราช โดยพระองค์ยอมรับให้อับบาซียะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์พอเป็นพิธี

หลังได้รับการรับรองจากรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ใน ค.ศ. 999 พระองค์ให้คำปฏิญาณ ญิฮาด และรุกรานอินเดียทุกปี[17] ใน ค.ศ. 1005 แมฮ์มูดนำการทัพหลายครั้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้นับถืออิสมาอีลียะฮ์แห่งมุลตานถูกสังหารหมู่[18]

หลังภารกิจญิฮาดต่อคนนอกศาสนาแห่งอินเดีย แมฮ์มูด แฆซนีไม่เพียงแต่ทำลายโสมนาถมนเทียรและปล้นทรัพย์สมบัติเท่านั้น แต่ยังฆ่าผู้ศรัทธาทุกคนในเมือง พระองค์ยังทำสิ่งเดียวกันกับผู้ศรัทธาหญิง ด้วยการฆ่าหรือลักพาตัวเพื่อไปขายในตลาดทาสที่อัฟกานิสถานในภายหลัง[19]

แมฮ์มูดใช้ทรัพย์สินที่ได้มาจากการปล้นมาใช้เป็นเงินทุนแก่กองทัพ ซึ่งรวมทหารรับจ้างด้วย ทหารอินเดียที่ Romila Thapar คาดการณ์ว่าเป็นชาวฮินดู เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของกองทัพพร้อมผู้บังคับบัญชาที่มีชื่อว่า sipahsalar-i-Hinduwan และอาศัยอยู่ในย่านของตนเองที่กัซนี โดยยังคงนับถือศาสนาของตนเอง ทหารอินเดียที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของ Suvendhray ยังคงจงรักษ์ภักดีต่อแมฮ์มูด มีการใช้พวกเขาในการปราบกบฏเติร์ก โดยบัยฮากีรายงานว่ามีการให้คำสั่งแก่ชาวฮินดูนามว่า Tilak [20]

Mohammad Habib นักประวัติศาสตร์อินเดีย ระบุว่า ในรัชสมัยแมฮ์มูดแห่งแฆซนี ไม่มีการจัดเก็บภาษีญิซยะฮ์แก่ "ผู้มิใช่มุสลิม" หรือการกล่าวถึง "การบังคับเข้ารีต" ใด ๆ:

การส่งทหารไปนอกดินแดนของพระองค์ (แมฮ์มูด) ต่ออินเดียไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยศาสนา แต่ด้วยความรักในการปล้นชิง[21]

เอ. วี. วิลเลียมส์ แจ็กสัน ศาสตราจารย์กลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียนในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เขียนไว้ในหนังสือ History of India ของเขาเองว่า "แมฮ์มูดสาบานว่าพระองค์จะก่อสงครามศักดิ์สิทธิ์กับพวกนอกศาสนาในฮินดูสถานทุกปี"[22] ในช่วงปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระองค์ เหรียญกษาปณ์ของแมฮ์มูดจากลาฮอร์ระบุตัวพระองค์เป็น "Mahmud but-shikan" (แมฮ์มูดผู้ทำลายรูปปั้น)[23]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แมฮ์มูดแห่งแฆซนี https://www.archnet.org/sites/19882 https://books.google.com/books?id=O-vVAAAAMAAJ https://www.britannica.com/biography/Mahmud-king-o... https://www.britannica.com/eb/article-9050135/Mahm... https://www.britannica.com/eb/article-9036676/Ghaz... https://www.britannica.com/eb/article-14003/Centra... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Mahmud... https://web.archive.org/web/20010207185815/http://... https://web.archive.org/web/20070929125948/http://... https://web.archive.org/web/20090803221351/http://...