แม่ซื้อ

แม่ซื้อ หมายถึง เทวดาหรือผีที่คอยดูแลรักษาเด็กทารก[1] เชื่อว่าเด็กทุกคนที่เกิดมาต้องมีแม่ซื้อประจำวันเกิดคอยดูแล เพื่อปกปักรักษาไม่ให้เด็กเจ็บไข้ได้ป่วย ส่วนมากเป็นหญิง เชื่อว่ามี 7 ตนอยู่ประจำวันได้แก่ในภาคอีสานหรือภาคกลางก็ยังจัดทำพิธีแม่ซื้อ หรือพิธีการนำเด็กทารกมาใส่กระด้งร่อน เพื่อบอกกล่าวแก่ แม่ซื้อว่ามีคนรับลูกไปเลี้ยงแล้ว โดยกล่าวให้ทราบว่าว่า“สามวันลูกผี สี่วันลูกคน ลูกของใคร ใครเอาไปเน้อ”ส่วนในภาคเหนือ “แม่ซื้อ” จะหมายถึงเทวดาที่คุ้มครองเด็กแรกเกิดหรือเป็นเทวดาประจำตัวทารก ซึ่งก็จะมี ๗ นาง แต่ละนางก็จะมีชื่อเรียกและการแต่งกายคล้ายกับทางภาคกลางที่กล่าวข้างต้นสำหรับภาคใต้ “แม่ซื้อ” เป็นสิ่งเร้นลับที่อยู่ในความเชื่อของชาวบ้าน ไม่มีตัวตน จะมีฐานะเป็นเทวดาหรือภูตผีก็ไม่ปรากฏชัด ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ ๑๒ ขวบ มีด้วยกัน ๔ ตนเป็นผู้หญิงชื่อ ผุด ผัด พัดและผลแต่ในบททำขวัญเด็กของนายพุ่ม คงอิศโร หมอทำขวัญจังหวัดสงขลา กล่าวว่าแม่ซื้อมีทั้งชายและหญิงดังบททำขวัญที่ว่า “แม่ซื้อสี่คน ชื่อเสียงชอบกลทั้งหญิงทั้งชายเพ็ดทูล เพ็ดพล่าน เพ็ดทนเพ็ดทาน อาจารย์กดหมาย เรียกว่าปู่ตา รักษาร่างกาย แม่ซื้อผู้ชาย เร่งคลายออกมา นางกุมารี นางเอื้อย นางอี นางนาฏสุนทรี ที่เฝ้ารักษา เชิญมาแม่มา บูชาส่าหรี” ส่วนในบททำแม่ซื้อของนายปาน เพชรสุวรรณ จังหวัดนครศรีธรรมราชบอกว่า “แม่ซื้อ” เดิมเป็นเทพธิดา พระอิศวรมีบัญชาให้ “อันตรธานหายกลายเป็นแม่ซื้อ ลงมารักษาทารก” ตามความเชื่อ แม้ว่าแม่ซื้อจะถือว่าเป็นพี่เลี้ยงทารกก็จริงอยู่ แต่บางครั้งก็ให้โทษได้เช่นกัน มีการแปลงเพศพันธุ์เป็นสิ่งต่างๆหลอกหลอนให้ทารกตกใจ หรือเจ็บป่วยได้ ดังนั้น เพื่อให้ทารกหายเป็นปกติ จึงมีการจัดพิธี “ทำแม่ซื้อ”หรือ “เสียแม่ซื้อ”ขึ้น บางครอบครัวแม้ทารกจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็ยังทำพิธีดังกล่าวอยู่ดี ทั้งนี้ ด้วยเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลแก่เด็ก สำหรับพิธี”ทำแม่ซื้อ” หรือ “เสียแม่ซื้อ”นั้นหมายถึงพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กทารกหายจากอาการสะดุ้งผวา หรือการเจ็บไข้ได้ป่วย และได้รับการดูแลรักษาด้วยดีจากแม่ซื้อการทำพิธีมักจะทำในวันเกิดของเด็ก หากเป็นวันข้างขึ้นก็ให้ใช้วันคี่ ข้างแรมให้ใช้วันคู่