แลพิสแลซูลี
แลพิสแลซูลี

แลพิสแลซูลี

แลพิสแลซูลี[a] (อังกฤษ: lapis lazuli) คือ รัตนชาติกึ่งสูงค่า (semi-precious stone) ถือว่าเป็นอัญมณีที่ค่อนข้างหายาก ถือเป็นของมีค่ามาตั้งแต่โบราณเพราะมีสีน้ำเงินสดแลพิสแลซูลีขุดกันที่จังหวัดบาดัคห์ชานในประเทศอัฟกานิสถานมากว่า 6,000 ปี และค้ามาตั้งแต่โบราณจนปรากฏในเครื่องประดับที่พบในอียิปต์โบราณก่อนยุคราชวงศ์ นอกจากนี้ ยังพบลูกปัดแลพิสแลซูลีในที่ฝังศพที่ Mehrgarh คอเคซัส หรือแม้แต่ที่ไกลไปจากอัฟกานิสถานในมอริเตเนีย[1]แลพิสแลซูลีเป็นหินที่ขัดแล้วจะเป็นเงาขึ้น นำไปใช้เป็นเครื่องประดับ งานแกะสลัก กล่อง งานโมเสก เครื่องตกแต่ง และ แจกัน ในด้านสถาปัตยกรรมก็ใช้ตกแต่งประดับเสาของวังหรือศาสนสถานนอกจากใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งแล้ว แลพิสแลซูลียังใช้ในการทำรงควัตถุสีน้ำเงินเข้ม (ultramarine) สำหรับสีฝุ่น และบางครั้งก็ใช้สำหรับสีน้ำมันแต่น้อย การใช้ทำเป็นส่วนผสมสำหรับสีน้ำมันหมดความนิยมลงไปเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีสารเคมีที่สามารถทำสีที่ต้องการได้

แลพิสแลซูลี

ค่าความแข็ง 5 - 5.5
ความวาว หมอง
ประเภท หิน
โครงสร้างผลึก None, as lapis is a rock. Lazurite, the main constituent, frequently occurs as dodecahedra
คุณสมบัติอื่น หินชนิดที่มีองค์ประกอบที่ต่างออกไปทำให้มีคุณลักษณะแตกต่างจากที่บรรยายข้างบนออกไป
สี สีน้ำเงิน ประด้วยจุด calcite ขาว และ pyrite ออกทองเหลือง
ดรรชนีหักเห 1.5
รอยแตก Uneven-Conchoidal
รูปแบบผลึก เกาะตัวแน่น มีขนาดใหญ่
สูตรเคมี แร่ธาตุผสม
สีผงละเอียด ฟ้าอ่อน/น้ำเงินอ่อน
แนวแตกเรียบ ไม่มี
ความถ่วงจำเพาะ 2.7-2.9