การเพาะเลี้ยง ของ แวนด้า

แวนด้าเป็นหนึ่งในห้าของสกุลกล้วยไม้ที่มีการปลูกในสวนกล้วยไม้มากที่สุด เพราะว่ามันมีดอกที่มีงดงามมากที่สุดในบรรดาพืชวงศ์กล้วยไม้ทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง] แวนด้ามีส่วนสนับสนุนอย่างมากในงานของนักผสมพันธุ์พืช ในการสร้างสรรค์ไม้ดอกเพื่อส่งตลาดไม้ตัดดอกแวนด้าสายพันธุ์Vanda coerulea(ฟ้ามุ่ย)เป็นหนึ่งในกล้วยไม้ไม่กี่ชนิดที่ให้ดอกสีน้ำเงิน(จริงๆแล้วเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน) ซึ่งได้สีที่น่าพึงพอใจมากในการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและการผสมข้ามสายพันธุ์

กล้วยไม้สีน้ำเงินมักจะหายากในกล้วยไม้ มีเพียงกล้วยไม้พันธุ์ Thelymitra crinita ในสายพันธุ์ terrestrial เท่านั้นจากออสเตรเลียเท่านั้น ที่ให้"สีน้ำเงิน" จริงๆในขณะที่พันธุ์ Aganisia cyanea สายพันธุ์ที่ขึ้นในที่ลุ่มทางตอนเหนือและตอนใต้ของทวีปอเมริกา เป็นพันธุ์ที่เพาะเลี้ยงยาก แต่ให้ดอกสีน้ำเงินเมทัลลิค ทั้งสองสายพันธุ์นี้เหมือนแวนด้ามาก ซึ่งกลีบดอกมีสีม่วงอมน้ำเงินแต้มอยู่ในกลีบดอกอีกด้วย

แวนด้าพันธุ์Vanda dearei เป็นต้นหลักที่ให้สีเหลืองในการผสมพันธุ์แวนด้า สายพันธุ์Vanda Miss Joaquim เป็นแวนด้าดิน ซึ่งผสมพันธุ์ตามธรรมชาติกับกล้วยไม้ดิน(ที่มีใบทรงกระบอก) และเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์

แวนด้าไม่สามารถปลูกโดยการขยายหัว(เทียม) แต่ปลูกด้วยการแยกหน่อ ใบทนแล้งได้ และบางพันธุ์มีใบกลม เป็นทรงกระบอก สายพันธุ์ส่วนใหญ่ของสกุลแวนด้าเกือบจะทุกสายพันธุ์ เป็นพืชอิงอาศัยที่มีขนาดใหญ่มากที่ถูกพบในถิ่นอาศัยที่ได้รับการรบกวน และต้องการแสงแดดมาก แวนด้าที่ปลูกจะมีระบบรากขนาดใหญ่ บางสายพันธุ์จะมีกิ่งแขนกลักษณะคล้ายเสาเพื่อมช้ในการยึดเกาะ และทำให้ต้นโตเป็นต้นใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

การปลูกนี้ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอในปิดปลิดใบแห้งออก สายพันธุ์ที่อาศัยกระเช้าเกาะจะเติบโตได้ดีที่สุด ในกระบะไม้ก้นโปร่งขนาดใหญ่ เพื่อให้ระบบรากอากาศขยายิได้อย่างอิสระ การรบกวนหรือตัดรากแวนด้าที่เจริญเติบโตเต็มที่ออกจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แวนด้าและสายพันธุ์เอื้องกุหลาบ อาจทำให้ออกดอกน้อย และอาจไม่ออกดอกในฤดูนั้นหรืออาจจะนานกว่านั้น การปลูกจึงต้องไม่รบกวนหรือทำลายระบบรากในขณะที่ต้นกำลังจะโตเต็มที่ แวนด้าพันธุ์ใบกลมจะเพาะพันธุ์ได้ง่ายมากๆ

การเพาะเลี้ยงแวนด้าให้รากของแวนด้าเปลือย และในพันธุ์ที่ยึดติดกับกระเช้าปลูกจำเป็นต้องรดน้ำต้นไม้ทุกวัน และให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์เนื่องจากแวนด้าต้องการปุ๋ยมาก (กินปุ๋ย)ในการปลูกแวนด้าในโรงเรือน แวนด้าสามารถเติบโตได้ภายนอกอาคารที่ให้ร่มเงาบ้าง เช่นในฮาวาย กุญแจสำคัญในการปลูกแวนด้าพันธุ์ที่ยึดกับกระเช้าปลูกให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องมีปัจจัยที่ดีในการเจริญเติบโต การปลูกที่มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมซึ่งไม่เอื้ออำนวยและระบบการให้น้ำที่ไม่ดี ส่งผลให้ใบล่วง ลำต้นแห้งลีบ ลำต้นหงิกงอ และลำต้นโทรมได้ แวนด้าพันธุ์ปลูกในกระเช้าปลูกจึงไม่ใช่กล้วยไม้ของผู้ที่เริ่มปลูกกล้วยไม้ ซึ่งมันต้องการการควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อบรรลุความสำเร็จในการเพาะเลี้ยง[5]

ใกล้เคียง