การประยุกต์ใช้แหล่งจ่ายไฟ ของ แหล่งจ่ายไฟ

แหล่งจ่ายไฟคอมพิวเตอร์

แหล่งจ่ายไฟคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยจะเป็นแบบ switch-mode ที่แปลงไฟ AC จากแหล่งจ่าย ไฟหลักให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงหลายแรงดัน แหล่งจ่ายแบบสวิตช์โหมดมาแทนที่แหล่งจ่ายแบบเชิงเส้น เนื่องจากค่าใช้จ่าย น้ำหนักและ ขนาดที่ดีกว่า ความหลากหลายของแรงดันไฟฟ้าที่ส่งออก ยังมีความต้องการของการใช้กระแสที่แตกต่างกันอย่างกว้างขวาง

แหล่งจ่ายไฟสำหรับการเชื่อม

การเชื่อมอาร์คใช้ไฟฟ้าเพื่อละลายพื้นผิวของโลหะให้หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน ไฟฟ้าที่ใช้จะได้จากแหล่งจ่ายไฟสำหรับการเชื่อม และสามารถเป็นได้ทั้งไฟ AC หรือ DC การเชื่อมอาร์คมักจะต้องใช้กระแสสูง ปกติระหว่าง 100 ถึง 350 แอมป์ การเชื่อมบางชนิดสามารถใช้เพียง 10 แอมป์ ในขณะที่การใช้งานแบบ spot welding กระแสที่ใช้อาจสูงสุดถึง 60,000 แอมป์ในช่วงเวลาสั้นมาก แหล่งจ่ายไฟสำหรับการเชื่อมแบบเก่าประกอบด้วย หม้อแปลงหรือเครื่องยนต์ที่ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ล่าสุด ใช้เซมิคอนดักเตอร์และไมโครโปรเซสเซอร์เพื่อลดขนาดและน้ำหนักของพวกมัน

AC adapter


เครืองชาร์จโทรศัพท์มือถือแบบ switched mode

แหล่งจ่ายไฟที่สร้างขึ้นภายในเต้าเสียบ AC ตัวผู้ เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น "แพ็คเสียบ" หรือ "อะแดปเตอร์ปลั๊กอิน" AC adapter ที่ราคาถูกสุดประกอบด้วยหม้อแปลงขนาดเล็กตัวเดียวเท่านั้นในขณะที่ อะแดปเตอร์ DC จะเพิ่มไดโอดเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะมีโหลดหรือไม่ หม้อแปลงจะมีสนามแม่เหล็กอย่างต่อเนื่อง และโดยปกติจะไม่สามารถปิดการทำงานได้จนกว่าจะดึงออกจากเต้าเสียบ

ใกล้เคียง

แหล่งมรดกโลก แหล่งจ่ายไฟ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ แหล่งคริสเตียนลับในภูมิภาคนางาซากิ แหล่งแร่ดีบุกในประเทศไทย แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง แหล่งไดโนเสาร์โคกผาส้วม แหล่งน้ำ