การดำเนินการในปัจจุบัน ของ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด

ปัจจุบันโครงการขุดค้นยังดำเนินงานอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันเป็นโครงการช่วงที่สอง โดย ดร.ไนเจล ชาง (Dr. Nigel Chang) จากมหาวิทยาลัยเจมส์คุก ประเทศออสเตรเลีย เพื่อศึกษาวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปในรอบ 5,000 ปี และจะเสร็จสิ้นโครงการในปี 2555

แบบอาคารศูนย์เรียนรู้สมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้านโนนวัด ออกแบบโครงสร้างโดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดนครราชสีมา พิธีเปิดและส่งมอบอาคารชั่วคราว ศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด 24 ก.ย. 2552 การรายงานความก้าวหน้า โครงการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 7 ก.พ.2554 นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้เข้าชมศูนย์การเรียนรู้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชั่วคราวบ้านโนนวัด 9 ก.พ.2554 การดำเนินการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ฯ สมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด 29 มกราคม 2555 การดำเนินการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ฯ สมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด 6 กันยายน 2555 แล้วเสร็จไปแล้วกว่า 95% การประชุมเพื่อลงรายละเอียดปลีกย่อยนิทรรศการ 17 มกราคม 2556

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในฐานะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาท้องถิ่น ได้ให้ความช่วยเหลือชุมชนในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด ให้เคลื่อนตัวไปได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์เศาวนิต เศาณานนท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้อนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นสมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัดขึ้น เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น และแสวงหาศักยภาพของชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยน้อมนำแนวพระราชดำริ "เข้าใจ เขาถึง พัฒนา" มาเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงาน

อาจารย์ทวี วัชระเกียรติศักดิ์ หัวหน้าคณะนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้กระบวนการพัฒนา โดยใช้แนวคิดทางการการจัดการ มาประยุกต์ใช้ พร้อมกับเตรียมความพร้อมให้ชุมชน ตั้งรับกับความเจริญที่กำลังเคลื่อนตัวมาพร้อมกับศูนย์การเรียน โดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้

อาจารย์วิลาวัลย์ วัชระเกียรติศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้นำคณาจารย์และนักวิชาการ เข้าสำรวจวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ และโบราณคดี และดำแนินการจัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น (ชั่วคราว)

ผลการวิจัยดังกล่าวได้นำสู่การจัดสร้างอาคารชั่วคราว ศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งอารยธรรบ้านโนนวัด จัดแสดงนิทรรศการความรู้ด้านโบราณคดี พร้อมกับองค์ความรู้เพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่น ด้วยความร่วมแรงรวมใจกันของภาคีพัฒนาและชุมชนบ้านโนนวัด บนพื้นที่ศาลาประชาคมแห่งนี้ ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้เกิดเป็นรูปธรรมของแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาท้องถิ่น พัฒนาสู่การจัดสร้างอาคารถาวรบนพื้นที่ที่ชุมชนจัดเตรียมไว้แล้ว

ศูนย์การเรียนรู้ฯ ท้องถิ่น (ชั่วคราว) เป็นบทเรียนของการพัฒนาที่มีชุมชนท้องถิ่นเป็นส่วนกลางจะอยู่ที่กระบวนสื่อสารที่เท่าเทียมกัน จริงใจ และเปิดกว้าง ให้โอกาสกับการเรียนรู้และการแก้ปัญหาของชุมชนเอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกลายเป็นผลงานของภาคีในชุมชนที่เป็นความภาคภูมิใจ เกิดความหวงแหน ความรับผิดชอบ และการทำให้ดีขึ้นมากกว่าการเป็นผู้รับในกระแสการพัฒนาที่ผ่านมา

ความสำเร็จดังกล่าวนำมาสู่การดำเนินการเสนอขอการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล โดย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนตำบลพลสงคราม ชุมชนบ้านโนนวัด และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมีแผนที่จะทำการก่อสร้างในพื้นที่หลุมขุดค้นเดิม คือ พื้นที่ของนางวอย แก้วกลาง ซึ่งได้บริจาคไว้เมื่อครั้งทำการประชาคมภาคีการพัฒนาในท้องถิ่นเอง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลพลสงคราม เจ้าคณะตำบลพลสงคราม เจ้าอาวาสวัดมะรุม ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาและประถมศึกษาในพื้นที่ และประชาชนในบ้านโนนวัดทั้งหมด จนเกิดความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาแผนปฏิบัติการด้านต่างๆ ขึ้นต่อไป

หลังจากแรงผลักดันที่ฝ่ายได้กระตุ้นให้ก่อเกิด จังหวัดนครราชสีมา ได้อนุมัติงบประมาณในโครงการลงทุนภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ให้ดำเนินการเสนอรายละเอียดในการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นสมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด โดยทางอำเภอโนนสูง ได้จัดการประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินงานขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุมศาลาประชาคม ที่ว่าการอำเภอโนนสูง โดยมีว่าที่ร้อยตรี ดร. นิรันดร์ ดุจจานุทัศน์ นายอำเภอโนนสูง เป็นประธาน

ในด้านการออกแบบอาคารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้เชิญสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองมาร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินออกแบบอาคาร โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากการสัมมนา เรื่อง “การจัดตั้งศูนย์ข้อมูล สมัยก่อนประวัติศาสตร์ บ้านโนนวัด” ขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส โคราช จังหวัดนครราชสีมา จัดโดยภารกิจการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งเป็นการสัมนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการด้านการศึกษาวิจัย ความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีของมนุษยชาติจากการศึกษาทางโบราณคดี รวมทั้งการอภิปรายประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดศูนย์ข้อมูลสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บ้านโนนวัด ซึ่งมีข้อสรุปออกมาเป็นแนวทางในการออกแบบเพื่อเสนอขอการสนับสนุนจากรัฐบาล

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้จัดการประชุม การรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นสมัยก่อนประวัติแหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด ณ ห้องประชุมสุวัจน์ลิปตพัลลภ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งได้รับจากทุกภาคของการร่วมมือในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครราชสีมา พร้อมที่จะเข้ามาเป็นแม่งาน ในการดำเนินงานด้านการทำ E-Auction เพื่อให้เกิดความรวดแรวในด้านการประมูล และการดำเนินงานด้านงบประมาณ และทางสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ก็พร้อมที่จะเป็นผู้เสริมความสมบูรณ์ในส่วนของเนื้อหาวิชาการโบราณคดี และทางสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จะยังคงเป็นพี่เลี้ยงและผู้ประสานความร่วมมือฝ่ายต่างๆ ทั้งนักวิจัยชาวต่างชาติ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 ได้มีกิจกรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสัญจร “ผู้ว่ามาแล้ว" โดยนายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้เข้าตรวจเยี่ยมแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด และได้รับการต้อนรับจากนักวิชาการชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่ได้เป็นวิทยากรให้ความรู้ ด้านโบราณคดี และความสำคัญของแหล่งโบราณคดีนี้ ที่มีศักยภาพมากสู่การได้รับการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก ในอนาคต จึงได้รับการตื่นตัวในวงกว้าง นำไปสู่การพัฒนาพื้นที่บ้านโนนวัดอย่างจริงจัง

วันที่ 7 มีนาคม 2554 นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏนครราชสีมา ได้นำเสนอถึงความสำคัญของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำมูลตอนต้น ในเขตอำเภอโนนสูงนครราชสีมาที่มีความต่อเนื่องยาวนานกว่า 3000 ปี ซึ่งทางจังหวัดนครราชสีมาจะผลักดันสู่การเป็นมรดกโลก

และการดำเนินการล่าสุด ทางจังหวัดนครราชสีมา โดย นายสุชาติ นพวรรณ รองผู้ว่าฯ นครราชสีมา ได้เป็นประธานประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการหารือเกี่ยวกับเรื่องการจัดหาที่ดิน เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ ร้านค้าของที่ระลึก และส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อการผลักดันสู่การเป็นมรดกโลกดังกล่าว

วันที่ 17 มีนาคม 2554 ได้มีการจัดเวทีประชาคมรับฟังความคิดเห็น โครงการการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด ณ วัดมะรุม ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการดังกล่าว

การดำเนินการในปัจจุบัน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้ศึกษาและกำหนดเนื้อหารายละเอียดนิทรรศการที่จะจัดแสดงในศูนย์เรียนรู้ และได้รับการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาจากกรมศิลปากรเรียบร้อยแล้ว และได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์เรียนรู้ฯ ซึ่งแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2556 โดยเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการแล้ว

ปัจจุบันโครงการการดำเนินงานติดปัญหาในเรื่องของการส่งมอบอาคารจากสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมาสู่ชุมชน คือ อบต. อาจารย์วิลาวัลย์ วัชระเกียรติศักดิ์ จึงได้เร่งผลักดันให้เกิดการส่งมอบอย่างโดยด่วน เพื่อให้ชุมชนสามารถบริการจัดการศูนย์การเรียนรู้ได้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม โดยหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมาจะได้ดำเนินการ นำเสนอต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดเป็น "มรดกแห่งชาติ"

วันที่ 3 กันยายน 2557 นายชยาวุธ จันทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นฯ บ้านโนนวัด เข้าสำรวจอาคารศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นฯ เพื่อหาแนวทางเร่งด่วนในการส่งมอบอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ บ้านโนนวัดแก่ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อบต.พลสงคราม เพื่อความสะดวกของชุมชนในการบริหารจัดการในศูนย์การเรียนรู้ และเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ เพื่อที่จะได้ร่วมกันรักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และพร้อมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงโบราณคดีต่อไป

วันที่ 30 กันยายน 2557 นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์รักษาราชการผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้ลงนามในหนังสือราชการเพื่อส่งมอบอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ บ้านโนนวัด ให้สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครราชสีมา เพื่อส่งต่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลพลสงคราม เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรักษา และใช้ประโยชน์ (พรบ.พื้นที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2545)

วันที่ 9 กรกฎาคม 2558 หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดการประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัดนครราชสีมาครั้งที่ 1/2558 โดยมีนายบุญยืน คำหงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมมูลนิธิท้าวสุรนารี ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา โดยในที่ประชุมมีมติในที่ประชุมเห็นชอบในการแต่งตั้งให้แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ต.พลสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เป็นมรดกแห่งชาติ (ระดับจังหวัด) และให้หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา จัดทำข้อมูลแผนการดำเนินงานเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อเสนอให้ประกาศเป็นมรดกแห่งชาติต่อไป

วันที่ 22 กันยายน 2558 นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ลงนามในประกาศจังหวัดนครราชสีมา เพื่อประกาศขึ้นทะเบียนมรดกจังหวัดนครราชสีมา แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด (อาศัยอำนาจตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และคำสั่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งขาติที่ 25/2550 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550)

ใกล้เคียง

แหล่งมรดกโลก แหล่งจ่ายไฟ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ แหล่งคริสเตียนลับในภูมิภาคนางาซากิ แหล่งแร่ดีบุกในประเทศไทย แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง แหล่งไดโนเสาร์โคกผาส้วม แหล่งน้ำ

แหล่งที่มา

WikiPedia: แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด http://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E... http://nonwat.igetweb.com/index.php http://nonwat.igetweb.com/index.php?mo=3&art=28036... http://www.koratculture.com http://www.koratmuseum.com http://www.nonwat.com http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=809... http://gotoknow.org/blog/bannonwat http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?New... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Ban_No...