ข้อจำกัด ของ แอกเซสพอยต์ไร้สาย

ตามมาตรฐานของ IEEE 802.11 โดยทั่วไปแล้ว แอกเซสพอยต์หนึ่งตัวจะสามารถสื่อสารกับลูกข่ายได้ 10–25 ตัว[3] ภายในรัศมี 103 เมตร อย่างไรก็ตามรัศมีทำการของ AP ที่เกิดขึ้นจริง อาจแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญโดยขึ้นอยู่กับตัวแปร เช่นตำแหน่งที่ติดตั้งเป็นในที่ร่มหรือกลางแจ้ง, ระดับความสูงเหนือพื้นดิน, สิ่งกีดขวาง, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่อาจรบกวนสัญญาณโดยการกระจายคลื่นความถี่เดียวกัน, ชนิดของเสาอากาศ, สภาพอากาศ, คลื่นความถี่วิทยุ, และการส่งออกพลังงานของอุปกรณ์เหล่านั้น ผู้ออกแบบเครือข่ายสามารถขยายรัศมีทำการของแอกเซสพอยต์โดยการใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณและ reflector ที่สามารถขยายหรือสะท้อนสัญญาณวิทยุ เพื่อการส่งสัญญาณที่ดีขึ้น ในการทดลองการใช้เครือข่ายไร้สายสามารถใช้งานได้เป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร[4]

ภายในรัศมีทำการที่สัญญาณจากแอกเซสพอยต์หลายตัวอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนใหญ่ความถี่ที่ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับการใช้งานเครือข่ายไร้สายจะสามารถใช้ได้เพียงจำนวนจำกัด โดยปกติ WAP ที่อยู่ติดกันจะใช้ช่องความถี่ที่แตกต่างกันในการสื่อสารกับลูกข่าย เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการรบกวนระหว่างสองระบบที่อยู่ใกล้เคียง อุปกรณ์ไร้สายสามารถ "ฟัง" การจราจรข้อมูลที่ความถี่อื่น ๆ และสามารถสลับจากความถี่หนึ่งไปยังอีกความถี่หนึ่งอย่างรวดเร็วเพื่อการรับสัญญาณที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามในความถี่ที่จำกัดจะกลายเป็นปัญหาในพื้นที่ใจกลางเมืองที่แออัดไปด้วยอาคารสูงเมื่อมีการใช้ WAP หลายตัว ในสภาพแวดล้อมดังกล่าวสัญญาณที่ซ้อนทับกันจะกลายเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการรบกวน ซึ่งส่งผลให้เกิดสัญญาณข้อมูลขาดหายและเกิดข้อผิดพลาด[5]

เครือข่ายไร้สายจะล่าช้ากว่าเครือข่ายแบบมีสาย ในแง่ของการเพิ่มความกว้างช่องสัญญาณและการเพิ่มอัตรา throughput ในขณะที่อุปกรณ์ไร้สายทั่วไปสำหรับตลาดผู้บริโภค (ปี ค.ศ. 2010) สามารถทำงานด้วยความเร็ว 300 เมกะบิต/วินาที (IEEE 802.11n) หรือ 54 เมกะบิต/วินาที (IEEE 802.11g) ด้วยค่าใช้จ่ายที่เท่ากัน ฮาร์ดแวร์ระบบที่ใช้สายสามารถทำความเร็วได้ถึง 1000 เมกะบิต/วินาที (กิกะบิตอีเทอร์เน็ต) อุปสรรคหนึ่งในการเพิ่มความเร็วของการสื่อสารไร้สายมาจากการใช้งาน Wi-Fi ที่ใช้สื่อกลางการสื่อสารร่วมกัน ดังนั้นแอกเซสพอยต์หนึ่งตัวสามารถที่จะทำงานได้น้อยกว่าเกือบครึ่งของอัตราที่แท้จริงสำหรับการรับส่งข้อมูลทางอากาศ ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วที่ความเร็ว 54 MBit/s จะนำส่งข้อมูลบนโพรโทคอล TCP/IP ได้จริงเพียง 20 ถึง 25 Mbit/s เท่านั้น ความคาดหวังของผู้ใช้เครือข่ายใช้สายเดิมคือคาดว่าจะได้รับความเร็วที่ดีขึ้น และผู้ใช้การเชื่อมต่อแบบไร้สายก็ต้องการที่จะเห็นเครือข่ายไร้สายสามารถตามทันเครือข่ายใช้สายได้

ในปี ค.ศ. 2012 แอกเซสพอยต์ที่ใช้มาตรฐาน 802.11n และอุปกรณ์ลูกข่ายมีส่วนแบ่งการตลาดมากพอสมควร และเมื่อมีการสรุปมาตรฐาน 802.11n ในปี ค.ศ. 2009 ปัญหาโดยปรกติของการรวมผลิตภัณฑ์จากผู้ขายหลายรายที่แตกต่างกันมีให้เห็นไม่มาก

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอกเซสพอยต์ไร้สาย https://breech.co/guides/wireless-routers/ https://www.howtogeek.com/180649/htg-explains-what... https://www.mcnc.org/sites/default/files/Designing... http://www.ci-journal.net/index.php/ciej/article/v... https://community.jisc.ac.uk/library/advisory-serv... https://web.archive.org/web/20170731232127/https:/... https://web.archive.org/web/20181219000813/http://... https://books.google.com/books?id=b3r81GCpOnYC&q=w... https://web.archive.org/web/20181013133145/https:/...