แอนดรอยด์_(ระบบปฏิบัติการ)
แอนดรอยด์_(ระบบปฏิบัติการ)

แอนดรอยด์_(ระบบปฏิบัติการ)

แอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะเป็นมาตรฐานเปิด เช่น Nikon S800C กล้องดิจิตอลระบบแอนดรอยด์ หม้อหุงข้าว Panasonic ระบบแอนดรอยด์ และ Smart TV ระบบแอนดรอยด์ รวมถึงกล่องเสียบต่อ TV ทำให้สามารถใช้ระบบแอนดรอยด์ได้ด้วย Android Wear นาฬิกาข้อมือระบบแอนดรอด์ เป็นต้น ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548[3] แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา[4] โดยสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เครื่องแรกของโลกคือ เอชทีซี ดรีม วางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2551[5]แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ซ และกูเกิลได้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์อาปาเช[6] ซึ่งโอเพนซอร์ซจะอนุญาตให้ผู้ผลิตปรับแต่งและวางจำหน่ายได้ (ภายใต้เงื่อนไขที่กูเกิลกำหนด) รวมไปถึงนักพัฒนาและผู้ให้บริการเครือข่ายด้วย อีกทั้งแอนดรอยด์ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่รวมนักพัฒนาที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ มากมาย ภายใต้ภาษาจาวา[7] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีโปรแกรมมากกว่า 700,000 โปรแกรมสำหรับแอนดรอยด์ และยอดดาวน์โหลดจากกูเกิล เพลย์ มากถึง 2.5 หมื่นล้านครั้ง[8][9] จากการสำรวจในช่วงเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม ในปี พ.ศ. 2556 พบว่าแอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการที่นักพัฒนาเลือกที่จะพัฒนาโปรแกรมมากที่สุด ถึง 71%[10]ปัจจัยเหล่านี้ทำให้แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน[11] นำหน้าซิมเบียน ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2553[12] และยังเป็นทางเลือกของผู้ผลิตที่จะใช้ซอฟต์แวร์ ที่มีราคาต่ำ, ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดี สำหรับอุปกรณ์ในสมัยใหม่[13] แม้ว่าแอนดรอยด์จะดูเหมือนได้รับการพัฒนาเพื่อใช้กับสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต แต่มันยังสามารถใช้ได้กับโทรทัศน์, เครื่องเล่นวิดีโอเกม, กล้องดิจิทัล และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ แอนดรอยด์เป็นระบบเปิด ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาคุณสมบัติใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา[14]ส่วนแบ่งทางการตลาดของสมาร์ตโฟนแอนดรอยด์ นำโดยซัมซุง มากถึง 64% ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556[15] เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 มีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์มากถึง 11,868 รุ่น จาก 8 เวอร์ชันของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์[16] ความสำเร็จของระบบปฏิบัติการทำให้เกิดคดีด้านการละเมิดสิทธิบัตรที่เรียกกันว่า "สงครามสมาร์ตโฟน" (smartphone wars) ระหว่างบริษัทผู้ผลิต[17][18] ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 โปรแกรม 4.8 หมื่นล้านโปรแกรมได้รับการติดตั้งบนอุปกรณ์จากกูเกิล เพลย์[19][20] และในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 มีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 1 พันล้านเครื่อง ได้ถูกเปิดใช้งาน[21]

แอนดรอยด์_(ระบบปฏิบัติการ)

แพลตฟอร์มที่รองรับ 32 บิต และ 64 บิต
เว็บไซต์ www.android.com
ตัวจัดการแพกเกจ กูเกิล เพลย์, APK
ตระกูล ยูนิกซ์-ไลก์
สัญญาอนุญาต Apache Software License, Version 2.0, GNU General Public License, version 2.0 
เขียนด้วย ซี, ซี++, Kotlin, XML Schema, จาวา 
สถานะ ปัจจุบัน/เสถียร
รูปแบบรหัสต้นฉบับ โอเพนซอร์ส
ภาษาสื่อสาร หลากภาษา (มากกว่า 46)
ผู้พัฒนา โอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์, กูเกิล 
วันที่เปิดตัว กันยายน พ.ศ. 2551 (2008-09-23) (11 ปีก่อน)[1]
รุ่นเสถียร 10.0.0 / 3 กันยายน ค.ศ. 2019 (2019-09-03)[2]

ใกล้เคียง

แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ) แอนดรูว์ รอเบิร์ตสัน แอนดริว เกร้กสัน แอนดรูว์ โคนินทร์ แอนดรูว์ มาร์ติน แอนดรูว์ บิ๊กส์ แอนดรูว์ แจ็กสัน แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ แอนดรูว์ โคล แอนดรูว์ สแตนตัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอนดรอยด์_(ระบบปฏิบัติการ) http://officialandroid.blogspot.ca/2012/09/google-... http://www.anandtech.com/show/9291/google-announce... http://developer.android.com/ http://developer.android.com/design/get-started/ui... http://developer.android.com/design/patterns/notif... http://developer.android.com/design/patterns/widge... http://developer.android.com/guide/developing/tool... http://developer.android.com/guide/practices/compa... http://developer.android.com/resources/dashboard/p... http://developer.android.com/sdk/android-2.0.html