ชีวสังเคราะห์ ของ แอนโดรกราโฟไลด์

ชีวสังเคราะห์ของแอนโดรกราโฟไลด์

แอนโดรกราโฟไลด์ เป็นสารพื้นฐานในกลุ่มไดเทอร์พีนแลคโตน ซึ่งเป็นสารชีวสังเคราะห์ของฟ้าทะลายโจร ได้รับการอธิบายในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010[5][6] แอนโดรกราโฟไลด์ เป็นไอโซพรีนอยด์ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ โดยสารตั้งต้นของการสังเคราะห์ไอโซพรีนอยด์คือ ไอโซเพนเทนิลไพโรฟอสเฟต (IPP) และไดเมทิลอัลลิลไพโรฟอสเฟต (DMAPP) สามารถสังเคราะห์ได้ผ่านทางวิถีกรดเมวาโลนิก (MVA) หรือวิถีดีออกซีซิลลูโลส (DXP)[7] จากการติดฉลากไอโซโทป C13 ของสารตั้งต้นสำหรับทั้งวิถี MVA และ DXP พบว่าสารตั้งต้นของแอนโดรกราโฟไลด์ ส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์ผ่านทาง DXP[7] มีสารตั้งต้นของแอนโดรกราโฟไลด์ เพียงเล็กน้อยที่สังเคราะห์ผ่านวิถี MVA การสังเคราะห์ทางชีวภาพของแอนโดรกราโฟไลด์ เริ่มต้นด้วยการเพิ่ม IPP ไปยัง DMAPP ซึ่งสร้างเจอรานิลไพโร​ฟอสเฟต จากนั้นเพิ่มโมเลกุลของ IPP อีกตัวหนึ่งซึ่งให้ผลเป็นฟาร์เนซิลไพโรฟอสเฟต (FPP) โมเลกุล IPP สุดท้ายจะถูกเพิ่มเข้าไปใน FPP เพื่อสร้างแกนหลักของไดเทอร์พีนให้สมบูรณ์ พันธะคู่ที่มีต้นกำเนิดจาก DMAPP จะถูกออกซิไดซ์เป็นอีพอกไซด์ก่อนที่จะมีการปิดวงแหวนซึ่งประกอบเป็นวงหกเหลี่ยมสองวง ชุดของการเกิดออกซิเดชันก่อตัวเป็นสารแลคโตนห้าเหลี่ยมนอกเหนือจากการเพิ่มกลุ่มแอลกอฮอล์ ไม่เป็นที่ทราบลำดับของการดัดแปลงหลังการสังเคราะห์เหล่านี้ทั้งหมด[7]

ใกล้เคียง

แอนโดรกราโฟไลด์ แอนโดรเมด้า ชุน แอนโดเวอร์ (แฮมป์เชอร์) แอนโดเวอร์ แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ) แอนโทเนีย โพซิ้ว แอนดี มาร์รี แอนดรูว์ รอเบิร์ตสัน แอนดี้ เขมพิมุก แอนดริว เกร้กสัน