แอฟริกัน_ทริปาโนโซมิเอซิส
แอฟริกัน_ทริปาโนโซมิเอซิส

แอฟริกัน_ทริปาโนโซมิเอซิส

แอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส (ภาษาอังกฤษ African trypanosomiasis) หรือ โรคเหงาหลับ[1] เป็นโรคที่เกิดจากปรสิตในคนหรือสัตว์อื่น ๆ โรคนี้เกิดจากปรสิตชนิด ทริปาโนโซมา บรูเซีย[2] ซึ่งมีอยู่สองชนิดที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ ได้แก่ ทริปาโนโซมา บรูเซีย แกมเบียนส์ (T.b.g) และ ทริปาโนโซมา บรูเซีย โรดเซียนส์ (T.b.r.).[1] T.b.g เป็นสาเหตุของผู้ป่วยที่ได้รับรายงานกว่า 98%[1] โรคเหงาหลับทั้งสองชนิดมักถูกส่งผ่านโดยการกัดของแมลงวันเซตซีที่ติดเชื้อและมักจะแพร่หลายในพื้นที่ชนบท[1] ในขั้นต้น ในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยมักมีอาการไข้ ปวดศีรษะ มีอาการคันและปวดตามข้อ[1] อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งถึงสามสัปดาห์หลังถูกกัด[3] หลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนต่อมา ระยะที่สองของโรคเริ่มขึ้นด้วยอาการสับสน มือไม้ทำงานไม่ประสานกัน อาการชา และปัญหาในการนอนหลับ[1][3] การวินิจฉัยทำได้โดยการหาพยาธิในสเมียร์เลือด หรือในของเหลวในต่อมน้ำเหลือง[3] มักมีความจำเป็นต้องใช้การเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อบอกความแตกต่างระหว่างระยะแรกและระยะที่สองของโรค[3]การป้องกันโรคที่รุนแรงทำได้โดยการตรวจคัดประชากรที่มีความเสี่ยงโดยการตรวจเลือดเพื่อหา T.b.g.[1] การรักษาสามารถทำได้ง่ายกว่าหากสามารถตรวจพบโรคอย่างรวดเร็วก่อนที่จะเกิดอาการทางระบบประสาท[1] การรักษาอาการระยะแรกทำได้โดยการใช้ยาเพนทามิดินหรือซูรามิน[1] ส่วนการรักษาอาการระยะที่สองทำได้โดยการใช้อีฟลอนิธินหรือส่วนผสมของไนเฟอไทมอกกับ อีฟลอนิธิน สำหรับ T.b.g.[3] แม้ว่าเมลาร์โซโพรลจะใช้ได้กับเชื้อทั้งสองชนิด ยานี้มักถูกใช้เฉพาะกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ T.b.r. เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่รุนแรง [1]โรคนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในบางพื้นที่ของแอฟริกาใต้สะฮารา โดยมีประชากรที่มีความเสี่ยงประมาณ 70 ล้านคนใน 36 ประเทศ[4] ในปี 2553 โรคนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 9,000 ราย ซึ่งถือว่าลดน้อยลงจากจำนวน 34,000 รายในปี 2533[5] ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ติดเชื้อประมาณ 30,000 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 7,000 รายในปี 2555[1] กว่า 80% ของผู้ติดเชื้ออาศัยอยู่ใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก[1] เกิดการระบาดครั้งใหญ่ขึ้นสามครั้งในประวัติศาสตร์: ครั้งแรกในปี 2439 ถึงปี 2449 โดยเริ่มในประเทศยูกันดาและลุ่มแม่น้ำคองโก และอีกสองครั้งในปี 2463 และปี 2513 ในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา[1] สัตว์อื่น ๆ เช่น โค สามารถเป็นพาหะของโรคและติดเชื้อได้[1]

ใกล้เคียง

แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 รอบแพ้คัดออก แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2017 แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 รอบคัดเลือก แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 กลุ่ม เอ แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 กลุ่ม เอฟ แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 กลุ่ม ดี แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 กลุ่ม บี แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 กลุ่ม อี

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอฟริกัน_ทริปาโนโซมิเอซิส http://www.diseasesdatabase.com/ddb13400.htm http://www.diseasesdatabase.com/ddb29277.htm http://www.emedicine.com/med/topic2140.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=086.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23245604 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23260189 http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2021/MB_cgi?field=... http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs259/en...