ชีวิตและการงาน ของ แอรอน_สวอตซ์

สวอตซ์ในปี 2545 (อายุ 15 ปี) กับ ลอว์เรนซ์ เลสสิก ในงานเลี้ยงเปิดตัวของครีเอทีฟคอมมอนส์สวอตซ์ขณะบรรยายการเปลี่ยนแปลงจากระบบจากระบบหนึ่งต่อกลุ่ม สู่ระบบกลุ่มสู่กลุ่ม ของแผนผังการสื่อสารแบบเครือข่าย ในซานฟรานซิสโก เมษายน ปี 2550 (9:29)

สวอตซ์เกิดที่ไฮแลนด์พาร์ก รัฐอิลลินอยส์[19][20] แถบชานเมืองของชิคาโก เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวชาวยิว โดยมี ซูซัน และ รอเบิร์ต สวอตซ์เป็นแม่และพ่อ[1][21] พ่อของเขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Mark Williams Company สวอตซ์ได้จมตัวเองกับการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ การโปรแกรม อินเทอร์เน็ต และวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต[22] ในวัยเด็กเขาเข้าเรียนที่ North Shore Country Day School ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนเล็กๆใกล้กับชิคาโกจนถึงชั้นมัธยมศึกษาที่ 3[23] สวอตซ์ได้ออกจากไฮสกูลในชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 และได้ลงทะเบียนเข้าเรียนหลักสูตรที่มหาลัยแถบชิคาโก[24][25]

ตอนอายุ 13 สวอตซ์ได้ชนะรางวัล ArsDigita Prize ซึ่งจะให้เหล่าผู้เยาว์ที่สร้างเว็บไซต์ที่ไม่แสวงหากำไรซึ่ง "มีประโยชน์ ให้ความรู้ และสร้างความสามัคคี"[1][26] เมื่ออายุ 14 ปี เขาได้เข้าเป็นสมาชิคของกลุ่มงานที่เป็นผู้สร้างข้อมูลจำเพาะของระบบการกระจายข่าวทางเว็บไซต์ RSS 1.0

W3C

ในปี 2544 สวอตซ์เข้าร่วมกลุ่มทำงาน RDFCore ในเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C)[27] ซึ่งเขาเป็นผู้เขียน RFC 3870 หรือ การขึ้นทะเบียนชนิดสื่อสิ่งพิมพ์ของ Application/RDF+XML โดยเอกสารนั้นระบุเกี่ยวกับชนิดสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "RDF/XML" ซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้กับเว็บเชิงความหมาย[28]

มาร์กดาวน์

สวอตซ์เป็นผู้มีส่วนร่วมหลักในการพัฒนามาร์กดาวน์[4][29] ซึ่งเป็นภาษามาร์กอัปเบาสำหรับสร้าง HTML และผู้คิดสร้างตัวแปล html2text ที่ใช้ร่วมกัน โครงสร้างภาษาสำหรับมาร์กดาวน์นั้นได้อิทธิพลมาจากภาษา atx ของสวอตซ์ (ปี 2545)[30] ซึ่งทุกวันนี้ถูกจดจำจากโครงสร้างภาษาสำหรับบ่งบอกเฮดเดอร์ (header) หรือที่เรียกกันว่า เฮดเดอร์รูปแบบ atx[31]

# H1-header## H2-header...###### H6-header

ตัวมาร์กดาวน์เองนั้นถูกใช้อย่างแพร่หลาย

การลงทุน

สวอตซ์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในขณะอยู่ปี 1 สวอตซ์ได้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนครั้งแรกที่จัดขึ้นโดยบริษัทวายคอมบิเนเตอร์ และเสนอว่าจะทำงานให้กับบริษัทเกิดใหม่ (startup) ที่มีชื่อว่า อินโฟกามิ (Infogami) ซึ่งถูออกแบบให้เป็นระบบจัดการเนื้อหาที่มีความยืดหยุ่น เพื่อสร้างเว็บโซต์ที่มีความอุดมสมบูรณ์และน่าสนใจ[32] หรือรูปแบบหนึ่งของวิกิสำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้าง หลังจากทำงานกับ อินโฟกามิ ด้วยกันกับผู้ก่อตั้งร่วมที่มีชื่อว่า ไซมอน คาร์สเทนเซ็น (Simon Carstensen) ตลอดฤดูร้อนของปี 2548,[33] อารอนตัดสินใจที่จะไม่กลับไปเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดแต่กลับมุ่งหน้าพัฒนาและหาทุนให้กับอินโฟกามิ[32]

โครงร่างเว็บไซต์ web.py ถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานจากอินโฟกามิ เนื่องจากการที่อารอนไม่ชอบระบบที่มีอยู่ในภาษาไพทอน ในต้นฤดูใบไม้ร่วงของปี 2548 สวอตซ์ได้ทำงานกับผู้ก่อตั้งของบริษัทหน้าใหม่ที่ชื่อว่า เรดดิต ภายใต้บริษัทวายคอมบิเนเตอร์ เพื่อเขียนพื้นฐานโค้ดที่อยู่ในภาษาลิสป์ใหม่ โดยใช้ภาษาไพทอนและ web.py[6]

เมื่อครั้นอินโฟกามิประสบปัญหาทางด้านทุนทรัพย์ ผู้สร้างของวายคอมบิเนเตอร์ได้เสนอให้อินโฟกามิรวมเข้ากับเรดดิต[34][35] โปรเจกต์ทั้งสองได้รวมกันในปี 2548 กลายเป็นบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า น็อท อะ บัค (Not A Bug) ซึ่งมุ้งเน้นไปในการพัฒนาโปรเจกต์ทั้งสอง[34][36] แม้ตอนแรกทั้งสองโปรเจกต์จะมีปัญหาทางด้านการดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ เรดดิตเริ่มเป็นที่นิยมในวงกว้างช่วงปี 2548 และ 2549

ในเดือนตุลาคม ปี 2549 บนพื้นฐานของความสำเร็จของเรดดิต น็อท อะ บัค ได้ถูกโอนกรรมสิทธิ์ให้กับ สำนักพิมพ์ Condé Nast เจ้าของนิตยสารไวร์ด์[22][37] สวาร์สซกับบริษัทของเขาได้ย้ายไปทำงานให้กับนิตยสารไวร์ด์ที่ซานฟรานซิสโก[22] ทว่าจากนั้นสวอตซ์ไม่พอใจกับการทำงานในออฟฟิศ และได้ออกจากบริษัทในที่สุด[38]

ในเดือนกันยายนปี 2550 สวอตซ์ได้ร่วมมือกับผู้ก่อตั้งร่วมของอินโฟกามิที่ชื่อว่า ไซมอน คาร์สเทนเซ็น ในการเปิดตัวบริษัทใหม่ชื่อ จอททิต (Jottit) เป็นความพยายามอีกครั้งที่จะสร้างระบบจัดการเนื้อหาขับเคลื่อนโดยมาร์คดาวน์ในภาษาไพทอน[39]

ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์

สวอตซ์ในปี 2555 ขณะประท้วงต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA)

สวอตซ์มีส่วนร่วมในการรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA) ซึ่งมีเป้าหมายในการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต แต่กลับถูกวิจารย์ในพื้นฐานที่การต่อต้านนั้นทำให้รัฐบาลสหรัฐเข้าปิดเว็บไซต์ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิได้ง่ายขึ้น และยังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต[40] หลังจากที่ร่างกฎหมายถูกยกเลิก สวอตซ์ได้เป็นผู้บรรยายจากองค์ปาฐก ณ งาน F2C:Freedom to Connect 2012 ที่ วอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ 21 พฤษภาคม ปี 2555 ภายใต้หัวข้อการบรรยายชื่อ "เราหยุด SOPA ได้อย่างไร" ซึ่งเขาได้บอกผู้ชมว่า

"เราชนะการต่อสู้ครั้งนี้เพราะทุกคนทำให้ตัวเองเป็นวีรบุรุษในเรื่องของตนเอง ทุกคนทำให้การรักษาเสรีภาพนี้เป็นหน้าที่ของตนเอง"[41][42] เขาอ้างถึงการประท้วงต่อร่างกฎหมายโดยหลากหลายเว็บไซต์ซึ่งถูกกล่าวถึงใน Electronic Frontier Foundation ว่าใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีเว็บไซต์มากกว่า 115,000 เว็บไซต์ทำการปรับแต่งหน้าเพจของตนเอง [43] สวอตซ์ยังได้บรรยายหัวข้อนี้ในงานจัดโดย ThoughtWorks อีกด้วย[44]

วิกิพีเดีย

สวอตซ์ ณ 2009 Boston Wikipedia Meetup

สวอตซ์ได้เป็นอาสาสมัครแก้ไขบทความในวิกิพีเดีย และในปี 2549 สวอตซ์ได้เขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีที่บทความในวิกิพีเดียถูกเขียน และได้สรุปว่าข้อมูลส่วนใหญ่ในบทความต่าง ๆ นั้นมาจากผู้มีส่วนร่วมเป็นครั้งคราว หรือ "คนนอก" นับหมื่นคน ซึ่งอาจไม่มีส่วนร่วมอื่นในวิกิพีเดียเลย ส่วนกลุ่มสมาชิกหลักซึ่งประกอบด้วย 500 ถึง 1000 คนที่เป็นสมาชิกประจำ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้แก้ไขตัวสะกดและข้อผิดพลาดทางรูปแบบ[45] สวอตซ์ได้กล่าวว่า "ผู้แก้ไขรูปแบบเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีส่วนร่วม ไม่ใช่ในทางกลับกัน"[45][46]

ไซ-ฮับ

ดูบทความหลักที่: ไซ-ฮับ

อเล็กซานดรา เอลบัคยาน ผู้เป็นทั้งนักวิทยาการคอมพิวเตอร์และนักวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ชาวคาซัคสถานก่อตั้งไซ-ฮับ[47] ไซ-ฮับได้ให้การเข้าถึงบทความทางวิชาการภายใต้เพย์วอลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ณ ปี พ.ศ. 2559 ไซ-ฮับรวบรวมบทความไว้มากกว่า 50 ล้านบทความ[47][48] เอลบัคยานมักถูกเปรียบเทียบกับสวอตซ์ ด้วยความที่เธอมักวิจารณ์เพย์วอล รวมไปถึงความทุ่มเทที่เธอมีต่อไซ-ฮับ โดยเธอกล่าวว่าจะไม่ยอมปิดเว็บไซต์แม้จะโดนฟ้องก็ตาม[49]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอรอน_สวอตซ์ http://www.aaronsw.com/ http://www.aaronsw.com/2002/atx/intro http://www.aaronsw.com/weblog/001189 http://blogoscoped.com/archive/2007-05-07-n78.html http://www.bostonmagazine.com/news/article/2014/01... http://www.cbsnews.com/8301-205_162-57563656/co-fo... http://articles.chicagotribune.com/2013-01-13/news... http://harvardmagazine.com/2013/01/rss-creator-aar... http://www.huffingtonpost.com/2013/01/12/aaron-swa... http://www.imdb.com/name/nm2290901/