กิจการของบริษัท ของ แอร์อาระเบีย

An Air Arabia Airbus A320-200 approaching Toulouse–Blagnac Airport (2012)

ผู้บริการและเจ้าของ

แอร์อาระเบียเปิดตัวในปี 2546 เป็นสารการบินต้นทุนต่ำแห่งแรกในตะวันออกกลาง ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดูไบ ภายใต้ชื่อ (DFM: AIRARABIA) ซึ่งทำให้ตอนนี้เป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์กว่า 10,000 ล้าน AED แอร์อาระเบียในวันนี้ประกอบด้วยกลุ่มของสารการบินและบริษัทที่ให้บริการการท่องเที่ยวในตะวันออกลางและแอฟริกาเหนือ

คณะกรรมการประกอบด้วยสมาชิก 7 คน โดยได้รับการคัดเลือกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี แอร์อาระเบียได้รับการตรวจสอบจากคณะกรรมการและอุปสรรคทางการค้าอย่างใกล้ชิด

Board Member Title
อับดุลลา บิน โมฮัมหมัด อัล ทานี่ประธานกรรมการบริการ
อเดล อับดุล อลิประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริหาร
ดร. การ์เนม โมฮัมเม็ด อัล ฮาจรี่กรรมการอิสระ
อะรีฟ นาควิสมาชิกไม่บริหาร
อับดุลลา บิน โมฮัมหมัด อัล ทานี่กรรมการอิสระ
ชีค คาลิด อิสสาม อัล การ์สสิมี่กรรมการอิสระ
อลิ ซาลิม อัล มิดฟากรรมการอิสระ

สำนักงานใหญ่

สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในท่าอากาศยานนานาชาติซาร์จาห์[4]

พันธมิตรทางการค้า

An Air Arabia Airbus A320-200 (2012)

สารการบินแอร์อาระเบียได้ทำสัญญากิจการร่วมค้าในสี่สถานีหลัก โดยเป็นการร่ามทุนกับสายการบินแบร์สกินลาร์คแอร์เซอร์วิส

อียิปต์

แอร์อาระเบีย อียิปต์ เริ่มดำเนินการร่วมทุนกันระหว่างแอร์อาระเบียและอียิปต์เตียนทราเวลและบริษัทการท่องเที่ยว ทราฟโค กรุ๊ป โดยใช้ชื่อว่า "แอร์อาระเบีย อียิปต์" โดยมีสนามบินหลักอยู่ที่ อเล็กซานเดรีย อียิปต์[5] โดยสารการบินได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 22 พฤศภาคม 2553 และดำเนินการให้บริการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน  2553 มีเครื่องให้บริการจำนวน 3 ลำ ในจำนวน  2 ลำให้บริการตามตารางการบิน และอีก 1 ลำ เป็นการให้บริการแบบเช่าเหมาลำจากยุโรปมายังทะเลแดง

จอร์แดน

แอร์อาระเบีย จอร์แดน ใช้ตัวย่อในสมาคมระหว่างประเทศ IATA คือ ทีบีเอ (TBA) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2553 สารการบินแอร์อาระเบียได้มีข้อตกลงกับ ทานทาสกรุ๊ป เพื่อจัดตั้ง "สารการบินแอร์อาระเบีย" มีฐานหลักอยู่ที่ อัมมาน จอร์แดน ปฏิบัติการบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติควีนอาเลีย ไปยัง ยุโรป,ตะวันออกกลาง และ อเมริกาเหนือ[6] เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 สารการบินได้ประกาศถึงความล่าช้าที่จะเป็นศูนย์กลาวของประเทศรวมถึงปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น[7]เดือนมกราคม 2558 สารการบินแอร์อาระเบียออกมาประกาศการเข้าซื้อกิจการของสารการบินเพตราในอัตราส่วนร้อยล่ะ 49 โดยผู้ถือหุ้นหลักของสารการบินเพตรายังคงถือหุ้นในอัตราส่วนร้อยล่ะ 51 และจะมีการรีแบรนด์สารการบินแอร์อาระเบีย จอร์แดนในช่วงต้นปีนี้อีกด้วย โดยจะมีการเพิ่มเครื่องบิน เอ320  อีก 2 ลำ เพื่อจะได้เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของกรุงอัมมาน[8] แอร์อาระเบีย จอร์แดน ยังได้เปิดเส้นทางใหม่ไปยัง คูเวต, ชาม เอล เช็ค, เออบิล และ เจดด้า

โมรอคโค

แอร์ อาระเบีย มารอค (2552-ปัจจุบัน) - เป็นสารการบินร่วมทุนของสารการบินแอร์อาระเบียและนักลงทุนชาวโมรอคโค เนื่องจากโมรอคโคเป็นเหมือนที่มีขนาดใหญ่ในแถบคาซาบลังกา เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 6 พฤศภาคม 2552 เป็นการขยายเส้นทางการบินไปในแถบยุโรป และแอฟริกาแอร์ อาระเบีย มารอค มีเครื่องบินจำนวน 4 ลำที่ให้บริการไปยังจุดหมายปลายทางในยุโรป

เนปาล

ฟลาย เยติ (2550-2551) ปี 2551 สารการบินแอร์อาระเบียได้ตั้งฐานการบินที่เมืองกาตมานดุ ของเนปาลเพื่อทำการบินในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง โดยทำการทำข้อตกลงกับสายการบินเยติ โดยเป็นสารการบินต้นทุนต่ำ ในชื่อ ฟลายเยติ แต่เนื่องจากสภาพการเมืองและเศรษฐกิจไม่ดีในประเทศ ทำให้สายการบินต้องหยุดการให้บริการลงในปี 2551


ใกล้เคียง

แอร์อาลเฌรี แอร์อาระเบีย แอร์อินเดีย แอร์อินเดีย เที่ยวบินที่ 101 แอร์อัสตานา แอร์อินเดียเอกซ์เพรส แอร์อาร์มีเนีย แอร์อินเดียเอกซ์เพรส เที่ยวบินที่ 1344 แอร์อินเดียเอกซ์เพรส เที่ยวบินที่ 812 แอร์อันดามัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอร์อาระเบีย http://www.airarabia.com http://www.airarabia.com/ http://www.airarabia.com/AirArabiaNewEgypt.html http://www.airarabia.com/crp_1/ar/contact-info?pid... http://www.airarabia.com/crp_1/contact-info?pid=12... http://www.airarabia.com/en/air-arabia-2014-full-y... http://www.airarabia.com/en/destinations http://www.arabianbusiness.com/589970-air-arabia-s... http://news.biharprabha.com/2014/03/air-arabia-add... http://www.gulfbase.com/all-year-balance-sheet-air...