ซีกโลกใต้ ของ แอ่งพายุหมุนเขตร้อน

ภายในซีกโลกใต้ พายุหมุนเขตร้อนก่อตัว เป็นประจำระหว่างชายฝั่งอเมริกาและแอฟริกัน พายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ยังได้รับการสังเกตในบางเวลา ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างกันในการแยกพื้นที่ระหว่างชายฝั่งอเมริกาและแอฟริกา ตัวอย่างเช่น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้กำหนดหน่วยงานต่างกัน 3 แอ่งในการติดตามการก่อตัวและเตือนภัยของพายุหมุนเขตร้อน เช่น ระหว่างมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ จากชายฝั่งแอฟริกาถึง 90°ตะวันออก, ภูมิภาคออสเตรเลีย ระหว่าง 90°ตะวันออก ถึง 160°ตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ระหว่าง 160°ตะวันออก ถึง 120°ตะวันตก ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของสหรัฐอเมริกา จะตรวจสอบในทุกภูมิภาค แต่แยกได้ ณ 135°ตะวันออก เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกใต้และมหาสมุทรอินเดียใต้

มหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้

เส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

มหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ในซีกโลกใต้ ระหว่างชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ถึง 90°ตะวันออก และมีการตรวจสอบโดย RSMC เรอูนียง ขณะที่มอริเชียส, ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และหน่วยงานสภาพอากาศในมาดากัสกาก็เข้าตรวจสอบด้วยบางส่วน[28] จนกระทั่งการเริ่มต้นของฤดู 2528–29 แอ่งนี้ขยายไปถึง 80°ตะวันออก โดยระหว่าง 80°ตะวันออก ถึง 90°ตะวันออก ถือเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคออสเตรเลีย[29] เฉลี่ยแล้วมีพายุประมาณ 9 ลูกก่อตัวในแอ่งนี้ ขณะที่ 5 ลูก ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงเทียบเท่ากับพายุเฮอร์ริเคนหรือพายุไต้ฝุ่น[30] พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวบริเวณนี้จะมีผลกระทบต่อบางส่วนของประเทศหรือหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรอินเดีย หรือตามแนวชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา

ภูมิภาคออสเตรเลีย

เส้นทางเดินของพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

จากกลางปี พ.ศ. 2528 แอ่งนี้ขยายไปทางทิศตะวันตกที่ 80°ตะวันออก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพรมแดนด้านตะวันตกจึงอยู่ที่ 90°ตะวันออก[29] กิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมักจะมีผลกระทบกับออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ตามที่สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียรายงาน ส่วนที่ถูกพายุโจมตีบ่อยที่สุดของออสเตรเลียคือช่วงระหว่างเอ็กซ์เมาท์, เวสเทิร์นออสเตรเลีย ถึงบรูม, เวสเทิร์นออสเตรเลีย[31] โดยเฉลี่ยอ่างนี้จะมีพายุประมาณ 7 ลูกต่อปี แม้ว่ามันสามารถมีมากขึ้นได้จากแอ่งอื่นๆ ได้ เช่น แปซิฟิกใต้[7][32][33] โดยมีพายุไซโคลนแวนซ์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 มีความเร็วลมสูงที่สุดที่เคยบันทึกไว้ที่เมืองในออสเตรเลีย ประมาณ 267 กม./ชม.[34]

มหาสมุทรแปซิฟิกใต้

เส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

แอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เริ่มต้นที่ 160°ตะวันออก และไปสิ้นสุดที่ 120°ตะวันตก ซึ่งมีหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบพายุอย่างเป็นทางการคือหน่วยงานทางอุตุนิยมวิทยาของฟิจิ และนิวซีแลนด์ พายุที่ก่อตัวในเขตนี้โดยทั่วไปจะส่งผลกระทบต่อประเทศทางตะวันตกของเส้นวัน แม้ว่าช่วงเอลนีโญจะมีพายุก่อตัวช่วงตะวันออกของเส้นแบ่งวันใกล้กับเฟรนช์โปลินีเซีย โดยเฉลี่ยในแอ่งนี้จะมีพายุก่อตัวประมาณ 1/2 ลูกและกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนรุนแรง

มหาสมุทรแอตแลนติกใต้

พายุหมุนเขตร้อนก่อตัวในแอ่งนี้ได้ยาก และแอ่งนี้ก็ไม่ได้เป็นแอ่งพายุหมุนเขตร้อนอย่างเป็นทางการ โดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนและพายุโซนร้อนสามารถก่อตัวได้เป็นครั้งคราวได้ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และพายุที่กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนอย่างเต็มตัวคือ พายุไซโคลนคาตารินา เมื่อปี พ.ศ. 2547 และพัดเข้าถล่มบราซิล ต่อมาคือพายุโซนร้อนแอนิตา พ.ศ. 2553 ที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งของริโอแกรนด์โดซูล

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอ่งพายุหมุนเขตร้อน http://www.bom.gov.au/amm/docs/1986/kingston.pdf http://www.bom.gov.au/announcements/media_releases... http://www.bom.gov.au/announcements/sevwx/ http://www.bom.gov.au/cyclone/climatology/wa.shtml http://www.bom.gov.au/weather/cyclone/tc-trends.sh... http://www.tethys.cat/node/331 http://www.wmo.ch/web/www/TCP/RSMC-TCWC/RSMC-LaReu... http://books.google.com/?id=-tBa1DWYoDIC&pg=PA227&... http://www.mindspring.com/~jbeven/intr0008.htm http://archives.starbulletin.com/2006/08/23/news/s...