โกทูโนว์

โกทูโนว์ (GotoKnow.org) เป็นเว็บไซต์ให้บริการบล็อก สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต พัฒนาโดย ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ และ ผศ. ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2548[1] โดยในขณะนั้นมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่ ซานฟรานซิสโกประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะย้ายมาเมืองไทยในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2549[2] ภายใต้การสนับสนุนหลักจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) โดยภายในเว็บไซต์มีการแบ่งย่อยเนื้อหาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออกเป็นกลุ่มเนื้อหาต่าง ๆ เช่น ชุมชนเบาหวาน ชุมชนอาหารปลอดภัย ชุมชนการป้องกันโรค นอกจากนี้ ในแต่ละหน้าจะเชื่อมโยงกันตามกลุ่มป้ายเพื่อง่ายต่อการค้นหาและเชื่อมโยงเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกันผู้เขียน GotoKnow ส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาวิชา จากองค์กรเอกชน หน่วยงานรัฐบาล วงการศึกษา และวงการแพทย์ โดยมีผู้เขียนมากกว่า 65,000 คน และมีผู้เข้าชมกว่า 21,000 คนต่อวัน โดยเฉพาะในวงการศึกษาศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช และคณะได้นำหลักการแนวคิดในการจัดการความรู้มาเผยแพร่ให้กับผู้บริหารต้นแบบของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2547 และได้มีนักการศึกษาหลายท่านนำไปขยายผลต่อยอดการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ เช่น ดร.ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ ได้เขียนหนังสือ "การจัดการความรู้สู่การประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา" เพื่อเป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการความรู้ ของนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในรุ่นปัจจุบันเป็นซอฟต์แวร์เสรีในชื่อ "KnowledgeVolution" ที่พัฒนาโดย ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ และ ผศ. ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ใช้ลิขสิทธิ์แบบ GPL ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมสำหรับการบริหารจัดการ GotoKnow.org นั้น ในช่วง 3 ปีแรกของการดำเนินงานได้รับการสนับสนุนงบประมาณในพัฒนาระบบและบริหารจัดการจากสถาบันส่งเสริมการจัดกาความรู้เพื่อสังคม (สคส.) อีกทั้งในช่วงก่อนหมดทุนในปีที่ 3 ได้มีการรับเงินบริจาคจากสมาชิก GotoKnow.org เพื่อสมทบทุน "กองทุนเพื่อการบริหารจัดการ GotoKnow.org / Learners.in.th" และ ณ ปัจจุบัน GotoKnow.org ได้รับการสนับสนุนหลักจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นทุนสนับสนุนในการพัฒนาระบบและบริหารจัดการเป็นระยะเวลา 3 ปี