โขมด

โขมด [ขะ-โหฺมด] เป็นผีชนิดหนึ่ง มาจากภาษาเขมร (เขมร: ខ្មោច "โขฺมจ" อ่านว่า ขะโม้จ) แปลว่าผีทั่วไป[1] แต่ในคติชนไทยถือว่าเป็นผีชนิดหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของผีกระสือและผีโพง ไม่มีรูปร่างแน่นอน บางแห่งก็ว่ามีลักษณะเป็นดวงไฟกลม ๆ ไฟวับแวมดวงใหญ่ยามวิกาลบริเวณที่ชื้นแฉะ มักลวงคนเดินป่าหลงผิด เข้าใจว่ามีคนถือคบไฟ หรือมีกองไฟอยู่ข้างหน้า หากเดินตามเข้าไป มันก็หายวับแล้วปรากฏเป็นดวงไฟรอบตัวทั้งหน้าและหลัง[2][3]พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายคำว่า ผีโขมด ไว้ว่า "น. ผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืนทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟ อยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป. (ดู โขมด ๑)." และอธิบายคำว่า โขมด ๑ ว่า "[ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืน ทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่า ได้แก่ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้ว ติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี)"[4]