สารประกอบโครเมียม ของ โครเมียม

  1. โลหะโครเมียม Chromium metal
  2. ไดวาเลนต์โครเมียม Divalent chromium compound (Cr2+)
  3. ไตรวาเลนต์โครเมียม Trivalent chromium compound (Cr3+)
  4. เฮกซะวาเลนต์โครเมียม Hexavalent chromium compound (Cr6+)

ไตรวาเลนต์โครเมียม (trivalent chromium, Cr(III))

หรือ chromiccompound เป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายในขบวนการglucose metabolism ส่วน compound อื่น ๆ ที่พบในกลุ่มนี้ ได้แก่ chromic oxide (Cr2O3), chromic sulfate(Cr2[SO4]3), chromic chloride (CrCl3), chromicpotassium sulfate (KCr[SO4]2) และ chromite ore(FeOCr2O3)โครเมียมที่พบตามธรรมชาติส่วนใหญ่อยู่ในรูปไตรวาเลนต์โครเมียม (trivalent chromium, Cr(III)) ถึงอย่างไรก็ตามถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่น การเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-เบส(ด่าง)หรือการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้พบเฮกซะวาเลนต์โครเมียม (hexavalent chromium, Cr(VI)) ได้[5]

ไตรวาเลนต์โครเมียมพบมากในอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เป็นธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ โดยเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์กรดไขมัน และคอเลสเตอรอล รักษาสมดุลของสารอินซูลินในเลือด และควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกาย เปลี่ยนไขมันในร่างกายให้เป็นไขมันดี (HDL) มีการสังเคราะห์ไตรวาเลนต์โครเมียมและวางจำหน่ายเป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมคอเลสเตอรอล หรือต้องการลดความอ้วน[6] โดยทั่วไปคนเราต้องการไตรวาเลนต์โครเมียมในปริมาณ 200 ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียมที่ร่างกายต้องการเป็นโครเมียมที่อยู่ในรูปไตรวาเลนต์โครเมียมเท่านั้น[7]

เฮกซะวาเลนต์โครเมียม (hexavalent chromium, Cr(VI))

เฮกซะวาเลนต์โครเมียมเป็นสารอันตรายที่จัดอยู่ในกลุ่มของสารก่อมะเร็งที่ส่งผลกระทบต่อยีน (genotoxic carcinogen) เมื่อได้รับสารดังกล่าวเป็นเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอด โครงสร้างดีเอ็นเอถูกทำลายได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้เฮกซะวาเลนต์โครเมียมยังถูกสั่งห้าม และจำกัดการใช้ให้มีปริมาณลดน้อยลง มีอุตสาหกรรมจำนวนมากยังคงใช้เป็นวัตถุดิบในหลายผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่เฮกซะวาเลนต์โครเมียมจะเกิดการปนเปื้อนในน้ำ ดังนั้นการเผยแพร่ถึงภัยอันตรายจากการปนเปื้อนของเฮกซะวาเลนต์โครเมียม วิธีการป้องกัน และการตรวจวัดนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยทั่วไป

เฮกซะวาเลนต์โครเมียม (hexavalent chromium, Cr(VI))แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย

  1. กลุ่มที่ละลายน้ำได้ (water-soluble hexavalent compounds) ได้แก่ chromic acid, anhydride of chromicacid, monochromate, dichromate of sodium, potassium,

ammonium, cesium, rubidium และ lithium เป็นต้น

  1. กลุ่มที่ไม่ละลายน้ำ (water-insoluble hexavalent compounds) ได้แก่ zinc chromate, calcium chromate,lead chromate,

barium chromate, strontium chromate และ sintered chromium trioxide เป็นต้น [8]

ผู้ได้รับสารเฮกซะวาเลนต์โครเมียมจะมีอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง เป็นโรคหอบหืด โรคระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปอด ตับ ไต และลำไส้ถูกทำลาย มีอาการบวมน้ำ และเจ็บแถวกระบังลมหรือลิ้นปี[9]