โคลงเคลง
โคลงเคลง

โคลงเคลง

โคลงเคลง หรือ สำเหร่ (อังกฤษ: Malabar melastome หรือ Indian rhododendron) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ประเภท ไม้ดอกล้มลุกในวงศ์ โคลงเคลง (Melastomataceae) ลักษณะกิ่งสี่เหลี่ยมมักมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวคู่ตรงข้าม เรียงแบบสลับน้อย เส้นใบ 3-9 ออกจากจุดเดียวกันตรงฐานใบ แล้วเบนเข้าหาปลายใบ เส้นใบย่อยเรียงแบบขั้นบันได ไม่มีหูใบ ออกดอกเป็นช่อ สมบูรณ์เพศ มีสมมาตรตามรัศมี กลีบเลี้ยง 3-6 (ส่วนใหญ่ 5) กลีบดอก 5 เรียงเกยซ้อนกันในดอกอ่อน เกสรเพศผู้ (ก้านชูอับละอองเรณู) มีประมาณ 10 เกสรเรียงเป็น 2 วงและมีรยางค์ รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลเมื่อแก่เปลือกจะแห้ง และแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เป็นพืชพิ้นเมืองในบริเวณชีวภูมิภาค อินโดมาลายา, ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย พบได้ทั่วไปในทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง ที่ความสูงระหว่าง 100 ถึง 2,800 เมตร[2] มีสรรพคุณเป็นยาพื้นบ้านในหลายพื้นที่ของโลก[3] แก้คอพอก แก้อาเจียนเป็นเลือด และถ่ายเป็นเลือด รากใช้เป็นยา แก้ร้อนในกระหายน้ำ แต่ได้ถูกระบุว่าเป็นวัชพืชที่เป็นภัยคุกคามในสหรัฐอเมริกา[4] โคลงเคลงสามารถสะสมธาตุอะลูมิเนียมโดยการดูดซืมทางรากได้มาก จึงสามารถนำมาใช้ในการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมด้วยพืช[5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โคลงเคลง http://www.anbg.gov.au/abrs/online-resources/flora... http://www.anbg.gov.au/cgi-bin/apni?00TAXON_NAME=M... http://plantnet.rbgsyd.nsw.gov.au/cgi-bin/NSWfl.pl... http://www.rbgsyd.nsw.gov.au/__data/assets/pdf_fil... http://www.ehp.qld.gov.au/plants/census_qld_flora.... http://keys.trin.org.au:8080/key-server/data/0e0f0... http://www.dongdib.com/kp_bot_garden/kpb_17-1.htm http://www.hindawi.com/journals/ecam/2012/258434/ http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl... http://www.amjbot.org/content/88/3/486.short