การใช้งานทางเภสัชวิทยา ของ โคลชิซีน

กลไกการออกฤทธิ์

โคลชิซีนยับยั้งการเกิดโพลีเมอร์ของไมโครทูบูล โดยเข้าไปจับกับทูบูลิน ทำให้ไม่เกิดไมโครทูบูล ทำให้สารนี้เป็นพิษต่อกระบวนการแบ่งเซลล์ โดยยับยั้งการทำงานของเส้นใยสปินเดิล[4] ทำให้นำมาใช้งานทางด้านการศึกษาพันธุศาสตร์ของเซลล์ เช่น การศึกษาคาริโอไทป์

การใช้เป็นยา

โคลชิซีนสามารถยับยั้งการเคลื่อนที่และการทำงานของนิวโตรฟิล จึงยับยั้งการอักเสบได้ จึงใช้เป็นยาแก้อักเสบสำหรับการรักษาBehçet's disease ในระยะยาว[5] ใช้รักษา constipation-predominant irritable bowel syndrome ในผู้หญิง [6] และใช้รักษา persistent aphthous stomatitis (canker sores)[7]

ความเป็นพิษ

ความเป็นพิษของโคลชิซีนเทียบได้กับความเป็นพิษของสารหนู อาการเกิดขึ้นภายใน 2 -5 ชั่วโมงหลังจากที่ยาในปริมาณที่เป็นพิษถูกย่อย มีรอยไหม้ที่ปากและคอหอย อาเจียน ระคายเคือง เป็นไข้ อาการปวดและไตวาย การทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะหลายระบบ เกิดขึ้นภายใน 24 - 72 ชั่วโมง จนทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ยังไม่มียาต้านฤทธิ์โคลชิซีนโดยตรง แต่มีการรักษาหลายวิธีที่ได้ผล[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โคลชิซีน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.5933.... http://biotech.icmb.utexas.edu/botany/colch.html http://www.phc.vcu.edu/Feature/oldfeature/colchici... http://www.cdc.gov/niosh/ershdb/EmergencyResponseC... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21111934 http://www.bentham-direct.org/pages/content.php?CD... http://www.commonchemistry.org/ChemicalDetail.aspx... //doi.org/10.1016%2Fj.ejim.2010.09.010 //doi.org/10.1021%2Fja01532a070 https://echa.europa.eu/substance-information/-/sub...