กระบวนการเกิดดินหรือโคลนถล่ม ของ โคลนถล่ม

ส่วนใหญ่การย้ายมวลที่กล่าวถึงกันบ่อยๆ คือ แผ่นดินเลื่อน (Landslide) หรือดินถล่ม โดยรวมเอาวิธีการย้ายมวลทุกรูปแบบไว้ด้วยกัน ซึ่งความจริงยังไม่ถูกต้องมากนัก รูปแบบการย้ายมวลมีหลายกระบวนการด้วยกัน โดยถือปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกำหนด

  1. ความเร็วของการย้ายมวล
  2. ปริมาณน้ำที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
  3. ชนิดของสารที่เกิดการย้ายมวล
  4. ความลาดชันของพื้นที่

หากจำแนกตาม Sharpe (1938) จะพิจารณาความเร็วของการย้ายมวล ปริมาณน้ำและความลาดชันของพื้นที่เป็นสำคัญ โดยเรียงลำดับจาก ปริมาณน้ำน้อยและมีการเคลื่อนตัวของมวลสารมาก ในพื้นที่ความลาดชันสูง – ปริมาณน้ำมากและมีการเคลื่อนตัวของมวลสารน้อย ในพื้นที่ความลาดชันต่ำ ดังนี้[1]

  1. แผ่นดินถล่ม
  2. กองหินจากการถล่ม ซึ่งเป็นการถล่มอย่างรวดเร็วจากเทือกเขาสูงชัน โดยอัตราความเร็วอาจมากกว่า 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถทำลายสิ่งต่างๆที่ขวางกั้น
  3. ดินเลื่อน เป็นการเคลื่อนตัวของหินหรือหินผุตามไหล่เขาหรือลาดเขาจากแรงดึงดูดของโลก การเลื่อนตัวเป็นไปอย่างช้า ๆจนสามารถกำหนดขอบเขตของการเลื่อนตัวด้านข้าง ถ้าปริมาณน้ำมากขึ้นและการเคลื่อนตัวเร็วขึ้นดินเลื่อนอาจเปลี่ยนเป็นโคลนไหล
  4. น้ำหลากแผ่ซ่าน เป็นลักษณะการหลั่งไหลของน้ำแผ่ซ่านจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ขณะฝนตกหนัก เพราะปริมาณน้ำมีมากจนไหลลงร่องห้วยลำธารต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการไหลแผ่ซ่านของน้ำออกเป็นผืนบาง ๆ บนผิวดิน
  5. การกร่อนแบบพื้นผิว เป็นการกร่อนผุพังของพื้นผิวที่มักเกิดในฤดูฝน เพราะน้ำฝนไหลหลากลงสู่ร่องลำธารต่างๆไม่ทันจึงไหลแผ่ซ่านไปตามพื้นดินที่ต่ำกว่า ทำให้เกิดการกัดกร่อนเป็นบริเวณกว้างกว่าน้ำหลากแผ่ซ่าน
  6. ธารน้ำ

ใกล้เคียง