โควตาอิมเปรีอาลี

โควตาอิมเปรีอาลี หรือ โควตาอิมพิเรียรี[1] (อังกฤษ: Imperiali quota) เป็นสูตรคำนวณใช้สำหรับหาค่าต่ำสุดหรือโควตาของจำนวนผลคะแนนเสียงที่ใช้สำหรับการจัดสรรปันส่วนจำนวนที่นั่งในระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง หรือระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อโดยใช้วิธีเหลือเศษสูงสุด โดยโควตาอิมเปรีอาลีมีความแตกต่างจากวิธีอิมเปรีอาลี (Imperiali method) โดยเป็นชนิดหนึ่งของวิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยทั้งคู่ตั้งชื่อตามปีแยร์ อิมเปรีอาลี วุฒิสมาชิกชาวเบลเยียมเอกวาดอร์และเช็กเกียอยู่ในกลุ่มไม่กี่ประเทศที่ใช้การจัดสรรปันส่วนที่นั่งในระบบนี้ ในขณะที่อิตาลีใช้ในสภาผู้แทนราษฎรช่วง ค.ศ. 1946 ถึงค.ศ. 1993ในการใช้โควตาอิมเปรีอาลีเป็นสูตรคำนวณนั้น หากพรรคการเมืองจำนวนหลายพรรคสามารถได้คะแนนเสียงเกินจำนวนโควตาไปไม่มาก จะมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการจัดสรรที่นั่งให้กับพรรคการเมืองทั้งหมดมากกว่าจำนวนที่นั่งที่มีในสภา (ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นในโควตาแฮร์หรือโควตาดรูป ดังนั้นหากเกิดกรณีนี้ขึ้น ผลลัพธ์จะต้องถูกคำนวณใหม่โดยใช้โควตาที่สูงขึ้น (โดยปกติแล้วนิยมใช้โควตาดรูป) โดยหากไม่พบปัญหาดังกล่าวโควตาอิมเปรีอาลีสามารถใช้จัดสรรที่นั่งได้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีโดนต์โควตาอิมเปรีอาลีนั้นไม่ใช่อย่างเดียวกับวิธีอิมเปรีอาลี อันเป็นแบบหนึ่งของวิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด ซึ่งมาจากชื่อเดียวกัน