การก่อตัว ของ โดมความร้อน

โดมความร้อนของคลื่นความร้อนในอเมริกาเหนือตะวันตกปี ค.ศ. 2021 เหนือผืนโลกบริเวณแคนาดาตะวันตกและสหรัฐอเมริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ความกดอากาศ "สูง" (high - H) คือโดมความร้อน

ในสภาวะอากาศที่แห้งแล้งในฤดูร้อน มวลของอากาศร้อนส่วนมากก่อตัวขึ้น (ทั้งจากการดูดซับและคายความร้อนของพื้นผิวดินในยามกลางวันในฤดูร้อนตามปกติ และมวลอากาศร้อนจากมหาสมุทร) ตามภาวะปกติอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้น แต่ในกรณีนี้มวลอากาศที่มีแรงดันสูงชั้นบรรยากาศ (ที่เรียก ความกดอากาศสูง) กดดันให้มวลอากาศร้อนที่พยายามลอยตัวเหล่านี้ลงสู่พื้นด้านล่าง ทำให้อุณหภูมิร้อนขึ้นและหนาแน่นขึ้นอีก ความกดอากาศสูงทำหน้าที่เป็นเสมือนโดม (ฝาครอบ) ทำให้ทุกสิ่งที่อยู่ด้านล่างร้อนขึ้นเรื่อย ๆ[1]

โดยทั่วไปความกดอากาศสูงจากชั้นบรรยากาศที่ก่อให้เกิดโดมความร้อน เกิดขี้นจากการปิดกั้นกระแสลมบริเวณหนี่งไม่ไหลเวียนตามปกติ (บล็อก) โดยเฉพาะที่เกิดจากการเปลี่ยนทิศทางขนานใหญ่ของกระแสลมกรด (กระแสเจ็ตสตรีม; jet stream)[4] ให้พัดอ้อมไปทางขั้วโลก (poleward shift) ซึ่งมีแนวโน้มที่จะก่อตัวขึ้นในช่วงปีลานีญา การเปลี่ยนทิศทางของการไหลของกระแสลมกรดให้คดงอ บิดเบี้ยวเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ จนกระแสลมกรดพัดเกือบเป็นวงรอบ โอบล้อม และกักมวลอากาศไว้ แนวกระแสลมกรดที่โอบล้อมนี้สร้างความกดอากาศสูงภายในและทำให้มวลอากาศร้อนเดิมในบริเวณ ติดนิ่งอยู่กับที่ก่อตัวเป็นโดมความร้อน[1]

บล็อก

การคงสภาพอากาศอยู่ในบริเวณเดิมนานหลายวัน หรือแม้แต่หลายสัปดาห์ และกีดกันระบบสภาพอากาศอื่น ๆ ไม่ให้เคลื่อนผ่านบริเวณนี้ (กระแสอากาศที่เคลื่อนมาบริเวณนี้ต้องไหลอ้อมไปทางอื่น) จึงเรียกสภาวะอากาศเช่นนี้ว่า "บล็อก" (block) กระแสลมกรดที่ไหลคดงอมีรูปร่างคล้ายตัวอักษรกรีก Ω (Omega) จึงถูกเรียกว่า โอเมก้าบล็อก (Omega block)

คลื่นความร้อน

โดยปกติที่อากาศที่ร้อนจะลอยตัวสูงหรือถูกพัดไปบริเวณอื่นด้วยกระแสลม แต่ที่บริเวณใจกลางของโอเมก้าบล็อกมีความกดอากาศสูงจากการปิดล้อม ซึ่งทำให้อากาศระดับสูงกดอัดอากาศที่อยู่ต่ำกว่าลงไป มวลอากาศร้อนที่ถูกกดลงไปทำให้อากาศใกล้ผิวพื้นร้อนขึ้น สิ่งมีชีวิตที่อยู่บนพื้นจะรับรู้ความร้อนนี้และเรียกว่า “คลื่นความร้อน”

ภาวะโลกร้อนและความถี่ในการก่อตัว

โดมความร้อนอาจเกิดบ่อยขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามโดมความร้อนนี้เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ทางภูมิอากาศที่เกิดขึ้นได้ยากที่สุด และการวัดคำนวนความถี่จากสถิติการบันทึกข้อมูลอุณหภูมิในอดีตเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากเช่นกัน โดยจากสภาพอากาศในปัจจุบันคาดว่าความเป็นไปได้ที่จะเกิดโดมความร้อนประมาณ 1 ครั้งในทุก 1,000 ปี[5] เจฟ เบราร์เดลลี (Jeff Berardelli) นักอุตุนิยมวิทยาของช่องซีบีเอส ให้ความเห็นว่าโอกาสที่จะประสบโดมความร้อนนี้มีโอกาส 1 ครั้งใน 10,000 ปี[6]

แนวโน้มในโลกอนาคต จากการสันนิษฐานเมื่อโลกที่มีภาวะโลกร้อน 2 องศาเซลเซียส (คือ ร้อนกว่าปัจจุบัน 0.8 องศาเซลเซียส และมีการคงระดับการปล่อยมลพิษเท่ากับระดับปัจจุบันไปถึงช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2040) คาดว่าอุณหภูมิในโดมความร้อนจะร้อนขึ้น และโดมความร้อนอาจเกิดขึ้นประมาณทุก ๆ 5–10 ปี[5]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โดมความร้อน https://www.accuweather.com/en/weather-news/what-i... https://www.axios.com/northwest-heat-dome-global-w... https://www.nationalgeographic.com/environment/art... https://scitechdaily.com/remarkable-heatwave-scorc... https://www.usatoday.com/story/news/nation/2021/06... https://www.vox.com/22538401/heat-wave-record-temp... https://oceanservice.noaa.gov/facts/heat-dome.html https://en.wikipedia.org/wiki/File:500-mb_pressure... https://en.wikipedia.org/wiki/File:Heat_Wave.jpg https://www.worldweatherattribution.org/western-no...