ผลงาน ของ โทมัส_ยัง

การทดลองการแทรกสอดของแสงผ่านช่องคู่

ประมาณปี พ.ศ. 2344 โทมัสได้ทดลองส่องแสงผ่านช่องคู่เล็ก ๆ ที่เจาะไว้บนพื้นทึบ เขาสังเกตเห็นแถบมืดสลับกับแถบสว่างบริเวณฉากซึ่งอยู่ไกลออกไป จนเกิดแนวคิดว่า แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง

มอดุลัสของยัง

ดูบทความหลักที่: มอดุลัสของยัง

โทมัสได้เสนอค่า ๆ หนึ่ง ที่เรียกว่า "มอดุลัสของยัง" เพื่อใช้ในการกำหนดความแข็งของวัตถุ ซึ่งหาได้จากผลหารของความเค้น (stress) และความเครียด (strain) ดังสมการ

λ = s t r e s s s t r a i n = F / A x / l = F l A x {\displaystyle \lambda ={\frac {stress}{strain}}={\frac {F/A}{x/l}}={\frac {Fl}{Ax}}}

โดยที่

λ {\displaystyle \,\lambda \,} คือค่ามอดุลัสของยัง หน่วยเป็นปาสกาล (นิวตันต่อตารางเมตร)

F {\displaystyle \,F\,} แทนแรงที่กระทำกับวัตถุ หน่วยเป็นนิวตัน

A {\displaystyle \,A\,} แทนพื้นที่ของวัตถุบริเวณที่แรงนั้นกระทำ หน่วยเป็นตารางเมตร

x {\displaystyle \,x\,} แทนความยาวที่เปลี่ยนแปลงของวัสดุหลังการออกแรง หน่วยเป็นเมตร

l {\displaystyle \,l\,} แทนความยาวก่อนการยืดหรือหดของวัสดุ หน่วยเป็นเมตร

ยิ่งค่ามอดุลัสของยังสูง วัตถุก็ยิ่งแข็งขึ้น

การแพทย์

โทมัสได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการแพทย์อยู่จำนวนหนึ่ง ได้แก่หนังสือชื่อ System of Practical Nosology (พ.ศ. 2356) และ A Practical and Historical Treatise on Consumptive Diseases (พ.ศ. 2358) นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2351 เขาเคยบรรยายเรื่อง "หน้าที่ของหัวใจและหลอดเลือดอาร์เตอรี่" ("Functions of the Heart and Arteries")

ภาษา

โทมัสเป็นผู้หนึ่งที่พยายามปริวรรต (การถอดตัวอักษรจากระบบอักษรหนึ่งไปหาอีกระบบอักษรหนึ่ง) หลักศิลาโรเซตตา โดยใช้อักษรที่มีผู้จัดทำไว้ก่อนแล้ว คือ ซิลแวสเตรอ เดอ ซาซี (Silvestre de Sacy) นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และโยฮัน ดาวิด ออเกอบลัด (Johan David Åkerblad) นักการทูตชาวสวีเดน ทว่าโทมัสทำได้เพียงส่วนหนึ่ง แล้วก็ล้มเหลวในการเรียนอักษรนี้ ต่อมาเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง Account of the Recent Discoveries in Hieroglyphic Literature and Egyptian Antiquities เกี่ยวกับผลงานของเขาเอง

ในเวลาต่อมา ฌ็อง-ฟร็องซัว ช็องปอลียง (Jean-François Champollion) นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสทำการปริวรรตได้สำเร็จ โทมัสเมื่อทราบเรื่องก็พยายามแก้ข่าวว่า ฌ็องได้ใช้ผลงานของเขาช่วยในการปริวรรต และจะขอเป็นส่วนหนึ่งของผลงานด้วย แต่ฌ็องไม่ยอม จนเกิดการแบ่งฝักฝ่ายทางความคิดระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ในที่สุดฌ็องได้ใช้ความรู้ด้านอักษรเฮียโรกลิฟฟิกที่เหนือกว่าของโทมัส อธิบายว่า โทมัสแปลผิดหลักไวยากรณ์หลายจุด ในที่สุดผลงานจึงตกเป็นของฌ็องคนเดียว

อย่างไรก็ดี ฌ็องได้ให้โทมัสมาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟ (Musée du Louvre) ซึ่งตัวฌ็องเองก็เป็นภัณฑารักษ์อยู่ที่นี่