ปารีส ของ โทมัส_ฮอบส์

ที่ปารีสฮอบส์ได้ศึกษาลัทธิปรัชญาในหลาย ๆ ด้านและได้ทดลองเข้าถึงปัญหาด้วยแนวทางฟิสิกส์ ได้พยายามไปถึงการวางระบบความคิดที่ละเอียดบรรจงขึ้นซึ่งได้กลายเป็นงานที่ฮอบบ์ได้อุทิศชีวิตให้ ฮอบส์ได้ทำศาสตรนิพนธ์หลายเรื่อง เช่นเกี่ยวกับลัทธิที่เป็นระบบเกี่ยวกับร่างกายเพื่อแสดงให้เห็นว่าปรากฏการณ์ทางกายภาพสามารถอธิบายอาการเคลื่อนไหวได้อย่างไร ฮอบบ์ได้แยกเอา มนุษย์ ออกจากอาณาจักรของธรรมชาติและพืชพรรณ ในอีกศาสนตรนิพนธ์หนึ่ง ฮอบบ์ได้แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวเฉพาะบางอย่างของร่างกายเนื่องมาจากผลของปรากฏการณ์ผัสสาการ (ศัพท์ปรัชญา = sensation) ความรู้ วิภาพ (ความชอบ = affection) และกัมมภาวะ (ความดูดดื่ม, กิเลส = passion) และสุดท้ายในศาสตรนิพนธ์อันลือชื่อ ฮอบบ์แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ถูกผลักดันเข้าสังคมได้อย่างไรและตั้งประเด็นว่าจะต้องออกกฎระเบียบใช้บังคับหากไม่ต้องการให้มนุษย์ต้องตกสู่ "ความเหี้ยมโหดและความทุกข์ระทม" ทำให้ฮอบบ์เสนอการรวมปรากฏการณ์ที่ว่าแยกกันของ ร่างกาย" มนุษย์และ รัฐ เข้าเป็นหนึ่งเดียว

โทมัส ฮอบบ์กลับบ้านเมื่อ พ.ศ. 2180 ในขณะที่อังกฤษกำลังเกิดสงครามกลางเมืองสู้กันระหว่างบิชอปซึ่งมีผลกระทบต่องานศึกษาค้นคว้าทางปรัชญา แต่ฮอบส์ก็สามารถเขียนศาสตรนิพนธ์เรื่อง "Human Nature" และ "De Corpore Politico" แล้วเสร็จและตีพิมพ์ร่วมกันภายหลังใน 10 ปีต่อมาในชื่อ "The Element Of Law"

ในปี พ.ศ. 2183 ฮอบส์ได้หนีกลับไปฝั่งเศสอีกครั้งด้วยรู้ว่าการเผยแพร่ศาสตรนิพนธ์ที่เขาเขียนขึ้นกำลังให้ร้ายแก่ตัวเอง คราวนี้ฮอบส์ไม่ได้กลับบ้านอีกเป็นเวลา 11 ปี ฮอบส์ได้เขียนหนังสืออื่น ๆ อีกหลายเล่มเกี่ยวกับปรัชญาการเมือง เขาเกิดในยุคเดียวกับ เดส์การตส์ และเขียนบทวิจารณ์ตอบบทหนึ่งของหนังสือ "การครุ่นคิด" ของเดส์การตส์ซึ่งตีพิมพ์เมื่อพ.ศ. 2184 งานเขียนหลาย ๆ เรื่องของฮอบส์ได้ส่งให้เขามีชื่อเสียงมากขึ้นในวงวิชาการด้านปรัชญา

ใกล้เคียง

โทมัส มึลเลอร์ โทมัส ทุคเคิล โทมัส แซงสเตอร์ โทมัส ฮิทเซิลส์แพร์เกอร์ โทมัส ฮอบส์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ โทมัส เรตต์ โทมัส เนเวอร์กรีน โทมัส เฮเดน เชิร์ช โทมัส ยอร์ช น็อกซ์