โทรศัพท์ฉุกเฉินริมถนน ของ โทรศัพท์ฉุกเฉิน

แม้ว่าจะระบุได้ยากว่าโทรศัพท์บนทางหลวงรุ่นแรกนั้นได้รับการพัฒนาเมื่อไหร่และที่ไหน แต่ตัวอย่างแรก ๆ ที่เห็นได้ชัดคือโทรศัพท์บนทางด่วนที่พัฒนาขึ้นในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2509 ระบบนี้พัฒนาขึ้นโดย อลัน ฮาร์แมน พนักงานของบริษัทรักษาความปลอดภัยแห่งหนึ่งในออสเตรเลียตะวันตก คือบริษัทสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signals Pty Ltd) เกิดขึ้นหลังจากที่เขาได้อ่านข่าวการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ครั้งใหญ่บนทางด่วนควินาน่า ซึ่งบทความในหนังสือพิมพ์กล่าวว่าการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและเกี่ยวข้องในอุบัติเหตุรถยนต์ครั้งนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยระบบที่ฮาร์แมนคิดเอาไว้นั้นคือการติดตั้งชุดโทรศัพท์ในกล่องบนเสาสั้น ติดตั้งเว้นระยะห่างทุก ๆ 160 เมตร (0.1 ไมล์) บนทางด่วนของเมืองเพิร์ท โดยสายโทรศัพท์จะถูกส่งสัญญาณต่อไปยังสัญญาณเตือนภัยในศูนย์ควบคุมถนนสายหลัก และผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับบริการฉุกเฉินคือตำรวจ หน่วยดับเพลิง หรือรถพยาบาลได้ ฮาร์แมนได้พัฒนาระบบดังกล่าวโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการทางหลวงสายหลักและหัวหน้าวิศวกร โดยพัฒนาจากสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารที่มีใช้งานอยู่ในบริษัทรักษาความปลอดภัยที่เขาทำงานอยู่[3]

โทรศัพท์ฉุกเฉินมักจะถูกพบได้ตามถนนสายหลักทั่วโลก ในสหราชอาณาจักร ตู้โทรศัพท์ฉุกเฉิน "SOS" สีส้มจะมีการติดตั้งโดยเว้นระยะห่างทุก 1.6 กิโลเมตร (1 ไมล์) บนมอเตอร์เวย์ทุกสายและถนนสายหลักซีรีย์ "A" บางสาย โดยมีการติดตั้งเครื่องหมายระบุที่ตั้งของโทรศัพท์ที่ใกล้ที่สุดในทุกช่วงของเส้นทาง ในเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 โทรศัพท์ฉุกเฉินได้รับการติดตั้งในทุก ๆ 0.25 ไมล์ (400 เมตร) บนทางหลวงแบบปิด (ทางด่วน) ในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โทรศัพท์ฉุกเฉินถูกนำมาใช้ในทางด่วนในเขตเมืองในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งแต่เดิมมีใช้งานเพียงบนทางด่วนทัลลามารีน ตะวันออกเฉียงใต้ และทางด่วนโลเวอร์ยาร์รา (เวส์เกท)[4] ในอิตาลี มอเตอร์เวย์ออโตสเทรด (Autostrade) จะมีการติดตั้งโทรศัพท์ฉุกเฉิน "SOS" ในทุกระยะห่าง 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) ในประเทศไทยโทรศัพท์ฉุกเฉินจะมีการติดตั้งอยู่บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)[5] และทางด่วนเส้นต่าง ๆ[6] ในระยะห่างทุก ๆ 500 เมตรถึง 1 กิโลเมตร[7]

เนื่องจากการเติบโตของการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ความต้องการใช้งานโทรศัพท์ฉุกเฉินลดลง จึงมีแผนที่จะยุติการให้บริการในหลายเมือง[8] ในแคลิฟอร์เนีย ตู้โทรศัพท์บนทางด่วนมีการใช้งานลดลงจาก 98,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2544 เหลือเพียง 21,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2553 หรือประมาณ 1 ครั้งต่อกล่องต่อเดือน โดยการดูแลรักษาตู้โทรศัพท์บนทางด่วนโดยหน่วยบริการทางด่วนและทางด่วนพิเศษ (Service Authority for Freeways and Expressways: SAFE) ในบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก ปี พ.ศ. 2554 มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี[9] ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2553 แคลิฟอร์เนียได้ถอดตู้โทรศัพท์ส่วนใหญ่ในเขตเมืองและชานเมืองออก เหลือติดตั้งเพียงในพื้นที่ที่มีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่น้อยหรือสัญญาณโทรศัพท์น้อยเท่านั้น[10][11]

โทรศัพท์เหล่านี้มักมีการทำเครื่องหมายด้วยสติ๊กเกอร์หรือป้ายที่ระบุหมายเลขประจำตัวเครื่องหรือสัญลักษณ์เฉพาะประจำตู้ที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบได้ว่าผู้โทรโทรมาจากที่ใด แม้ว่าตัวผู้โทรจะไม่ทราบก็ตามที โดยให้ผู้โทรอ่านหมายเลขประจำเครื่องหรือเครื่องหมายเฉพาะบนโทรศัพท์ โทรศัพท์บางรุ่นมีการติดตั้งระบบระบุตัวตนของเครื่องแบบอัตโนมัติ ทำให้เจ้าหน้าที่ที่รับสายสามารถระบุตำแหน่งของผู้โทรได้เลย แม้ว่าผู้โทรจะไม่สามารถระบุที่อยู่ของตัวเองได้ก็ตามเช่นกัน ซึ่งในมลรัฐส่วนใหญ่ของสหรัฐที่มีตู้โทรศัพท์ริมถนน ป้ายบนตู้โทรศัพท์จะมีการระบุหลักกิโลเมตรของเส้นทางนั้น ในขณะที่รัฐแคลิฟอร์เนียนั้นตู้โทรศัพท์จะระบุตามระยะทางที่ผ่านในแต่ละพื้นที่โดยใช้หมายเลขเฉพาะของรัฐคือเลขโพสต์ไมล์เป็นตัวอ้างอิง โดยในแต่ละตู้จะมีตัวอักษรระบุสำหรับเขต ตามด้วยหมายเลขเส้นทาง จากนั้นหมายเลขหลักที่สามและสี่จะเป็นระยะทางที่อิงตามหลักกิโลเมตร โดยคำนวนเป็นระยะในทุก 10 ไมล์

โทรศัพท์เหล่านี้มักถูกทำเครื่องหมายด้วยป้ายหรือป้ายที่ระบุหมายเลขประจำเครื่องหรือตัวระบุที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบได้อย่างแน่ชัดว่าผู้โทรอยู่ที่ไหน - แม้ว่าผู้โทรจะไม่ทราบ - โดยให้ผู้โทรอ่านหมายเลขระบุแบบสั้นจากป้ายด้านบน โทรศัพท์. โทรศัพท์บางรุ่นมีการติดตั้งหมายเลขผู้โทรเทียบเท่า และตัวแทนที่รับสายสามารถระบุตำแหน่งได้ แม้ว่าผู้โทรจะไม่สามารถทำได้ก็ตาม ในรัฐส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาที่มีตู้โทรศัพท์ริมถนน ป้ายตู้โทรศัพท์จะมีการอ่านหลักไมล์ของเส้นทาง ในแคลิฟอร์เนีย ตู้โทรศัพท์จะระบุตามระยะทางผ่านแต่ละเขตโดยใช้ไปรษณีย์เป็นข้อมูลอ้างอิง แต่ละกล่องจะมีตัวระบุ 2 ตัวอักษรสำหรับเขต ตามด้วยหมายเลขเส้นทาง จากนั้นตัวเลข 3 หรือ 4 หลักที่สอดคล้องกับระยะทางหลังการเดินทางของเส้นทางโดยคำนวณเป็นสิบไมล์

ใกล้เคียง

โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย โทรศัพท์ฉุกเฉิน โทรศัพท์ โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์อัจฉริยะ การโทรศัพท์ภาพ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย โทรทัศน์

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทรศัพท์ฉุกเฉิน https://oes.ucsc.edu/emergency-preparedness/blue-l... https://www.cpp.edu/police/programs-and-services/c... http://www.doh-motorway.com/motorway-project/centr... https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_763... https://car.kapook.com/view198802.html http://www.ocregister.com/ocr/2005/05/17/sections/... https://www.isacseacon.com/necsl1000/%E0%B8%81%E0%... https://wayback.archive-it.org/12090/2021043000273... https://madison.com/wsj/news/local/education/unive... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Emerge...