โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์

โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์เริ่มต้นขึ้นโดยอาศัยระยะเวลายาวนานจากบรรพบุรุษของมนุษย์เมื่อราว 3 ล้านปีก่อน จนกระทั่งกลายมาเป็น Homo Sapeins sapiens ในปัจจุบัน ในประเทศไทยเอง วิวัฒนาการของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาจสืบย้อนไปได้ราว 90,000 ปีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง ในขณะที่นักโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมถึงนักวิชาการสาขาอื่น ๆ ต่างก็พยายามค้นหามนุษย์ "โฮโม อีเรคตัส"ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์สกุลหนึ่งในประเทศไทยเหตุที่มีการพยายามตามหามนุษย์โฮโม อีเรคตัสในประเทศไทยนี้ สืบเนื่องมาจากทฤษฎีการแพร่กระจายของมนุษย์โดยการเคลื่อนย้ายออกจากแอฟริกา (Out of Africa)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระจายตัวออกไปไกลเกินทวีปยุโรปเมื่อราว 1.6 ล้านปีมาแล้ว การแพร่กระจายมายังเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีหลักฐานปรากฏโด่งดังที่สุดได้แก่ "มนุษย์ปักกิ่ง" ที่พบจากการขุดค้นที่ถ้ำโจวโข่วเถี้ยนในประเทศจีนและ "มนุษย์ชวา" ที่พบในอินโดนีเซีย สัณฐานของโครงกระดูกทั้งสองนี้บ่งชี้ว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์genusโฮโม species อีเรคตัส จะเห็นว่าพื้นที่ที่เป็นรอยต่อระหว่างจีนกับอินโดนีเซียได้แก่ภาคพื้นทวีปอุษาคเนย์นี่เอง สภาพแวดล้อมเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยในช่วงไพลสโตซีนตอนต้น (Early Pleistocene 1.8 - 0.73 MA) แบ่งตามการแบ่งยุคสมัยทางธรณีวิทยาของ ดร.รัศมี ชูทรงเดช ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันเป็น missing link ดังกล่าว

ใกล้เคียง

โบราณสถานถ้ำพระ โบราณสถาน โบราณคดี โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ โบราณสถานโรมันและโรมาเนสก์ที่อาร์ล โบราณสถานแห่งเติงเฟิง โบราณวัตถุ โบราณจีน โบราณสถานวัดคุ้งตะเภา โบราณสถานและแหล่งประวัติศาสตร์ในแคซ็อง