ชีวิตของนักบุญฟรานซิส ของ โบสถ์น้อยซัสเซตตี

จิตรกรรมฝาผนังชุดชีวิตวาดบนผนังสามด้านของชาเปลเป็นฉากจากประวัติของนักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิที่มีด้วยกันทั้งหมดหกฉาก:

  • “นักบุญฟรานซิสสละสมบัติ” (Renunciation of Worldly Goods)
  • “อนุมัติกฎฟรานซิสกัน” (The Confirmation of the Franciscan Rule)
  • “นักบุญฟรานซิสลุยไฟ” (The Test of Fire)
  • “ปาฏิหาริย์ของแผลศักดิ์สิทธิ์” (The Miracle of the Stigmata)
  • “ความตายของนักบุญฟรานซิส” (Death of St. Francis)
  • “นักบุญฟรานซิสชุบชีวิตเด็ก” (The Resurrection of the Boy)

เกอร์ลันเดาอาจจะไม่เคยเห็นภาพชุดชีวิตของนักบุญฟรานซิสในมหาวิหารเซนต์ฟรานซิสแห่งอาซิซิที่อาซิซิ แต่น่าจะทราบถึงภาพชุดเดียวกันในชาเปลบาร์ดิในบาซิลิกาซานตาโครเชในฟลอเรนซ์ที่วาดโดยจอตโต ดี บอนโดเนในคริสต์ศตวรรษที่ 14

“นักบุญฟรานซิสสละสมบัติ”

“นักบุญฟรานซิสสละสมบัติ”“อนุมัติกฎฟรานซิสกัน”

ฉากนี้ตั้งอยู่ที่มุมซ้ายบนของผนัง เป็นภาพนักบุญฟรานซิสประกาศสละสมบัติทางโลกทั้งหมดโดยถอดเสื้อผ้าออกหมดต่อหน้าสาธารณชนโดยมีบาทหลวงแห่งเปรูเจียเป็นผู้ปกป้อง พ่อที่โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงถูกรั้งตัวอยู่ทางซ้าย ฉากในภาพเป็นฉากในเมืองทางตอนเหนือของยุโรปที่เชื่อกันว่าเป็นเมืองเจนีวาหรือลีอองที่ซาสเซ็ตติเคยไปทำงานให้ตระกูลเมดิชิ ตัวแบบรองๆ ในภาพอาจจะวาดโดยพี่น้องของโดเม็นนิโคและเวิร์คช็อพ

“อนุมัติกฎฟรานซิสกัน”

ฉากนี้ตั้งอยู่ตรงกลางด้านบนของผนัง เป็นภาพนักบุญฟรานซิสเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3ที่มหาวิหารเซนต์จอห์นแลเตอร์รันในโอกาสที่ทรงอนุมัติลัทธิฟรานซิสกัน ฉากเกิดขึ้นภายในมหาวิหารซึ่งทำให้ซุ้มโค้งของชาเปลเปรียบเหมือนซุ้มประตูชัย (triumphal arch) รายละเอียดอื่นๆ ในภาพแสดงว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ฟลอเรนซ์แทนที่จะเป็นโรม เพราะฉากหลังเป็นจตุรัสซินยอเรีย (Piazza della Signoria),พาลัซโซ เวคคิโอ (Palazzo Vecchio) และศาลาลันซิ (Loggia dei Lanzi) (ที่ขณะนั้นยังไม่มีรูปปั้นต่างๆ) การเลือกฟลอเรนซ์ก็เป็นนัยในการแสดงถึงความมีอำนาจและฐานะของฟลอเรนซ์ในขณะนั้น ในหมู่นักมนุษย์วิทยาถือกันว่าฟลอเรนซ์เป็นโรมหรือเยรุซาเล็มใหม่

ภาพร่างของงานชิ้นนี้ที่ปัจจุบันอยู่ที่เบอร์ลินแสดงให้เห็นว่าเกอร์ลันเดาตั้งใจจะเขียนภาพที่มีลักษณะโบราณกว่าภาพที่เห็นในปัจจุบันเป็นแบบไอคอนตามแบบจิตรกรรมฝาผนังในวัดซานตาโครเชโดยไม่มีภาพเหมือน แต่มาเปลี่ยนแปลงโดยการแบ่งภาพออกเป็นสามตอน: บันได, วัด และฉากหลัง ทางด้านขวาด้านหน้าเป็นภาพพี่เขยของซาสเซ็ตติ กอนฟาโลเนียริ ดิ จุสติเซีย อันโตนิโอ พุชชิ (Gonfaloniere di Giustizia Antonio Pucci), นายจ้างลอเรนโซ เดอ เมดิชิ; ตัวฟรานเชสโกเองและลูกชายเฟเดอริโค ลอเรนโซยกมือทักทายอักโนโล โพลิเซียโน ครูของลูกชายสามคนที่กำลังเดินขึ้นบันไดตามมา (จุยเลียโน (Giuliano di Lorenzo de' Medici), เปียโร (Piero di Lorenzo de' Medici) และ จิโอวานนิ ผู้ต่อมาเป็นพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ตามด้วยสมาชิกของสถาบันมนุษย์วิทยา ลุยจิ พุลชิ (Luigi Pulci) และ มัตเตโอ ฟรังโค (Matteo Franco) ซาสเซ็ตติชี้ไปทางกลุ่มลูกชายอีกด้านหนึ่งของบันได: กาเลอัซโซ, เทโอโดโร และโคสิโม

ภาพนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของเกอร์ลันเดาแสดงภาพเหมือนของคนสำคัญๆ ในฟลอเรนซ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ไม่เหมือนกับงานของบอตติเชลลีที่ก็เขียนภาพของตระกูลเมดิชิเช่นกัน แต่งานของบอตติเชลลีไม่มีลักษณะเก๋ (stylised) หรือ เทิดทูนตัวแบบ (idealised) เท่างานของเกอร์ลันเดา

“นักบุญฟรานซิสลุยไฟ”

“นักบุญฟรานซิสลุยไฟ”“ปาฏิหาริย์ของแผลศักดิ์สิทธิ์”

ฉากนี้ตั้งอยู่ที่มุมขวาบนของผนัง เป็นภาพนักบุญฟรานซิสเทศนาสุลต่านอัล-คามิลแห่งจักรวรรดิออตโตมัน (Al-Kamil) ผู้มีพระราชโองการให้นักบุญฟรานซิสลุยไฟเพื่อเป็นการพิสูจน์ถึงความศรัทธา องค์ประกอบของภาพคล้ายงานของจอตโตในวัดซานตาโครเชโดยมีสุลต่านอยู่กลางภาพ นักบุญฟรานซิสอยู่ทางขวากับหลวงพ่อฟรานซิสกันที่ติดตามมา แต่ความสามารถในการเขียนตัวแบบด้านหน้าที่หันหลังให้ผู้ดูทำให้เป็นงานที่เรียกว่าดีที่สุดในภาพชุดนี้

“ปาฏิหาริย์ของแผลศักดิ์สิทธิ์”

ฉากนี้ตั้งอยู่ที่มุมซ้ายล่างของผนัง เป็นภาพนักบุญฟรานซิสคุกเข่าอ้าแขนรับการมาปรากฏตัวของพระเยซูบนกางเขนรับโดยกลุ่มเทวดาเชอรูบิม จิตรกรรมฝาผนังเขียนภายในสิบวัน แม้ว่าองค์ประกอบของภาพจะคล้ายกับงานของจอตโตในวัดซานตาโครเช แต่เกอร์ลันเดาน่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากงานแกะหินอ่อนนูนบนแท่นเทศน์ของเบ็นเนเด็ตโต ดา มาเอียโน (Benedetto da Maiano) ในวัดซานตาโครเชเช่นกัน ปาฏิหาริย์ในภาพเกิดขึ้นที่ลาเวอร์นา (La Verna) ที่เห็นปราสาทอยู่ในฉากหลังที่วาดอย่างละเอียดละออรวมทั้งกวางที่วาดอย่างงดงาม ทางขวาเป็นภาพเมืองริมฝั่งทะเลสาบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของปิซาที่รวมทั้งมหาวิหารปิซาและหอเอนปิซา

“ความตายของนักบุญฟรานซิส”

ฉากสุดท้ายของภาพชุดอยู่ทางมุมล่างซ้ายของผนังเป็นฉากที่เขียนเสร็จภายใน 28 วัน เป็นภาพร่างของนักบุญฟรานซิสที่เสียชีวิตไปแล้วที่นอนอยู่บนแท่นวางร่างผู้เสียชีวิต (catafalque) กลางวัดแบบเรอเนสซองซ์ ล้อมรอบไปด้วยนักบวชและคนอื่นๆ การวางองค์ประกอบมาจากงานของจอตโตในวัดซานตาโครเชที่จะเห็นได้จากรายละเอียดต่างๆ เช่นการวางท่าของนักบวช แต่เกอร์ลันเดาจะเพิ่มรายละเอียดที่ต่างออกไปเช่นฉากหลังที่ยิ่งใหญ่ และท่าทางการตอบรับของบุคคลต่างๆ ในภาพ

ชายสามคนทางขวาที่เป็นพ่อและลูกชายกับหลานอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับครอบครัวซาสเซ็ตติ ทางด้านขวาเป็นครูโปลิเซียโนที่ยืนข้างบาโทโลมิโอ โฟนซิโอ (Bartolomeo Fonzio)

“นักบุญฟรานซิสชุบชีวิตเด็ก”

“ความตายของนักบุญฟรานซิส”“นักบุญฟรานซิสชุบชีวิตเด็ก”

ฉากนี้เป็นฉากที่เกิดขึ้นหลังจากนักบุญฟรานซิสเสียชีวิตไปแล้วที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวซาสเซ็ตติฉะนั้นจึงตั้งอยู่ตรงกลางชาเปลไม่อยู่ในลำดับเรื่องตามกาลเวลาที่เกิดขึ้น เป็นภาพการชุบชีวิตของเด็กผู้ชายที่ตายเพราะตกจากพาลัซโซสปินิ เฟโรนิ (Palazzo Spini Feroni) วังในจตุรัสที่อยู่หน้าวัดซานตาทรินิตา จากหลักฐานที่น่าเชื่อถือเกอร์ลันเดาได้รับแรงบันดาลใจจากภาพ “เก็บภาษี” ภายใน ชาเปลบรันคาชชิ (Brancacci Chapel) ที่วาดโดยมาซาชิโอ

เด็กที่ได้รับการชุบชีวิตอยู่กลางองค์ประกอบของภาพ นั่งประสานมือบนที่นอนที่คลุมด้วยผ้าและเครื่องตกแต่งอย่างตะวันออก นักบุญฟรานซิสปรากฏตัวให้พรจากฟ้าด้านบนของภาพ สองข้างภาพเป็นกลุ่มคนที่เห็นเหตุการณ์ ในบรรดาผู้คนก็มีผู้ที่เป็นที่รู้จักกันในฟลอเรนซ์ในสมัยนั้น ผู้หญิงห้าคนทางด้านซ้ายอาจจะเป็นลูกสาวของฟรานเชสโก ซาสเซ็ตติ สามีและคู่หมั้นอยู่ทางขวา ชายคนสุดท้ายของแถวซ้ายแรกคือตัวเกอร์ลันเดาเอง และที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือสาวใช้ชาวมัวร์ คนอื่นๆ ทางขวาก็มี มาโซ เดกลิ อัลบิซซิ (Maso degli Albizzi), อักโนโล อัคเชียโอลิ ดิ คัสสาโน (Agnolo Acciaioli di Cassano), ปัลลา สโตรซซิ (Palla Strozzi) และ เนริ ดิ จิโน คัปโปนิ (Neri di Gino Capponi) สองคนสุดท้ายอาจจะเป็นโพลซิอาโนและโฟนซิโอ

นอกจากนั้นฉากนี้ยังมีความสำคัญตรงที่แสดงรายละเอียดของจตุรัสซานตาทรินิตาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยเห็นด้านหน้าวัดที่ยังเป็นแบบโรมาเนสก์, พาลัซโซสปินิ เฟโรนิที่ดูเหมือนป้อมและสะพานซานตาทรินิตา (Ponte Santa Trinita) ก่อนที่จะได้รับการตกแต่ง กลุ่มคนสามคนที่ยืนอยู่ปลายที่นอนว่ากันว่าเป็นผู้รับใช้

ใกล้เคียง

โบสถ์ โบสถ์คริสต์ โบสถ์กาลหว่าร์ โบสถ์นักบุญโธมัส (ไลพ์ซิช) โบสถ์น้อยซัสเซตตี โบสถ์ชิลก็อล โบสถ์นักบุญโปร์ฟีริออส โบสถ์คาทอลิกนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ โบสถ์วีส โบสถ์แห่งความสามัคคี