ประวัติ ของ โบสถ์วีส

วันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1738 เป็นวันแรกที่มีคำกล่าวอ้างว่า ประชาชนได้เห็นน้ำพระเนตร หลั่งจากพระเนตรของรูปไม้กางเขนแกะสลักไม้ของพระเยซู หรือที่เรียกกันว่าพระมหาไถ่ถูกเฆี่ยน (Scourged Saviour) เรื่องเล่าแห่งปาฏิหาริย์ในครั้งนั้น เป็นเหตุให้มีนักแสวงบุญเดินทางไปจารึกบุญ เยี่ยมชม และอธิษฐานขอพรจากรูปแกะสลักพระเยซูอย่างมากมาย ด้วยความเชื่อที่ว่ารูปแกะสลักนี้สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ในปีค.ศ. 1740 ได้จัดสร้างชาเปลขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปแกะสลักนี้โดยเฉพาะ แต่เนื่องด้วยขนาดของอาคารที่เล็กเกินกว่าที่จะรองรับจำนวนของนักแสวงบุญที่เดินทางมาจารึกบุญ จึงได้มีการตัดสินใจสร้างโบสถ์วีสแห่งนี้ขึ้น

รูปทรงสถาปัตยกรรมภายนอกมีลักษณะการตกแต่งค่อนข้างเรียบ ภายในเป็นทำให้เป็นทรงรูปไข่แม้ว่าตัวสิ่งก่อสร้างจะเป็นสี่เหลี่ยม และเน้นการตกแต่งภายในด้วยปูนปั้นตระกูลโรโกโกเวสโซบรุน ที่เต็มไปด้วยรายละเอียดอย่างวิจิตรตามแบบฉบับของศิลปะโรโกโก การตกแต่งภายในออกแบบโดย โดมีนีคุส ซิมเมอร์มัน ผู้เป็นศิลปินสำคัญของสมัยศิลปะโรโกโก และถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของศิลปีนท่านนี้ โดมีนีคุส ซิมเมอร์มันได้ทุ่มเทสร้างโบสถ์แห่งนี้ เป็นเวลา 11 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ 1745 จนถึงปี ค.ศ. 1754 ก่อนที่จะเสียชีวิตลง

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีข่าวลือว่าทางรัฐบาวาเรียจะขายหรือทุบวัดทิ้งระหว่างสมัยการปฏิรูปที่ดิน ที่โบสถ์รอดมาได้ก็เพราะการประท้วงจากชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณนั้น แต่หลักฐานเท่าที่หลงเหลืออยู่พบว่าคณะกรรมการผู้พิจารณาการยุบอารามตั้งใจจะรักษาเอาวัดแสวงบุญนี้ไว้แม้ว่าแอบบอตของแอบบีไสตน์การ์เดนจะประท้วงเรื่องค่าใช้จ่ายก็ตาม[1]