วิธีการทำภาพโบเก้ ของ โบเก้

โบเก้ที่ถ่ายด้วยความยาวโฟกัส 300 มม. F4 เลนส์ถ่ายไกล ตัวอย่างโบเก้เมื่อใช้เลนส์มหัพภาค (ความยาวโฟกัส 105 มม. F3.3) การใช้เลนส์ถ่ายไกลพิเศษ เพื่อถ่ายภาพวัตถุในระยะใกล้ และการเพิ่มระยะห่างระหว่างฉากหลังกับวัตถุ จะทำให้เค้าโครงของฉากหลังเบลออย่างสมบูรณ์ ในตัวอย่างนี้ ความยาวโฟกัส 600 มม. และพื้นหลังด้านบนเป็นต้นไม้ในสวนด้านล่างเป็นคอนกรีต

มีสามวิธีหลักในการสร้างโบเก้

  1. ถ้าเปิดรูรับแสงให้กว้าง (ลดค่าเอฟ) ช่วงความชัดจะตื้นขึ้น และด้านหน้าและด้านหลังของขอบเขตที่โฟกัสก็จะพร่ามัว ยิ่งค่าเอฟน้อยก็จะเกิดโบเก้มาก แต่ก็จะเกิดความคลาดได้ง่ายมากขึ้นจึงไม่ควรเปิดกว้างมากไป
  2. ถ้าใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาว (เช่น เลนส์ถ่ายไกล) จะทำให้ช่วงความชัดตื้น และสร้างภาพโบเก้ได้ง่าย เช่นในรูปดอกไม้ด้านขวา วิธีนี้อาจใช้กับการถ่ายภาพบุคคล ช่วงความชัดไม่ได้ขึ้นอยู่กับมุมรับภาพ แต่ขึ้นอยู่กับความยาวโฟกัส ดังนั้นในเลนส์ที่มีมุมรับภาพเท่ากัน ยิ่งขนาดวัตถุขึ้น ก็จะเกิดภาพโบเก้ได้ง่ายขึ้น
  3. ยิ่งถ่ายภาพเข้าใกล้วัตถุมากเท่าไหร่ ฉากหลังก็ยิ่งเบลอมากขึ้นเท่านั้น วิธีนี้ถูกนำมาใช้เช่นในการถ่ายภาพดอกไม้ การใช้เลนส์มหัพภาค หรือ กระบอกต่อ ก็มีประสิทธิภาพเช่นกัน และเมื่อใช้ร่วมกับรูรับแสงที่กว้าง ก็จะสามารถสร้างภาพที่สวยงามได้

อนึ่ง ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ช่วงความชัดจะตื้นขึ้นเมื่อใช้เลนส์ถ่ายไกล แต่ช่วงความชัดก็จะลึกขึ้นเมื่อถอยห่างจากวัตถุ ผลก็คือ ถ้าวัตถุเดียวกันถูกถ่ายด้วยขนาดภาพเท่ากัน โบเก้จะเกือบจะเท่ากันไม่ว่าจะใช้เลนส์ความยาวโฟกัสเท่าใดก็ตาม เหตุผลที่มักใช้เลนส์ความยาวโฟกัสยาวเมื่อจะสร้างภาพโบเก้นั้นคือเพื่อปรับมุมรับภาพให้แคบลงและจัดระเบียบฉากหลัง

ใกล้เคียง