วิดีโอเกม ของ โปเกมอน

เจเนอเรชัน

เกมโปเกมอนดั้งเดิมเป็นเกมแนวบทบาทสมมุติ (role-playing games: RPG) ร่วมกับแนววางแผน และถูกสร้างขึ้นโดยซาโตชิ ทาจิริสำหรับเกมบอย เกมแนวบทบาทสมมุตินี้และภาคต่อ รีเมค และเวอร์ชันแปลภาษาอังกฤษถือว่าเป็นเกมโปเกมอน "ภาคหลัก" และเป็นเกมที่แฟนคลับส่วนใหญ่อ้างอิงถึงเมื่อพูดถึง "เกมโปเกมอน" ลิขสิทธิ์โปเกมอนทั้งหมดที่ตรวจสอบโดยบริษัทโปเกมอนถูกแบ่งหยาบๆออกเป็นเจเนอเรชัน เจเนอเรชันเหล่านี้เป็นการแบ่งภาคตามลำดับเวลาตามการออกจำหน่ายในทุกๆหลายปี เมื่อภาคต่ออย่างเป็นทางการของเนื้อเรื่องหลักออกจำหน่ายซึ่งนำเสนอโปเกมอนชนิดใหม่ ตัวละครใหม่ ระบบการเล่นใหม่ ภาคต่อภาคนั้นถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเจเนอเรชันใหม่ของแฟรนไชส์ เกมหลักและของเสริม อนิเมะ และเกมสะสมการ์ดก็จะถูกปรับให้ทันสมัยด้วยคุณลักษณะใหม่ในแต่ละครั้งที่เจเนอเรชันใหม่เริ่มขึ้น แฟรนไชส์โปเกมอนได้เริ่มต้นเจเนอเรชันที่ห้าเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2010 ในประเทศญี่ปุ่น

การต่อสู้ระหว่าง บัลบาซอร์ เลเวล 5 (ด้านล่าง) กับ ชาแมนเดอร์ เลเวล 5 (ด้านบน)ในเกมโปเกมอนเจเนอเรชันแรก โปเกมอน เรดและบลู

แฟรนไชส์โปเกมอนเริ่มต้นเจเนอเรชันแรกด้วยการวางจำหน่าย พ็อคเก็ตมอนสเตอร์ อากะและมิโดริ (เรด และกรีน ตามลำดับ) สำหรับเครื่องเกมบอยในญี่ปุ่น เมื่อเกมได้รับความนิยมอย่างสูง เวอร์ชันปรับปรุง อาโอะ (บลู) ถูกจำหน่ายหลังจากนั้น และเวอร์ชันอาโอะถูกแก้ไขใหม่เป็น โปเกมอนเร้ดแอนด์บลู เพื่อจำหน่ายทั่วโลก เกมเปิดตัวในสหรัฐอเมริกาวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1998 ส่วนเวอร์ชันดั้งเดิม อากะ และ มิโดริ นั้นไม่เคยได้ออกจำหน่ายนอกประเทศญี่ปุ่น[7] หลังจากนั้น เวอร์ชันปรับปรุงต่อไปในชื่อ โปเกมอน เยลโลว์: สเปเชียล พิกะจู๋ เอดิชั่น ออกจำหน่ายเพื่อนำคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเครื่องเกมบอยคัลเลอร์มาใช้ รวมถึงนำเสนอเนื้อเรื่องที่ใกล้เคียงกับอนิเมะมากยิ่งขึ้น เกมเจเนอเรชันแรกนี้นำเสนอโปเกมอนเจเนอเรชันดั้งเดิม 151 ชนิด (เรียงโดยสมุดภาพโปเกมอนสากล ครอบคลุมฟุชิงิดาเนะ จนถึง นิว ธีรเมธ) และแนวคิดพื้นฐานของเกมเกี่ยวกับการจับโปเกมอน การฝึกฝนโปเกมอน การต่อสู้ และการแลกเปลี่ยนโปเกมอนทั้งกับคอมพิวเตอร์และตัวผู้เล่น เกมเวอร์ชันเหล่านี้ดำเนินเนื้อเรื่องในเขตภูมิภาคคันโต ซึ่งเป็นภูมิภาคสมมุติ แม้ว่าชื่อนี้จะไม่ได้ถูกใช้จนถึงเจเนอเรชันที่สอง

เจเนอเรชันที่สองของโปเกมอนเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1999 ด้วยการจำหน่าย โปเกมอน โกลด์และซิลเวอร์ สำหรับเกมบอยคัลเลอร์ เช่นเดียวกับเจเนอเรชันที่แล้ว เวอร์ชันปรับปรุงชื่อ โปเกมอน คริสตัล ก็ถูกจำหน่ายในเวลาต่อมา เจเนอเรชันที่สองนำเสนอโปเกมอนตัวใหม่ 100 ชนิด (เริ่มที่ชิโกริต้า และสิ้นสุดที่ เซเลบี) รวมแล้วมีโปเกมอน 251 ชนิดให้สะสม ฝึกฝน และต่อสู้ นอกจากนี้ยังมีโปเกมอนมินิซึ่งเป็นเครื่องเล่นเกมมือถือออกวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ในญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 และในยุโรปใน ค.ศ. 2002

โปเกมอนเข้าสู่เจเนอเรชันที่สามด้วยการออกจำหน่าย โปเกมอน รูบีและแซฟไฟร์ สำหรับเครื่องเกมบอยแอ็ดวานซ์ในปี ค.ศ. 2002 ตามด้วยเกมโปเกมอน เรดและบลูเวอร์ชันรีเมคในชื่อ โปเกมอน ไฟร์เรดและลีฟกรีน และเวอร์ชันปรับปรุงของโปเกมอน รูบีและแซฟไฟร์ในชื่อ โปเกมอน เอเมอรัลด์ เจเนเรชันที่สามนำเสนอโปเกมอนตัวใหม่ 135 ชนิด (เริ่มที่คิโมริ และสิ้นสุดที่เดโอคิชิสุ) รวมเป็น 386 ชนิด อย่างไรก็ตาม เจเนอเรชันนี้ยังได้รับคำวิจารณ์เกี่ยวกับการนำคุณลักษณะของเกมหลายประการออกไป รวมไปถึง ระบบกลางวันกลางคืนที่มีในเจเนอเรชันที่แล้ว และเป็นเวอร์ชันแรกที่ช่วยให้ผู้เล่นสะสมโปเกมอนเพียงจำนวนที่ระบบได้จัดประเภทไว้แทนที่จะต้องสะสมโปเกมอนทุกชนิด (202 ชนิดจาก 386 ชนิดสามารถหาจับได้ในเกมเวอร์ชันรูบีและแซฟไฟร์)

ในปี ค.ศ. 2006 ญี่ปุ่นได้เริ่มเจเนอเรชันที่สี่ของแฟรนไชส์ด้วยการออกจำหน่ายเกม โปเกมอน ไดมอนด์และเพิร์ล สำหรับเครื่องนินเทนโด ดีเอส เจเนอเรชันที่สี่นำเสนอโปเกมอนตัวใหม่อีก 107 ชนิด (เริ่มที่นาเอโทรุ และสิ้นสุดที่อาร์เซอุส) ทำให้มีโปเกมอนรวม 493 ชนิด[8] "จอสัมผัส" ของนินเทนโด ดีเอส ทำให้เกมมีคุณลักษณะใหม่ เช่น การทำอาหารโปเกมอนหรือพอฟฟิน (poffin) ด้วยปากกาหรือสไตลัส (stylus) และการใช้ Pokétch แนวคิดระบบการเล่นใหม่รวมไปถึงระบบการจัดประเภทโครงสร้างท่าต่อสู้ใหม่ ระบบการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เล่นแบบออนไลน์และต่อสู้ผ่านการเชื่อมต่อนินเทนโดวายฟาย (Nintendo Wi-Fi Connection) การกลับมา (และส่วนเพิ่มเติม) ของระบบกลางวันกลางคืนจากเจเนอเรชันที่สอง การเพิ่มเติมการประกวดโปเกมอนของเจเนอเรชันที่สามให้เป็น "ซูเปอร์คอนเทสต์" (Super Contest) และภูมิภาคใหม่ชื่อ ซินโนะ (Sinnoh) ที่มีส่วนที่เป็นใต้ดินสำหรับระบบการเล่นแบบหลายคนนอกเหนือจากพื้นที่บนพื้นดิน เช่นเดียวกับโปเกมอนเยลโลว์ คริสตัล และเอเมอรัลด์ เวอร์ชันปรับปรุงของโปเกมอนไดมอนด์แอนด์เพิร์ลมีคือ โปเกมอน แพลตินัม ออกจำหน่ายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 ในญี่ปุ่น เดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 ในสหรัฐอเมริกา และเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 ในออสเตรเลียและยุโรป เกมภาคเสริมในเจเนอเรชันที่สี่คือภาคต่อของโปเกมอนสเตเดียมที่ชื่อ โปเกมอน แบทเทิลเรฟโวลูชัน สำหรับเครื่องวี ที่สามารถเชื่อมต่อวายฟายได้ด้วย[9] นินเทนโดประกาศในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 ว่าภาครีเมคของโปเกมอนโกลด์แอนด์ซิลเวอร์ในชื่อ โปเกมอน ฮาร์ตโกลด์และโซลซิลเวอร์ ออกจำหน่ายสำหรับเครื่องนินเทนโด ดีเอส ภาคฮาร์ตโกลด์และโซลซิลเวอร์นั้น เนื้อเรื่องจะอยู่ที่ภูมิภาคโจโตและออกจำหน่ายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 ในญี่ปุ่น[10]

เจเนอเรชันที่ห้าของโปเกมอนเริ่มในวันที่ 18 กันยายนด้วยการออกจำหน่ายเกม โปเกมอน แบล็คและไวท์ ในญี่ปุ่นสำหรับเครื่องนินเทนโด ดีเอส[11] เดิมบริษัทโปเกมอนได้ประกาศเกมนี้ออกเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2010 ว่ายังไม่แน่นอนว่าจะออกจำหน่ายในปีนั้น[12][13] ก่อนจะประกาศในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2010 ว่าเกมจะออกจำหน่ายวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2010[14] เวอร์ชันนี้ฉากถูกตั้งอยู่ที่ภูมิภาคอิชชูหรือยูโนวา และใช้ความสามารถในการเรนเดอร์ 3 มิติของเครื่องนินเทนโด ดีเอสให้มีขอบเขตเหนือกว่าภาคแพลตินัม ฮาร์ตโกลด์และโซลซิลเวอร์ อย่างที่เห็นในฉากตัวผู้เล่นเดินผ่านมหานคร Castelia City มีโปเกมอนตัวใหม่ทั้งหมด 156 ชนิดแนะนำในเจเนอเรชันนี้ (เริ่มที่วิคทินี่ และสิ้นสุดที่เกโนเซคท์)[15] รวมถึงกลไลเกมใหม่ เช่น ซีเกียร์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติการเชื่อมต่อแบบไร้สาย[16] และความสามารถในการอัปโหลดข้อมูลเกี่ยวกับเกมลงอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ของผู้เล่น[17] โปเกมอน แบล็คและไวท์ออกจำหน่ายในยุโรปวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2011 ในอเมริกาเหนือวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 2011 และออสเตรเลียในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2011 ในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 นินเทนโดออกจำหน่าย โปเกมอน แบล็คทูและไวท์ทูในญี่ปุ่นสำหรับเครื่องนินเทนโด ดีเอส และในอเมริกาเหนือและยุโรปเมื่อต้นเดือนตุลาคม

ในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2013 นินเทนโดประกาศเกม โปเกมอน เอกซ์และวาย สำหรับเครื่องนินเทนโด 3ดีเอส อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเจเนอเรชันที่หกของเกม เกมจะถูกเรนเดอร์ในแบบ 3 มิติ และออกจำหน่ายในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2013 [18] ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 นินเทนโดได้ประกาศภาครีเมคของ"โปเกมอนรูบีและแซฟไฟร์" ในชื่อ "โปเกมอน โอเมก้ารูบี้และอัลฟ่าแซฟไฟร์" พร้อมเนื้อหาเพิ่มเติม ออกจำหน่ายในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015

คุณภาพและกราฟิกได้ถูกพัฒนารูปแบบให้เป็น Full Body ในเกม "โปเกมอน ซันและมูน" ที่ถูกประกาศโดยนินเทนโดในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ซึ่งถือว่าเป็นเจเนอเรชั่นที่เจ็ดของเกม และจำหน่ายพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ต่อมาในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2017 นินเทนโดได้ประกาศเกม "โปเกมอน อัลตร้าซันและอัลตร้ามูน" ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องในโลกคู่ขนานของโปเกมอนซันและมูน และวางขายพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 และถือว่าเป็นภาคสุดท้ายของเกมโปเกมอนในเครื่องนินเทนโด 3ดีเอส และล่าสุดวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 นินเทนโดได้ประกาศเกมโปเกมอนภาคหลักเกมแรกในเครื่องนินเท็นโดสวิตช์ 'โปเกมอน เล็ตส์โกพิคาชู!และเล็ตส์โกอีวุย!' ซึ่งเป็นการรีเมคของโปเกมอนเยลโล่ว์ โดยนำเสนอโปเกมอนเพียงแค่เจเนอเรชั่นที่ 1 เท่านั้น (151 ตัว) แต่ได้มีการประกาศถึงโปเกมอนมายาใหม่ 2 ตัวจากเจเนอเรชั่นที่ 7 "เมลตัน" และ "เมลเมตัล" ที่สามารถหาได้จากโปเกมอน โก ซึ่งสามารถส่งไปที่เกมโปเกมอน เล็ตส์โกพิคาชู!และเล็ตส์โกอีวุย!ได้เช่นกัน ทำให้ในภาคนี้มีโปเกมอนทั้งหมด 153 ตัว เกมภาคนี้ได้ออกจำหน่ายทั่วโลกในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018

ล่าสุดในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 ได้มีการประกาศเกมโปเกมอนภาคใหม่ และภาคแรกของเจเนอเรชั่นที่แปด ผ่านทาง Pokémon Direct โดยปรากฏชื่อภาคใหม่ว่า "โปเกมอน ซอร์ดและชิลด์" ลงในเครื่องนินเท็นโดสวิตซ์ โดยในเกมภาคนี้นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือ จะมีโปเกมอนไม่ครบทุกสายพันธุ์อีกต่อไป เนื่องจากการพัฒนากราฟิกของโมเดลโปเกมอนทุกตัวนั้นจะทำให้เกมออกจำหน่ายได้ไม่ตรงเวลา เกมภาคนี้จะมีการวางจำหน่ายพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019

กลไกของการเล่น

ดูบทความหลักที่: ระบบเกมโปเกมอน

แกนหลักของซีรีส์เกมโปเกมอนนั้นพัวพันกับการจับและการต่อสู้กับโปเกมอน เริ่มจากโปเกมอนเริ่มต้น ผู้เล่นสามารถจับโปเกมอนป่าโดยทำให้มันอ่อนแอและจับมันด้วยโปเกบอล ในทางกลับกัน พวกเขาสามารถเลือกที่จะต่อสู้กับมันให้ชนะแล้วโปเกมอนจะได้รับค่าประสบการณ์ เป็นการเพิ่มระดับหรือเลเวลและสอนท่าใหม่ ๆ ให้กับมัน โปเกมอนตัวหนึ่งสามารถวิวัฒนาการไปเป็นร่างใหม่ที่แข็งแกร่งขึ้นได้ด้วยการเพิ่มระดับหรือด้วยการใช้ไอเทมที่เกมกำหนด ตลอดการเล่นเกม ผู้เล่นจะต้องต่อสู้กับนักฝึกโปเกมอนเพื่อดำเนินเรื่อง ด้วยเป้าหมายหลักคือหัวหน้ายิมที่หลากหลายและได้สิทธิในการเป็นแชมป์เปียนในทัวร์นาเมนต์ เกมภาคต่อๆมาได้เปิดตัวภารกิจรองมากมาย รวมถึงแบทเทิลฟรอนเทียร์ที่มีรูปแบบการต่อสู้ที่เป็นเอกลักษณ์ และการประกวดโปเกมอนที่จะได้เห็นการแสดงของโปเกมอนบนจอ

โปเกมอนเริ่มต้น

อีกมุมมองที่สอดคล้องกันของเกมโปเกมอน ตั้งแต่โปเกมอน เร้ด และ บลู บนเครื่องเกมบอย ไปจนถึงโปเกมอนแบล็ค และ ไวท์บนเครื่องนินเทนโด ดีเอส คือการที่ผู้เล่นสามารถเลือกโปเกมอนหนึ่งในสามที่กำหนดไว้เป็นตัวเริ่มต้นของการผจญภัย เรียกโปเกมอนสามตัวเหล่านี้ว่า "โปเกมอนเริ่มต้น" (starter Pokémon) ผู้เล่นสามารถเลือกโปเกมอนรูปแบบพืช รูปแบบไฟ หรือรูปแบบน้ำได้[19] ตัวอย่างเช่น ในโปเกมอนเร้ด และ บลู (และเวอร์ชันรีเมค ไฟร์เร้ด และ ลีฟกรีน) ผู้เล่นสามารถเลือกฟุชิงิดาเนะ ฮิโตะคาเงะ และเซนิกาเมะ แต่ในโปเกมอนเยลโล่ว์ ซึ่งเป็นภาคที่สร้างขึ้นโดยมีเนื้อเรื่องอ้างอิงตามเนื้อเรื่องของอนิเมะ ผู้เล่นจะได้รับพิกะจู รูปแบบไฟฟ้า มาเป็นโปเกมอนเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในภาคนี้ ผู้เล่นจะได้รับโปเกมอนเริ่มต้นสามตัวของภาค เร้ด และ บลู ระหว่างทางในภายหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นในเกมอื่น ๆ ของแฟรนไชส์[20] อีกมุมมองหนึ่ง คู่แข่งของผู้เล่นจะเลือกโปเกมอนเริ่มต้นที่มีรูปแบบได้เปรียบกับโปเกมอนของเราเสมอ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้เล่นเลือกโปเกมอนรูปแบบพืช คู่แข่งก็จะเลือกโปเกมอนรูปแบบไฟ เป็นต้น แต่ในโปเกมอน เยลโล่ว์ ซึ่งมีข้อยกเว้นนั้น คู่แข่งจะเลือกอีวุยเป็นโปเกมอนเริ่มต้น แต่ต่อมาอีวุยจะพัฒนาร่างได้เป็นธันเดอร์ส ชาวเวอร์ส หรือบูสเตอร์นั้น จะถูกตัดสินจากผลการต่อสู้กับคู่แข่งว่าแพ้หรือชนะในระหว่างทาง ในเกมบนเครื่องเล่น เกมคิวบ์ ที่ชื่อ โปเกมอนโคลอสเซียม และโปเกมอนเอ็กดี: เกลออฟดาร์คเนส ก็มีข้อยกเว้น นั้นคือในขณะที่เกมส่วนใหญ่ โปเกมอนเริ่มต้นจะเริ่มที่เลเวล 5 แต่เกมเหล่านี้จะเริ่มต้นการเดินทางที่เลเวล 10 และ 25 ตามลำดับ ใน โคลอสเซียม โปเกมอนเริ่มต้นของผู้เล่นคือเอฟี และแบล็คกี้ และใน เกลออฟดาร์คเนส โปเกมอนเริ่มต้นของผู้เล่นคือ อีวุย

สมุดภาพโปเกมอน

สมุดภาพโปเกมอน (Pokédex) เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สมมุติในอนิเมะและวิดีโอเกมโปเกมอน สำหรับในเกมนั้น เมื่อใดที่โปเกมอนตัวหนึ่ง ๆ ถูกจับเป็นครั้งแรก ข้อมูลของมันจะเพิ่มเข้าไปในสมุดภาพนี้ แต่ในอนิเมะหรือมังงะนั้น สมุดภาพโปเกมอนเป็นสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ปกติมีไว้เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ของโปเกมอน สมุดภาพโปเกมอนยังใช้ในการอ้างอิงถึงรายชื่อโปเกมอนซึ่งโดยทั่วไปจะเรียงตามหมายเลข ในวิดีโอเกม นักฝึกโปเกมอนจะเห็นเป็นที่ว่างเปล่า ณ ขณะเริ่มต้นเกม ผู้ฝึกจะต้องพยายามเติมเต็มสมุดภาพโดยเผชิญหน้ากับโปเกมอน และจับมันให้ได้สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ผู้เล่นจะเห็นชื่อและรูปภาพของโปเกมอหลังจกไข่พบเจอโปเกมอนที่ไม่เคยเจอมาก่อน หลังจากการต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นโปเกมอนป่า หรือการต่อสู้กับผู้ฝึกคนอื่น (ยกเว้นการต่อสู้แบบเชื่อมต่อเครื่องเล่นกับผู้เล่นคนอื่น เช่นในแบทเทิลฟรอนเทียร์) ในโปเกมอนภาคเร้ดและบลู ข้อมูลโปเกมอนจะเพิ่มในสมุดภาพง่าย ๆ โดยการดูรูปโปเกมอน เช่นในสวนสัตว์นอกเขตซาฟารีโซน ตัวละคร NPC ก็อาจทำให้สมุดภาพเพิ่มข้อมูลโปเกมอนเข้าไปได้โดยการอธิบายลักษณะของโปเกมอนระหว่างการพูดคุยกัน ข้อมูลอื่น ๆ หาได้หลังจากผู้เล่นได้รับโปเกมอนสายพันธุ์นั้น ๆ แล้ว หรืออาจจะผ่านการจับโปเกมอนป่า การพัฒนาร่างของโปเกมอน การฟักไข่ (ตั้งแต่รุ่นที่สองเป็นต้นมา) หรือการแลกเปลี่ยนโปเกมอน ข้อมูลที่จะได้เห็นเหล่านั้นเช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ชนิดสายพันธุ์ และรายละเอียดสั้น ๆ ของโปเกมอน ในภาคต่อ ๆ มา สมุดภาพรุ่นใหม่อาจมีข้อมูลรายละเอียดที่มากขึ้นเช่น ขนาดของตัวโปเกมอนเปรียบเทียบกับตัวผู้ฝึก หรือรายชื่อโปเกมอนแยกตามถิ่นที่อยู่อาศัย (ข้อมูลนี้จะเห็นได้แค่ในภาคไฟร์เร้ดและลีฟกรีนเท่านั้น) สมุดภาพโปเกมอนล่าสุดสามารถจุข้อมูลของโปเกมอนทุกตัวที่รู้จักกันในปัจจุบัน เกมโปเกมอน โคลอสเซียม และโปเกมอนเอกซ์ดี:เกลออฟดาร์คเนส บนเครื่องเกมคิวบ์ มีระบบการช่วยเหลือข้อมูลโปเกมอนแบบดิจิทัล (Pokémon Digital Assistant; P★DA) ดูคล้ายกับสมุดภาพโปเกมอน แต่สามารถบอกว่าโปเกมอนรูปแบบไหนได้เปรียบหรือเสียเปรียบโปเกมอนรูปแบบไหน และยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถเฉพาะของโปเกมอนได้ด้วย[21]

เทรนเนอร์

ผู้จับโปเกมอนต้องใช้โปเกมอนในการสู้กัน ในเกมเมื่อเจอใช้ท้าสู้กับผู้เล่น โดยเทรนเนอร์ทุกคนจะมีโปเกมอนหลักสูงสุดที่พกติดตัวคือ 6 ตัว กับสามารถจับเพิ่มได้ โดยส่วนเกินนั้นจะเอาไปเก็บในคลังโดยเก็บมากเท่าไหร่ก็ได้ โดยเทรนเนอร์มีลำดับตามกันไปของแต่ละเขต เมื่อเทรนเนอร์ที่อยู่เขตไหนรวบรวมเข็ดกลดครบ 8 อันของเขตนั้น จะสามารถเข้าร่วมแข่งโปเกมอนลีคได้ โดยการแข่งนั้นจะป็นการเฟ้นหาตัวแชมป์เปี้ยน

  1. เทรนเนอร์ เป็นลำดับทั่วไปที่มีมากที่สุด
  2. โคดิเนเตอร์ เป็นเทรนเนอร์ที่เข้าประกวดโปเกมอนคอนเทสต์เป็นหลัก
  3. เพอร์ฟอเมอร์ เป็นเทรนเนอร์ที่เข้าประกวดไตรโปคาลอน ซึ่งจะมีเฉพาะภูมิภาคคาลอสและมีแค่ผู้หญิงเท่านั้น
  4. ยิมลีดเดอร์ เป็นเทรนเนอร์ขั้นพิเศษในแต่ละเขต จะมีเมืองที่ตนประจำการอยู่ โดยเป็นเทรนเนอร์ที่เป็นเจ้าของยิม เรียกได้ว่าเป็นผู้นำเมืองเกี่ยวกับโปเกมอน กับคอยให้เทรนเนอร์ที่เดินทางผ่านเพื่อฝึกใช้โปเกมอนต่อสู้ โดยทือเทรนเนอร์ชนะยิมลีดเดอร์ได้ หรือยิมลีดเดอร์ยอมรับในตัวเทรนเนอร์ จะมอบเข็มกลัดหรือเหรียญตราเป็นรางวัล ซึ่งเขตอโลล่าเป็นเขตเดียวที่ไม่มียิมลีดเดอร์
  5. เบรน เทรนเนอร์พิเศษที่มีฝีมือเหนือกว่ายิมลีดเดอร์ โดยจะอยู่ที่ทาวเวอร์ที่เป็นหอคอยของแบทเทิลฟรอนเทียร์ โดยเป็นเทรนเนอร์ที่อยู่ลำดับเข้าใกล้จตุรเทพมาก มีไม่กี่เขตที่มีเบรน
  6. 4 จตุรเทพ เทรนเนอร์ที่อยู่เหนือกว่ายิมลีดเดอร์ โดยเป็นเทรนเนอร์ที่เคยเข้าร่วมโปเกมอนลีคมาก่อน โดยทั้ง 4 คน จะเป็นเทรนเนอร์ที่เข้าใกล้ตำแหน่งแชมป์เปี้ยนมากที่สุด เมื่อแชมป์เปี้ยนถูกโค่น จะถูกลดขั้นมาเป็น 1 ในจตุรเทพ ส่วนคนที่เป็นจตุรเทพลำดับล่างสุดจะถูกปลดออกไป ไม่ก็ถ้าแชมป์เปี้ยนถอนตัว จะให้ 1 ใน 4 คนมาแทนที่ กับหาคนมาเพิ่มในตำแหน่งที่ว่างของจตุรเทพ ไม่ก็ถ้าแชมป์เปี้ยนถอนตัว กับทั้ง 4 คนทั้งยังเลือกเป็นจตุรเทพอยู่ จะต้องหาแชมป์เปี้ยนคนใหม่จากการที่ให้เทรนเนอร์ที่ผ่านการแข่งโปเกมอนลีคมานั้นให้มาท้าสู้กับจตุรเทพ ถึงได้เป็นแชมป์เปี้ยนคนใหม่ ซึ่งจากระบบยิมชาเล้นจ์ของภูมิภาคกาล่าร์ทำให้เป็นเขตเดียวที่ไม่มี 4 จตุรเทพ
  7. แชมป์เปี้ยน ผู้เป็นเทรนเนอร์ที่แข่งแกร่งที่สุดของเขตนั้น ในบางเขตก็ไม่มี หรือก็เป็นแชมป์ที่ประจำทั้ง 2 เขตในคนเดียวอย่างในเขตโจโตกับคันโตใช้ตำหน่งแชมป์ร่วมกันในคนเดียว ซึ่งเขตอโลลาเป็นเขตเดียวที่ไม่มีแชมป์เปี้ยน
  8. โปเกมอน มาสเตอร์ เทรนเนอร์ในตำนาน เป็นตำแหน่งสูงสุดของเทรนเนอร์ทั้งหมด เรียกได้ว่าขนาดแชมป์เปี้ยนของเขตยังเทียบไม่ติด เพราะโปเกมอนมาสเตอร์คือแชมป์เปี้ยนของโลก

องค์กรชั่วร้าย

กลุ่มองค์กรที่เป็นเหล่าเทรนเนอร์ ที่คอยจับโปเกมอน กับทำเรื่องผิดกฎหมาย โดยรวบรวมโปเกมอนในเขตเพื่อสร้างกองทัพโปเกมอนเพื่อยึดครองโลก แต่ล้มเหลว เพราะต้องยึดครองเขตที่ตนอยู่ให้ได้ก่อน

  1. แก๊งร็อคเก็ต เป็นองค์กรของเขตคันโตกับโจโต ทั้งยังเป็นองค์กรร้ายหลักของเรื่องโปเกมอนในอนิเมะ โดยจะเป็นพวกกลุ่มโจร มีผู้นำสูงสุดคือซาคากิ (Giovanni)
  2. แก๊งอควา เป็นองค์กรของเขตโฮเอ็น รูปแบบเกี่ยวกับทางน้ำกับโจรสลัด ทั้งยังหมายครอบครองโปเกมอนที่ชื่อไคโอก้า เป็นศัตรูโดยตรงกับแก๊งแม็กม่า มีผู้นำสูงสุดคืออาโอกิริ (Archie)
  3. แก๊งแม็กม่า เป็นองค์กรของเขตโฮเอ็น รูปแบบเกี่ยวกับโจรภูเขา ทั้งยังหมายครอบครองโปเกมอนที่ชื่อกราด้อน เป็นศัตรูโดยตรงกับแก๊งอควา มีผู้นำสูงสุดคือมาสึบุสะ (Maxie)
  4. แก๊งกิงกะ เป็นองค์กรของเขตชินโอ รูปแบบเกี่ยวกับอวกาศ ทั้งโปเกมอนกับต่างดาวกับมิติ มีผู้นำสูงสุดคืออาคากิ (Cyrus)
  5. แก๊งพลาสม่า เป็นองค์กรของเขตอิชชู รูปแบบเกี่ยวกับพวกราชวงศ์โบราณของแถบยุโรป แนวแบบลัทธิ กับสายลับทั้งยังวิจัยทั้งครอบครองพลังของโปเกมอนในตำนานของเขต มีผู้นำสูงสุดคือเกจิส ฮาร์โมเนีย โกรเปียส (Ghetsis)
  6. แก๊งแฟลร์ เป็นองค์กรของเขตคาลอส รูปแบบพวกวิจัยทางโปเกมอนทางด้านวิวัฒนาการของโปเกมอน มีผู้นำสูงสุดคือเฟอร์ดาลีย์ (Lysandre)
  7. แก๊งสคัล เป็นองค์กรของเขตอโลลา รูปแบบเป็นพวกนักเลงหรือเด็กแว๊น มีผู้นำสูงสุดคือกุซม่า (Guzma)
  8. แก๊งร็อคเก็ตเรนโบว์ เป็นองค์กรของเขตอโลลา มีอุดมการณ์คล้ายกับแก๊งร็อคเก็ต เป็นการนำหัวหน้าตัวร้ายทุกๆแก๊งมารวมกัน ยกเว้นกุซม่า โดยมีผู้นำสูงสุดคือซาคากิ หัวหน้าแก๊งร็อคเก็ต
  9. แก๊งเยล เป็นองค์กรของเขตกาลาร์ รูปแบบเป็นพวกโอตากุ มีผู้นำสูงสุดคือเนสึ (Piers)

รายชื่อวิดีโอเกมโปเกมอน

ดูบทความหลักที่: รายชื่อวิดีโอเกมโปเกมอน

ใกล้เคียง

โปเกมอน โปเกมอน (ชุดวิดีโอเกม) โปเกมอน (อนิเมะ) โปเกมอน เรด และ กรีน โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ โปเกมอน ซอร์ด และ ชิลด์ โปเกมอน มาสเตอส์ โปเกมอน สเปเชียล โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม โปเกมอนช็อก

แหล่งที่มา

WikiPedia: โปเกมอน http://www.animenewsnetwork.com/interest/2013-01-0... http://www.auctionbytes.com/cab/abn/y01/m11/i19/s0... http://www.bigapplevisitorscenter.com/kids.htm http://www.capalert.com/capreports/pokemonthemovie... http://www.cduniverse.com/search/xx/music/pid/1097... http://www.cduniverse.com/search/xx/music/pid/1285... http://archives.cnn.com/2001/WORLD/meast/03/26/sau... http://www.cubed3.com/news/5349 http://www.facebook.com/event.php?eid=347947515181 http://www.gamasutra.com/php-bin/news_index.php?st...